ในปัจจุบัน คนไทยจำนวนมากยังมีความเชื่อในเรื่องเทพยดา โดยเฉพาะเรื่อง “พระสยามเทวาธิราช” เมื่อมีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้น ก็มักจะวิงวอนขอให้พระสยามเทวาธิราชคุ้มครองป้องกันประเทศชาติให้รอดพ้นจากภัยพิบัติอันตราย
โดยในประเทศไทย มีพระสยามเทวาธิราชทั้งสิ้น 5 องค์ ซึ่ง 1 ในนั้นประดิษฐานอยู่ ณ ตบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
พระสยามเทวาธิราชนับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระราชดำริว่า ประเทศไทยมีเหตุการณ์ที่เกือบจะต้องเสียอิสรภาพมาหลายครั้ง แต่บังเอิญมีเหตุให้รอดพ้นภยันตรายมาได้เสมอ ชะรอยคงจะมีเทพยดาที่ศักดิ์สิทธิ์คอยอภิบาลรักษาอยู่ สมควรที่จะทำรูปเทพยดาองค์นั้นขึ้นสักการบูชา
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าประดิษฐวรการปั้นรูปสมมติขึ้น แล้วหล่อด้วยทองคำแท่ง มีลักษณะแบบเทวรูป มีความสูง 8 นิ้ว ทรงเครื่องอย่างเทพารักษ์ ทรงมงกุฎ ประทับยืน พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นในท่าจีบเสมอพระอุระ ประทับในเรือนแก้วทำด้วยไม้จันทน์ มีลักษณะแบบวิมานเก๋งจีน และถวายพระนามว่า พระสยามเทวาธิราช โปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง
พระสยามเทวาธิราช มีทั้งสิ้น 5 องค์ ดังนี้ องค์ที่ 1 ประดิษฐานที่ดอยแม่สลอง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย องค์ที่ 2 ประดิษฐานที่ช่องตะโก ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างอำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ กับ อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว องค์ที่ 3 ประดิษฐานที่ด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี องค์ที่ 4 ประดิษฐานที่ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ติดกับโรงพยาบาลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา องค์ที่ 5 ประดิษฐานที่สนามกอล์ฟน๊อท์ธเทินล์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาพข้อมูลบทความ : เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา
ย้อนประวัติจวนเจ้าเมืองสงขลา สมัยธนบุรี - รัตนโกสินทร์
5 มกราคม 2568 | 71ศาลาทวดสะบ้าย้อย ความศรัทธาสู่สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวสะบ้าย้อย
15 ธันวาคม 2567 | 232ที่มา...ชื่อบ้านสำนักขาม (สะเดา)
15 ธันวาคม 2567 | 210กุโบร์บ้านท่ายาง อดีตที่ตั้งค่ายทหารรัฐปัตตานี สถานที่ฝังศพทหารในสงครามปัตตานีกับกองทัพสยาม
15 ธันวาคม 2567 | 244ชุมชนตลาดปริก(สะเดา) ศูนย์กลางของตำบลในอดีตสมัยร.5
8 ธันวาคม 2567 | 271เปิดตำนานเจ้านางสีดอกไม้กับเจ้าเมืองหลาโต๊ะเมือง ณ บ้านนาทับ (สงขลา)
8 ธันวาคม 2567 | 550รู้จัก...จับปิ้ง อาภรณ์นุ่งห่มของเยาวสตรีในอดีต
8 ธันวาคม 2567 | 241