ตอนเด็ก ๆ สมัยอยู่เมืองนอกเมืองนา วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ จะเป็นคนไม่มีเวลาว่างเอาเสียเลย ต้องมีกิจให้ออกไปนอกบ้านอยุ่ประจำ วันไหนคิดว่าจะไม่ออกก็จะมีกลุ่มคนมากดดันถึงหน้าบ้าน ก็ต้องออกไปให้ได้เสียทุกที คิดถึงกิจกรรมตอนเด็กทีไร ก็อดยิ้มไม่ได้ ส่วนมืองนอกเมืองนาที่ว่า เป็นเมืองที่อยู่นอกความเจริญ และเต็มไปด้วยนาจริง ๆ
วันนี้ในออฟฟิศนั่งคุยกันถึงกิจกรรมในวัยเด็ก ใครที่เติบโตในตัวเมืองก็จะไม่รู้จักการปีนต้นยาง หมกลูกหัวครก และคลึงลูกขรบ ก็ต้องใช้เวลาอธิบายกันเสียยืดยาว ว่าทำไมต้องคลึง ทุบแบบกระท้อนได้ไหม ถ้าไม่คลึงตอนกินก็จะรู้สึกฝาด ๆ ลิ้น ไม่อร่อย ส่วนจะให้ทุบแบบกระท้อนผลก็คงแหลก กินไม่ได้กันพอดี
หากใครไม่รู้จักแล้วกดหาในเน็ตก็จะพบว่า ลูกตะขบมีด้วยกันสองแบบ เรียกง่าย ๆ ว่าตะขบไทยและตะขบฝรั่ง แต่วันนนี้เราขอมาพูดถึงลูกตะขบไทยผลไม้วัยเด็ก ที่เด็กเมืองนอกเมืองนส่วนใหญ่ต้องรู้จัก
มาถึงความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับตะขบไทยกันบ้าง จริง ๆ ก็หาอ่านได้ตามเว็บทั่วไป แต่เผื่อใครขี้เกียจหา ก็เอามาบอกไว้เล็ก ๆ น้อย ๆ ตะขบไทยเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของต้น เราจะเห็นเรือนยอดเป็นรูปไข่ทึบ โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกเป็นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นแผ่นบาง ๆ พบได้ตามป่าราบ ป่าโปร่ง ป่าดิบแล้ง และตามป่าผลัดใบ ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300 – 800 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ด แต่สำหรับใครที่อยากเห็น ไม่ต้องเข้าป่าไปตามหาต้นตะขบนะ เขามีเพาะพันธุ์ขาย ในงานเกษตร ม.อ. ก็มีวางจำหน่ายอยู่บ้าง
มาถึงตัวเอกของเรื่อง ผลของตะขบ ผลเป็นผลสดแบบมีเนื้อ ผลเป็นลูกกลม ๆ ขนาดเท่าลูกพุทรา ผลอ่อนจะเป็นสีเขียว ตอนนี้ยังกินไม่ได้ แต่เคยลองครั้งหนึ่ง มันฝาดมาก คายทิ้งแทบไม่ทัน ต้องกินตอนสุกจะมีสีแดง ๆ ม่วง ๆ ส่วนใหญ่จะออกผลสุกให้ชิมในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ก่อนกินต้องคลึงให้ผลนิ่ม ๆ จะให้รสชาติหวาน ๆ แต่ก็มีฝาดเบา ๆ นะ ไม่ได้หวานฉ่ำ แต่อร่อยเป็นเอกลักษณ์ตามแบบฉบับของลูกตะขบไทย
นอกเหนือจากผลที่เอาไว้รับประทานแล้วนั้น ว่ากันว่าสรรพคุณของตะขบไทยยังมีอีกเหลือล้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยชน์จากร่มเงาของต้นตะขบ ตอนเด็ก ๆ จำได้ว่า ช่วงไหนตะขบสุกแดง ๆ เกือบทั้งต้น ก็จะนัดรวมตัว มีทติ้งกันใต้ต้นตะขบ เก็บลูกตะขบแล้ว ก็นั่งเล่น นอนเล่น ใต้ต้น กินลูกเขาแล้ว ยังใช้ร่มเงาเขาอีก ในส่วนของสรรพคุณนั้น เท่าที่อ่านเจอมา ส่วนรากเขาใช้ปรุงเป็นยาขับเหงื่อ ยากล่อมเสมหะและอาจม เนื้อไม้ใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง แก้บิด มูกเลือด เปลือก แก่น และใบ รักษาอาการปวดเมื่อยตามตัว แก้โรคเหน็บชา รักษาอาการปวดข้อ แก้เส้นเอ็นพิการ
จากสรรพคุณที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ถ้าอยากให้แนะนำจริง ๆ หากมีอาการดังกล่าว ไปหาหมอที่โรงพยาบาลจะดีกว่านะ อ่อ ยังมีสรรพคุณอีกหนึ่งอย่างที่อ่านเจอ แล้วคิดว่า เห้ยย อันนี้เจ๋ง ก็คือการนำมาเป็นสีย้อมผ้า การสกัดสีโดยใช้ใบสดนำมาต้มกับน้ำนาน 1 ชั่วโมง กรองเอาแต่น้ำ นำมาย้อมเส้นไหมด้วยวิธีการย้อมร้อน 1 ชั่วโมง และแช่ในสารละลายช่วยติดสีจุนสีหลังย้อมจะได้เส้นไหมสีน้ำตาลเขียว ส่วนการใช้จุนสีขณะย้อมจะได้เส้นไหมสีน้ำตาลเขียวเช่นกัน แต่ถ้านำมาสกัดน้ำสีด้วยวิธีการคั้นเอาน้ำ กรองเอาแต่น้ำ แล้วย้อมเส้นไหมด้วยวิธีการย้อมร้อน และแช่สารละลายช่วยติดสีจุนสีหลังย้อมจะได้เส้นไหมสีเขียวขี้ม้า
เอาเป็นว่าขอจบการเล่าเรื่องของลูกตะขบไว้เพียงเท่านี้ ครั้งหน้าจะพาไปรู้จักผลไม้หรือผักก็รอติดตามกันต่อไปนะจ๊ะ
ขอบคุณภาพ : bloggang , medthai
ย้อนประวัติจวนเจ้าเมืองสงขลา สมัยธนบุรี - รัตนโกสินทร์
5 มกราคม 2568 | 32พาชมพระสยามเทวาธิราชจำลอง 1 ใน 5 หัวเมือง ประดิษฐานอยู่ที่ ต.ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา
5 มกราคม 2568 | 33ศาลาทวดสะบ้าย้อย ความศรัทธาสู่สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวสะบ้าย้อย
15 ธันวาคม 2567 | 226ที่มา...ชื่อบ้านสำนักขาม (สะเดา)
15 ธันวาคม 2567 | 200กุโบร์บ้านท่ายาง อดีตที่ตั้งค่ายทหารรัฐปัตตานี สถานที่ฝังศพทหารในสงครามปัตตานีกับกองทัพสยาม
15 ธันวาคม 2567 | 237ชุมชนตลาดปริก(สะเดา) ศูนย์กลางของตำบลในอดีตสมัยร.5
8 ธันวาคม 2567 | 263เปิดตำนานเจ้านางสีดอกไม้กับเจ้าเมืองหลาโต๊ะเมือง ณ บ้านนาทับ (สงขลา)
8 ธันวาคม 2567 | 540