มีใครเคยสงสัยไหมว่า บรรพบุรุษของเรามาจากไหน มาตั้งรกรากอยู่ที่ภาคใต้ ประเทศไทย กี่ปีมาแล้ว หรืิออาศัยดั้งเดิมอยู่ที่นี่ตั้งแต่เมื่อไหร่ HatyaiFocus อยากพาทุกคนมาไขคำตอบ จากการสืบค้นพบว่า บริเวณภาคใต้ของไทยทั้ง 14 จังหวัด นักวิชาการนิยมเรียกว่า คาบสมุทรไทยมลายู ตั้งแต่โบราณบริเวณนี้เป็นพื้นที่ที่รวมกลุ่มชาติพันธ์ุต่าง ๆ
หลักฐานทางประวัติศาสตร์และจากการค้นคว้าของอาจารย์ชื่อดังสองท่าน คนแรกอาจารย์ครองชัย หัตถา ให้ข้อมูลว่า ทางภาคใต้ของไทย เป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์มาไม่ต่ำกว่า 40,000 ปี ประชากรดั้งเดิมในภาคใต้ มีรากฐานทางมานุษยวิทยาจาก 2 กลุ่มชาติพันธุ์หลัก คือ มองโกลอยด์ และออสตราลอยด์ แต่เนื่องจากแต่ละกลุ่มย่อยเรียกชื่อแตกต่างกันไป จนมีนัยเป็นกลุ่มหลายเชื้อชาติ เช่น จีน มอญ ไทย ชวา มลายู ฯลฯ รวมทั้งการเข้ามาของชาวต่างภูมิภาค เช่น อาหรับ อินเดีย จีน และชาวตะวันตก ทำให้ภาคใต้เป็นแหล่งรวมของผู้คนจากหลากหลายทางวัฒนธรรมตั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน
อ.ครองชัย หัตถา
หากย้อนไปราว 2,000 ปี มีหลักฐานว่าชาวอินเดีย และชาวอาหรับบางกลุ่มเดินทางมาแถวนี้ พ.ศ. 1001 หากใครรู้จักชื่อดินแดนลังกาสุกะ (บริเวณ จ.ปัตตานี) จะพบว่าดินแดนมีชาวอินเดียเข้ามาเผยแผ่ศาสนาและพำนักอาศัยในภาคใต้มากในสมัยนี้ ส่วน พ.ศ. 1101 เป็นต้นมา แถบอาณาจักรศรีวิชัยเริ่มมีชาวมลายูเข้ามาตั้งถิ่นฐาน
คนที่สอง อาจารย์สงบ ส่งเมือง ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ภาคใต้ ให้ข้อมูลว่า หากศึกษาผ่านหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างจารึก ซึ่งเป็นหลักฐานที่ค่อนข้างเก่าแก่ จะเป็นอีกตัวช่วยในการหาคำตอบถึงการตั้งถิ่นฐานของบรรพบุรุษเรา จารึกสมัยโบราณมีหลากหลายภาษา เช่น ภาษาทมิฬ มอญ ขอมโบราณ ภาษาไทย สะท้อนภาพพัฒนาการตั้งรกรากของกลุ่มผู้คนต่าง ๆ ทางภาคใต้ ในยุคเริ่มต้นทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ พ.ศ. 1000 ผู้ที่เข้ามาตั้งรกรากทางภาคใต้ของไทยเป็นรุ่นแรก ๆ น่าจะเป็นพวกอินเดียทางใต้ หรือพวกทมิฬที่อพยพเข้ามาอาศัยปะปนกับชนพื้นเมือง และเป็นผู้ที่ทำจารึกขึ้น เมื่อแต่งงานกับชาวพื้นเมืองก็ทำให้มีลูกครึ่งชาวอินเดียขึ้น ตลอดจนการเข้ามาของชาวอินเดีย ขอม และมอญ ทำให้เกิดเป็นสังคมที่หลากหลาย
