หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

ศาลาทวดสะบ้าย้อย ความศรัทธาสู่สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวสะบ้าย้อย
15 ธันวาคม 2567 | 1,435

หากพูดถึงความเชื่อและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนในแต่ละท้องถิ่นนั้น แต่ละแห่งก็มีการมีการนับถือแตกต่างกันไปตามแบบฉบับท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งในพื้นที่แเภอสะบ้าย้อยศูนย์รวมทางใจของผู้คนแห่งนี้ คือ ทวดสะบ้าย้อย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำอำเภอ ที่ชาวบ้านศรัทธาให้ความเคารพนับถือมาอย่างยาวนาน  

ศาลาทวดสะบ้าย้อย ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ลักษณะเป็นศาลาไทย ขนาดกะทัดรัด กว้างประมาณ 2.5 เมตร ภายในศาลามีรูปปั้นของ “ทวด” ซึ่งเป็นรูปหล่อครึ่งตัว สีดำคล้ายสัมฤทธิ์ ลักษณะหน้าคมเข้ม ร่างกายบึกบึนแข็งแรง วางอยู่บนแท่นสูง 

ตั่งล่างถัดลงมาเป็นที่วางกระถางธูป และเครื่องสักการะ พวงมาลัย หรือดอกไม้ ด้านหน้าศาลาเป็นลานซีเมนต์กว้าง ใกล้ศาลาด้านซ้ายและขวา มีรูปปั้นช้างด้านละ 2 ตัว เก้าอี้หินอ่อนวางไว้ด้านข้าง ยามบ่ายรถราวิ่งผ่านน้อยเหลือเกิน แต่ทุกครั้งที่รถผ่านหน้า “ทวด”ก็จะมีเสียงแตรรถดังเป็นสัญญาณสั้น ๆ 2-3 ครั้ง นั่นคือการแสดงความเคารพและคารวะของผู้คนในพื้นที่แห่งนี้

ชาวบ้านมีความเชื่อกันว่า ทวดสะบ้าย้อยเดิมเป็นทหาร ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการทำสงครามและไปตีเมืองปัตตานี ชาวบ้านมีการอพยพย้ายที่อยู่อาศัยเพื่อมาหาที่อยู่แหล่งใหม่เมื่อมาถึง ณ ที่แห่งนี้ซึ่งเป็นที่ราบ มีห้วย หนอง ลำคลอง เหมาะแก่การเพาะปลูก สมัยก่อนมีน้ำเป็นสีเขียว น้ำไม่ค่อยแห้ง 

นายพรม ผู้ที่อพยพย้ายมาตั้งถิ่นฐานช่วงเริ่มแรก ชอบไปยิงปลาในเวลากลางคืน และวันหนึ่งได้ฝันว่า”อย่าไปยิงปลาเพราะเขาจะไปว่ายน้ำเล่น ถึงตอนเช้าไปดูปรากฏว่าน้ำบริเวณนั้นเป็นสีแดง เขียว สลับกันไป ไม่ซ้ำกัน เลยจุดธูปบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ถึงเวลากลางคืนมีคนมาบอกว่ามีคนนอนตาย ไปดูปรากฏว่ามีจริง นายรมเลยบนบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์บริเวณนั้นว่าให้ช่วยปกปักษ์รักษาไม่ให้มีคนตายในคูเมือง (หมู่บ้าน) ดังนั้นเมื่อคำขอเป็นจริง ต่อมานายพรมเลยทำศาลปักหน้าบ้าน (หน้าหลาทวด) ทำเป็นศาลเพียงเล็กๆให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านเรื่อยมา ซึ่งชาวสะบ้าย้อยยังคงมีการบวงสรวงบริเวณศาลาทวดสะบ้าย้อยทุกปี ในทุกวันเพ็ญเดือน 12 และวันสงกรานต์ สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ข้อมูลบทความ -ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
-เทศบาลตำบลสะบ้าย้อย

เรื่องที่เกี่ยวข้อง