ตอนเด็ก ๆ จำได้ว่า วันหยุดสุดสัปดาห์ มักจะไปเล่นซนบ้านเพื่อนที่อยู่ในสวนยาง ช่วงเที่ยงวันอาทิตย์ช่อง 7 จะมีมวยไทย บรรดาลุง ๆ ที่มารวมตัวอยู่หน้าจอ พร้อมกับน้ำชนิดหนึ่งเห็นลุงเขาเรียกน้ำตาลและใช้กะลาในการตักขึ้นมาดื่ม พอขอลองชิมบ้างก็ไม่ให้ บอกไม่ดี (แล้วไหนบอกน้ำตาล ไม่ดีตรงไหน) มวยไม่ทันจบ ก็เห็นลุง ๆ สลบอยู่หน้าจอกันเป็นแถว
โตขึ้นมาหน่อยก็เลยรู้ว่าที่คุณลุงทั้งหลายเรียกว่าน้ำตาลนั้น มันก็คือน้ำตาลเมา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "หวาก" เป็นสุราชนิดหนึ่งที่ทำจากน้ำตาลโตนด ซึ่งเป็นน้ำหวานที่ไหลออกมาจากงวงตาล หรือช่อดอกของตาลโตนด (มีลักษณะยื่นออกมาคล้ายงวงช้าง) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าน้ำตาลสด ซึ่งการวิธีการเก็บน้ำตาลค่อนข้างซับซ้อนอยู่เล็กน้อย และที่สำคัญต้องใช้เย็น เพราะน้ำตาลสดที่ได้นั้นจะลงทีละหยด ๆ กว่าจะเต็มกระบอกไม้ไผ่ที่ใช้รองน้ำตาลสด ก็ปาเข้าไปประมาณ 6 – 10 ชั่วโมง ถ้านำน้ำตาลที่ได้ไปเคี่ยวก็จะได้น้ำตาลเป็นน้ำตาลแว่น หรือบางคนก็จะเรียกว่า "น้ำผึ้งแว่น"
เมื่อได้น้ำตาลสดแล้ว ก็จะเข้าสู่การทำให้เป็นน้ำตาลเมา ซึ่งคนปาดตาลเองจะใช้ไม้ชนิดหนึ่ง เรียกว่า ไม้เคี่ยม (เป็นไม้เนื้อแข็ง พบมากในจังหวัดพัทลุง) ใส่ไว้ในกระบอกไม้ไผ่ เมื่อนำไม้ใส่ลงไป น้ำตาลสดในกระบอกไม้ไผ่จะทำปฏิกิริยาเป็นยีสต์ธรรมชาติและจะคายแอลกอฮอล์ออกมา ซึ่งกว่าจะเป็นหวกที่ลุง ๆ ดื่มกันนั้นต้องใช้เวลาหมักประมาณ 1 วัน
เมื่อได้หวากมาแล้ว ลุง ๆ ก็จะนั่งตั้งวง ดื่มกันตั้งแต่เที่ยงยันเย็น ช่วงพีค ๆ ที่เคยเจอก็คือ ตอนเชียร์มวย เหมือนหวากช่วยเพิ่มอรรถรสในการเชียร์มวยให้สนุกขึ้น เคยลองชิมครั้งหนึ่ง พอจำได้ว่าหวากจะมีกลิ่นฉุนกว่าน้ำตาลสด รสชาติจะหวานอมเปรี้ยวและเฝื่อนหน่อย
หวากทำกันในแหล่งที่มีต้นตาลโตนด แถบคาบสมุทรสทิงพระเรื่อยไปจนถึงอำเภอระโนด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา และจังหวัดพัทลุง แถบจังหวัดปัตตานีก็มีการทำหวากแต่จะใช้เปลือกต้นมะม่วงหิมพานต์แทนไม้เคี่ยม
ไปอ่านเจอมาว่ากันว่า หวากมีแบ่งประเภทด้วยนะ มีแบบลูกยอด คือ การปาดน้ำตาลใส่กระบอกไม่ไผ่ที่มีเคี่ยมอยู่ตรงก้นกระบอกแล้วหมักไว้บนต้น เมื่อครบกำหนด ก็จะถ่ายลงในภาชนะอื่น วิธีนี้จะได้หวากวันต่อวัน และรสชาติกลมกล่อม อีกแบบก็คือ ลูกหมัก คือ การนำน้ำตาลจากต้น มาหมัก ด้วยการใส่เคี่ยมไว้ที่ก้นภาชนะ แล้วหมักไว้ 1 วัน แบบนี้จะได้หวากที่รสเข้ม กลิ่นฉุน พวกคอแข็งจะชอบดื่มกัน
ขึ้นชื่อว่าเครื่องดื่มมึนเมา ยังไงก็มีข้อเสียอยู่บ้าง แต่ในแง่ของภูมิปัญญาชาวบ้าน "หวาก" ก็เป็นก็เป็นอีกภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างหนึ่งของคนใต้ ที่น่าภาคภูมิใจ
ขอบคุณข้อมูล : banjerd oknation
ขอบคุณภาพ : gotoknow , oknation , องค์การบริหารส่วนตำบลคูขุด สทิงพระ , pdamobiz
ในหลวงรัชกาลที่9 กับการพัฒนาจังหวัดสงขลา
12 มกราคม 2568 | 21ย้อนประวัติจวนเจ้าเมืองสงขลา สมัยธนบุรี - รัตนโกสินทร์
5 มกราคม 2568 | 144พาชมพระสยามเทวาธิราชจำลอง 1 ใน 5 หัวเมือง ประดิษฐานอยู่ที่ ต.ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา
5 มกราคม 2568 | 125คนสงขลากับความเชื่อเรื่องทวด ที่ปรากฎในโองการทวดอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์จังหวัดสงขลา
5 มกราคม 2568 | 143ศาลาทวดสะบ้าย้อย ความศรัทธาสู่สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวสะบ้าย้อย
15 ธันวาคม 2567 | 258ที่มา...ชื่อบ้านสำนักขาม (สะเดา)
15 ธันวาคม 2567 | 235กุโบร์บ้านท่ายาง อดีตที่ตั้งค่ายทหารรัฐปัตตานี สถานที่ฝังศพทหารในสงครามปัตตานีกับกองทัพสยาม
15 ธันวาคม 2567 | 273ชุมชนตลาดปริก(สะเดา) ศูนย์กลางของตำบลในอดีตสมัยร.5
8 ธันวาคม 2567 | 307