หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

ย้อนชม...มีดน้ำน้อย ภูมิปัญญาดั้งเดิม ของขึ้นชื่อบ้านน้ำน้อยในอดีต
2 กุมภาพันธ์ 2568 | 1,839

ชุมชนน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นชุมชนเก่าแก่ชุมชนหนึ่งมาตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ปัจจุบันมีสถานภาพเป็นตำบลหนึ่งในจำนวน 12 ตำบลของอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา วิถีชีวิตของชาวชุมชนน้ำน้อยช่วงก่อนประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (พ.ศ. 2503 ย้อนหลังเป็นต้นไป) ประกอบอาชีพหลายอย่างได้แก่ ทำนา เก็บของป่า เลี้ยงสัว์ เพาะปลูก ทำสวนยางพารา ทำตาลโตนด หัตถกรรมตีเหล็ก ทำเหมืองแร่ กระเบื้อง และอื่น ๆ อีกหลากหลายอาชีพ 

โดยเฉพาะหัตถกรรมตีเหล็กนั้นผู้ที่ริเริ่มก็คือคนจีนที่เข้ามาทำแร่เหล็กสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้ถ่ายทอดวิชาตีเหล็กจนสืบทอดต่อมา แต่ในขณะนี้การตีเหล็กเสื่อมความนิยมเป็นอาชีพที่คนในสังคมปัจจุบันไม่ให้ความสนใจ เหลือผู้ประกอบการในปัจจุบัน (ปี2563) จำนวน 2 รายคือนายมนูญ พันธ์นิล และนายนั้น ธรรมโชติ ซึ่งแต่ละท่านก็ล้วนอายุมากแล้วทั้งสิ้น กรรมวิธีตีเหล็กที่ใช้อยู่ก็ยังคงเป็นกรรมวิธีแบบเดิมา ไม่ได้มีการพัฒนาปรับปรุงหรือมีการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้อดีตเคยทำอย่างไรปัจจุบันก็ยังคงทำแบบนั้น เช่น ยังคงใช้สูบของบรรพบุรุษในการสูบลมถลุงเหล็กเหมือนเมื่ออดีตหลายร้อยปีที่ผ่านมา อาชีพตีเหล็กในอดีตสามารถทำรายได้ให้แก่กลุ่มเป็นจำนวนมาก  แต่ในปัจจุบันทำแค่พอเลี้ยงตัวเองได้ ทำเท่าที่พอจะทำได้เท่านั้น ด้านตลาดก็ค่อย ๆ ลดน้อยลงไป ประกอบกับมีผลิตภัณฑ์มีดสมัยใหม่ที่มีความหลากหลายเข้ามาทดแทนในตลาด จุดเด่นของมีดน้ำน้อยที่ต่่าง ๆ จากมีดประเภทอื่น ๆ คืิิอมีกรรมวิธีการผลิตและเทคนิคที่พิเศษและแตกต่างไปจากการผลิตมืดของที่อื่น ๆ เพราะกรรมวิธีล้วนเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านทั้งสิ้น

ชุมชนน้ำน้อยเป็นชุมชนเก่าแก่ชุมชนหนึ่ง การตั้งถิ่นฐานขึ้นเมื่อใดนั้นไม่ปรากฎหลักฐาน แต่จากการศึกษาของสุนันท์ อินทนิล พบว่าเนื่องจากสภาพความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่อันประกอบด้วยพืชพันธั ธัญญาหาร สัตว์บก สัตว์น้ำ ทางสัญจรหลักสามารถออกสู่ทะเลสาบ และอ่าวไทยได้สะดวก ทำให้ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีบนแดนดินถิ่นนี้ได้มีการตั้งถิ่นฐานเกิดขึ้นแล้ว หลังจากนั้นได้มีการปรับย้ายที่ตั้งถิ่นฐานให้เหมาะสมกับสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ทำกิน เส้นทางคมนาคมหรือหนีโรคระนาดติดต่อร้ายแรงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเส้นทางสัญจรสายสำคัญที่ใช้เดินช้างลากเกวียนตัดผ่านแหลมมลายูเริ่มต้นจากสงขลา-สะเดา-ไทรบุรี ข้ามไปฝั่งทะเลอันดามันตัดผ่านชุมชนน้ำน้อย ทำให้เส้นทางสายนี้ได้รับการพัฒนาเรื่อยมา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2470 ได้ทำการลาดยางช่วงสงขลา-หาดใหญ่ ต่อมาให้ชื่อว่าถนนกาญจนวนิช ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 เกิดทางรถไฟตัดผ่าน ทำให้การสัญจรสะดวกยิ่งขึ้น จึงทำให้มีความสัมพันธ์กับชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวจีนก็เข้ามาค้าขาย ทำแร่เหล็ก แร่ดีบุก ทำอิฐ กระเบื้องคินเผา และตั้งถิ่นฐานขึ้นในชุมชนหลายครอบครัว ทำให้เกิดวัฒนธรรมผสมผสานกันหลากหลาย การพัฒนาจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปมากในทุก ๆ ด้าน กลายเป็นชุมชนที่มีลักษณะกึ่งเมืองกึ่งชนบท

ปัจจุบันมีสถานภาพเป็นตำบลหนึ่งในจำนวน 12 ตำบล ของอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเดิมก่อนที่จะมีการแบ่งเขตการปกครอง ตาม พ.ร.บ. ลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ถ้ากล่าวถึงชุมชนน้ำน้อยในอดีตนั้นก็จะหมายรวมถึงพื้นที่ซึ่งติดเขตตำบลข้างเคียงกับตำบลน้ำน้อยในปัจจุบันด้วย เช่น ในเขตหมู่ที่ 1 บ้านหัวนอนถนน หมู่ที่ 2 บ้านหลักสิบเก้า และบ้านทุ่งใหญ่บางส่วนในตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ พื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านแม่เตย ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ และหมู่ที่ 3 บ้านควนหิน ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นต้น สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ได้กล่าวถึงเหล็กน้ำน้อยไว้ดังนี้ เหล็กน้ำน้อยคือเหล็กที่ขุดและถลุงที่บ้านน้ำน้อย ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาคใหญ่ จังหวัคสงขลา เมื่อประมาณ 100 กว่าปีมาแล้ว ถือเป็นเหล็กชั้นดี มีดพร้าที่ทำด้วยเหล็กน้ำน้อยมีชื่อเสียงโด่งดังและนิยมกันมาก เช่น พร้าน้ำน้อย อ้ายแด้งน้ำน้อย ผาลน้ำน้อย จนคำว่า "น้ำน้อย" กลายเป็นหลักประกันคุณภาพ เพราะมีความแข็งคมและทนทานทั้งช่างเหล็กที่น้ำน้อยก็ได้ชื่อว่าเป็นช่างฝีมือดีด้วย

บทความ : ฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้ สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร

เรื่องที่เกี่ยวข้อง