แกงเลียงกุ้งสดเป็นเมนูสุดโปรดของยาย ยายมักทำให้ทานบ่อย ๆ ในวัยเด็ก ยายบอกว่ามีประโยชน์มากเลย เป็นของกินที่กินแล้วถ่ายง่าย สบายท้อง (ในตอนนั้นเราเองก็โปรดมาก โปรดเอาไปไกล ๆ) แกงเลียงของยายลงทุนเป็นเงินจำนวนน้อยมาก เพราะผักที่ยายใช้ในการปรุงนั้น ยายเก็บจากริมถนนหรือไม่ก็ริมรั้วบ้านคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นตำลึง หัวปลี ผักหวาน และที่ขาดไม่ได้เลยคือ ยอดลำเพ็ง ซึ่งยายมักออกปากใช้ให้ไปเก็บเนื่องจากต้นที่เป็นกอเตี้ย ๆ สามารถตัดได้ง่ายไม่อันตราย เมื่อได้ผักมากพอที่จะแกงได้หนึ่งหม้อ ยายก็จะนำผักพื้นบ้านทั้งหมด มาต้มรวมกันในหม้อที่มีน้ำละลายกะปิอยู่ ตอนเด็ก ๆ จำได้ว่าเป็นเมนูที่เราเองมักปฏิเสธทุกครั้ง เพราะเรารู้สึกว่าทั้งเหม็นกะปิและเหม็นเขียวผัก แต่เมื่อโตขึ้นมา ออกจากบ้านนอกเข้ามาเรียนในตัวเมืิองหาดใหญ่ กลับหาแกงเลียงกุ้งสดในแบบฉบับของคุณยายทานได้ยากมาก
เมื่อพูดถึงแกงเลียงก็จะทำให้นึกถึงตอนที่ตัวเองเดินตามถนนเก็บยอดลำเพ็งไปให้ยาย วันนี้ก็เลยหยิบยกเรื่องของลำเพ็งมาพูดถึงกันเสียหน่อย ยอดลำเพ็งที่ใส่ในแกงนั้น บางที่ก็เรียกลำเท็ง หรือบางคนก็เรียกผักกูดแดง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "Stenochlaena palustris" ลำต้นจะอยู่บนดินแต่ก็มีความสามารถพิเศษในการเลื้อยพันต้นอื่นได้ด้วยนะ ใบจะยาว เรียว มีสีแดงอมน้ำตาล (แบบนี้จะตัดมาใส่ในแกงเลียงได้) ขอบใบหยักเล็กน้อย ใบแก่จะมีสีเขียวและแข็งกว่าใบสีแดงอมน้ำตาลอยู่นิดหน่อย
รสชาติของยอดลำเพ็งก่อนมาปรุงอาหาร เคยลองเด็ดชิมอยู่ครั้งหนึ่งจำได้ว่าค่อนข้างจืดสนิท ไม่มีรสชาติอะไรเลย นอกจากสากลิ้นเบา ๆ เพราะเด็ดชิมแบบไม่ได้ล้างฝุ่น ตามตำราบอกว่าต้นลำเพ็งมักจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ราบลุ่ม ชื้นแฉะ ป่าพรุ หรือขึ้นในสวนมะพร้าว (แต่ตอนเด็กจำได้ว่าเก็บจากริมถนน) ให้ผลผลิตได้ตลอดปี และตำราในอินเทอร์เน็ตยังบอกอีกนะว่า มีสรรพคุณทางสมุนไพร ใช้ใบตำผสมกับดินประสิวดิบเล็กน้อยโปะกระหม่อมเด็กเพื่อแก้ร้อนใน ส่วนต้น ต้มแก้ไข้บางชนิดได้ด้วย
ในแกงเลียงนั้น แม้ลำเพ็งจะเป็นองค์ประกอบน้อย ๆ ของหม้อ แต่ทว่า ปัจจุบันหาแกงเลียงยอดลำเพ็งตามแบบฉบับคุณยายทานได้ยาก...ไม่น้อยเลย
ขอบคุณภาพ : pantip , samunpri
ภาพปก (ภาพประกอบเท่านั้น) : khanpak
เหตุอัศจรรย์ระหว่างการก่อสร้าง ธรรมสถานพระโพธิสัตว์กวนอิม (เขาเทียมดา)
12 มกราคม 2568 | 103เปิดตำนาน...ปู่เจ้าเขาเขียวแห่งสิงหนคร
12 มกราคม 2568 | 116ในหลวงรัชกาลที่9 กับการพัฒนาจังหวัดสงขลา
12 มกราคม 2568 | 112ย้อนประวัติจวนเจ้าเมืองสงขลา สมัยธนบุรี - รัตนโกสินทร์
5 มกราคม 2568 | 160พาชมพระสยามเทวาธิราชจำลอง 1 ใน 5 หัวเมือง ประดิษฐานอยู่ที่ ต.ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา
5 มกราคม 2568 | 144คนสงขลากับความเชื่อเรื่องทวด ที่ปรากฎในโองการทวดอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์จังหวัดสงขลา
5 มกราคม 2568 | 179ศาลาทวดสะบ้าย้อย ความศรัทธาสู่สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวสะบ้าย้อย
15 ธันวาคม 2567 | 291ที่มา...ชื่อบ้านสำนักขาม (สะเดา)
15 ธันวาคม 2567 | 257