มองขึ้นไปเหนือตึกราบ้านช่องเมืองหาดใหญ่ มองทุกครั้งก็จะเหลือบไปเห็นภูเขาคูเมืองหาดใหญ่อย่าง "เขาคอหงส์" พื้นที่ปอดของเมืองหาดใหญ่ ตรงบริเวณกลางภูเขาปรากฏรูปปั้นสีขาวๆ รูปปั้นที่อยู่คู่หาดใหญ่มาเนิ่นนาน นั่นคือ "เจ้าแม่กวนอิม" เหนือขึ้นไปจากรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิม เป็นที่ประดิษฐานขององค์พระสีทององค์ใหญ่ ที่หลายๆคนมักจะเรียกกันว่า "พระพุทธรูปประจำเมืองหาดใหญ่" หรือชื่อเต็มๆว่า "พระพุทธมงคลมหาราช" ว่ากันว่าพระพุทธรูปสีทององค์นี้เป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้ สร้างขึ้นด้วยจิตศรัทธาของพี่น้องประชาชนทั้งชาวไทยและต่างชาติ โดยวัตถุประสงค์การสร้างพระพุทธรูปทองเหลืององค์นี้ ก็เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา (พ.ศ.2542) พระพุทธรูปปางห้ามญาติองค์นี้มีความสูงถึง 19.90 เมตร ออกแบบโดย ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ผู้เป็นศิลปินแห่งชาติ
เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2542 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานนามของพระพุทธรูปว่า "พระพุทธมงคลมหาราช" หมายความว่า ความเป็นสิริมงคลอันยิ่งใหญ่ โดยมีสมเด็จพระญารสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังคปรินายก เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเททองพระหัตถ์พระพุทธมงคลมหาราช ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2543 ต่อสมเด็จพระเทพฯ เสด็จทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระเกตุมาลา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2543 ณ เขาคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่
ต่อมาในหลวงรัชกาลที่ 9 มีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ ตราสัญลักษณ์งานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษ 6 รอบ (5 ธ.ค.52) ประดิษฐาน ณ ฐานพระพุทธมงคลมหาราช และในทุกวันนี้ "พระพุทธมงคลมหาราช" ยังคงตั้งตระหง่านอยู่ ณ เขาคอหงส์ หันพระพักต์เข้าสู่เมืองหาดใหญ่ คอยคุ้มครองประชาชนชาวหาดใหญ่ตลอดมา และกลายเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองหาดใหญ่ที่สำคัญอีกองค์หนึ่ง
ย้อนอดีตในการสร้างพระพุทธมงคลมหาราช
ย้อนชม...มีดน้ำน้อย ภูมิปัญญาดั้งเดิม ของขึ้นชื่อบ้านน้ำน้อยในอดีต
2 กุมภาพันธ์ 2568 | 50เปิดประวัติศาสตร์ การก่อร่างสร้างชุมชนบ้านคลองแงะ สะเดา
2 กุมภาพันธ์ 2568 | 61สักการะหลวงพ่อร้อยปี บูชาท้าวเวสสุวรรณสูงที่สุดในภาคใต้ วัดแช่มอุทิศสงขลา
2 กุมภาพันธ์ 2568 | 53เหตุอัศจรรย์ระหว่างการก่อสร้าง ธรรมสถานพระโพธิสัตว์กวนอิม (เขาเทียมดา)
12 มกราคม 2568 | 290เปิดตำนาน...ปู่เจ้าเขาเขียวแห่งสิงหนคร
12 มกราคม 2568 | 252ในหลวงรัชกาลที่9 กับการพัฒนาจังหวัดสงขลา
12 มกราคม 2568 | 274ย้อนประวัติจวนเจ้าเมืองสงขลา สมัยธนบุรี - รัตนโกสินทร์
5 มกราคม 2568 | 237