ภาพถ่ายชนพื้นเมืองมลายู
ส่วนชาวสยามซึ่งใช้ภาษาไทยเริ่มเข้ามาในหน้าประเทศไทยตั้งแต่เมื่อไหร่ นับย้อนไปแค่ 560 ปี เมื่อ พ.ศ. 2001 เริ่มมีการสร้างจารึกภาษาไทย ไม่นานหลังจากนั้นชาวจีนโพ้นทะเลเริ่มอพยพมาตั้งรกราก เมื่อประสบความสำเร็จในการเข้ามามีบทบาททางการเมือง การค้า สามารถอยู่ร่วมกลมกลืนกับชาวสยามได้
แล้วหากเป็นคนสงขลาล่ะ บรรพบุรษยุคใกล้ ๆ ของเรามาจากไหน หลักฐานชิ้นสำคัญอย่างจารึกสามภาษาที่สำโรง บริเวณโรงพยาบาลประสาทสงขลา เป็นจารึกที่ทำขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2388 มีหลากหลายภาษาทั้งภาษาไทย ภาษามลายู ภาษายาวี และภาษาจีนฮกเกี้ยน สร้างโดย พระยาสุนทรานุรักษ์ (บุญสังข์ ณ สงขลา) เป็นจารึกที่ชวนให้ชาวสงขลาบำเพ็ญกุศลโดยการสร้างสาธารณะประโยชน์ จารึกสำโรงสะท้อนให้เห็นภาพเมืองสงขลา เป็นอีกเมืองที่มีผู้คนหลากหลายวัฒนธรรมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขนั่นเอง ช่วงเวลานั่นคนสงขลาจึงมีทั้งคนไทย คนจีน คนมลายู ปะปนกันเป็นคนสงขลาจนถึงทุกวันนี้
จารึกสำโรง ตั้งอยู่ที่ในศาลเทพารักษ์ที่โรงพยาบาลประสาท จ. สงขลา
**ภาพที่เห็นในบทความเป็นเพียงการเพิ่มอรรถรสในการอ่านเท่านั้น อาจไม่ใช่สถานที่จริงในบางส่วน**
ขอบคุณข้อมูล : สังคมพหุลักษณ์ในประวัติศาสตร์นิพนธ์ภาคใต้ การสำรวจเบื้องต้น - อ.อดิศร ศักดิ์สูง , พหุวัฒนธรรมภาคใต้ในมิติภูมิรัฐศาสตร - อ.ครองชัย หัตถา
ขอบคุณภาพ : sac.or.th , แลภาพเก่า เล่าสงขลา
เขียนและเรียบเรียง : HatyaiFocus
ศาลาทวดสะบ้าย้อย ความศรัทธาสู่สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวสะบ้าย้อย
15 ธันวาคม 2567 | 126ที่มา...ชื่อบ้านสำนักขาม (สะเดา)
15 ธันวาคม 2567 | 123กุโบร์บ้านท่ายาง อดีตที่ตั้งค่ายทหารรัฐปัตตานี สถานที่ฝังศพทหารในสงครามปัตตานีกับกองทัพสยาม
15 ธันวาคม 2567 | 138ชุมชนตลาดปริก(สะเดา) ศูนย์กลางของตำบลในอดีตสมัยร.5
8 ธันวาคม 2567 | 224เปิดตำนานเจ้านางสีดอกไม้กับเจ้าเมืองหลาโต๊ะเมือง ณ บ้านนาทับ (สงขลา)
8 ธันวาคม 2567 | 461รู้จัก...จับปิ้ง อาภรณ์นุ่งห่มของเยาวสตรีในอดีต
8 ธันวาคม 2567 | 175รู้หรือไม่? หาดใหญ่ปรากฎชื่อครั้งแรกในบันทึกประวัติศาตร์มาเลเซีย ก่อนปรากฎในพงศาวดารของไทย
24 พฤศจิกายน 2567 | 748พาชมตราพระปรมาภิไธยย่อ(ภปร.) และตำนานน้ำตกฉัตรวาริน จ.นราธิวาส
24 พฤศจิกายน 2567 | 240