หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

กุโบร์บ้านท่ายาง อดีตที่ตั้งค่ายทหารรัฐปัตตานี สถานที่ฝังศพทหารในสงครามปัตตานีกับกองทัพสยาม
15 ธันวาคม 2567 | 1,641

กุโบร์บ้านท่ายาง เป็นกุโบร์เก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์และความเป็นมาอย่างยาวนาน ตั้งอยู่บนเนินทรายริมคลองนาทับ ทางด้านทิศเหนือของบ้านท่ายาง ต.นาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา ทางทิศตะวันออกจะเป็นทะเลอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดคลองนาทับ ทิศใต้ติดบ้านท่ายาง มีเนื้อที่เหลืออยู่ในปัจจุบันประมาณ 10 ไร่ จากเดิมประมาณ 40 ไร่ เป็นสถานที่ฝังศพของของผู้คนที่เข้ามาอยู่อาศัยในอดีต ซึ่งน่าจะมีมานานแล้วแต่ไม่มีหลักฐานปรากฏ  ที่มีบันทึกและมีหลักฐานเคยเป็นที่ตั้งป้อมค่ายทหารของรัฐปัตตานี นานกว่า 400 ปี (ประมาณ พ.ศ. 2159-2167) วังของรายาลักษมาณาดายัง กษัตริย์องค์ที่ 6 ราชวงศ์กลันตัน ปัตตานี (พ.ศ. 2266-2267) และที่สำคัญที่สุดคือ เป็นที่ตั้งค่ายใหญ่ของเมืองปัตตานี สถานที่ฝังศพของทหารในสงครามระหว่างปัตตานี กับกองทัพสยาม สงขลา นครศรีธรรมราช ในปี ค.ศ. 1831 (พ.ศ. 2374) ดินแดนริมฝั่งทะเลตั้งแต่บ้านนาทับถึงสะกอม (ฐานทัพเรือ) เป็นที่ตั้งป้อมค่ายทหาร ฐานทัพเรือ ของอาณาจักรปัตตานี เพื่อสกัดทัพเรือของข้าศึกจากดินแดนทางเหนือ เช่น สงขลา นครศรีธรรมราชและสยาม จึงมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรปัตตานีมาตั้งแต่อดีต กล่าวได้ว่าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรปัตตานี ซึ่งมีเรื่องราวความเป็นมาดังนี้

สงครามครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2374 (ค.ศ. 1831) เป็นสงครามกอบกู้เอกราชของปัตตานี การสู้รบระหว่างกองทัพปัตตานี กับสยาม สงขลาและนครศรีธรรมราช ที่บ้านท่ายาง ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 1 ปัตตานีได้ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2329) ก่อกบฏครั้งใหญ่ 4 ครั้ง แต่ครั้งที่ใหญ่ที่สุดคือ ในปี พ.ศ.2374 ดวนสุหลง เจ้าเมืองปัตตานี โดยมีเช็คอับดุลซอมัด อัลฟาเล็มบานี (ปาเลมบัง อินโดนีเซีย) อุลามะอ์แห่งแหลมมลายู เป็นแม่ทัพ ได้ตีหัวเมืองขึ้นของกรุงรัตนโกสินทร์คือ เมืองไทรบุรี เมืองสงขลา เมืองพัทลุงและมุ่งสู่เมืองนครศรีธรรมราช ทัพหลวงของกรุงรัตนโกสินทร์ได้เดินทางมาถึง ตีทัพปัตตานีถอยร่นลงมาตั้งค่ายในอำเภอจะนะ 2 ค่าย คือ 1.ค่ายหลวงที่บ้านท่ายาง ตำบลนาทับ 2.ค่ายบ้านตรับ ตำบลจะโหนง และค่ายบ้านสามกอง อำเภอเมืองอีกหนึ่งแห่ง ทำสงครามอยู่นาน 8 เดือน

เมื่อเช็ควันดาวูด บิน อับดุลลอฮฺ อัลฟาฏอนี (เป็นลูกศิษย์และสหายของเช็คอับดุลซอมัด อัลฟาเล็มบานี) เดิมเป็นคนเชื้อสายปัตตานีเกิดที่กรือเซะ เดินทางไปเรียนอยู่ที่มาลินะ นครเมกกะ ทราบข่าวได้ชักชวนอุลามะอ์เมืองต่างๆ ที่เรียนอยู่ด้วยกัน ณ นครเมกกะห์ในขณะนั้น ซึ่งล้วนเป็นผู้สืบเชื้อสายของกษัตริย์หรือเครือญาติของกษัตริย์ประเทศต่างๆ ในอาหรับและประเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่เป็นอุลามะอ์ จำนวน 18 ประเทศ เดินทางมาช่วยรบ นอกจากอุลามะอ์ยังมีพ่อค้าจากประเทศอื่นๆ ที่มาค้าขายกับปัตตานี ในสมัยนั้น เช่น ปากีสถาน อินเดีย มอรอคโค ตุรกี โปรตุเกต จีน มาลายู อินโดเนเซีย ฮอลันดา มาร่วมรบในสมรภูมิ การรบดำเนินไปรวมระยะเวลาทั้งสิ้นนาน 1 ปี 4 เดือน 

กองทัพปัตตานีที่บ้านท่ายางถูกตีขนาบจากกองทัพเรือสยามที่มาทางทะเลยิงปืนใหญ่ถล่ม และกองทัพนครศรีธรรมราช สงขลาที่มาทางบก ทัพปัตตานีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ เช็คอับดุลซอมัด อัลฟาเล็มบานี ได้พลีชีพในสนามรบ ร่างของท่านถูกฝังอยู่ที่กุโบร์บ้านตรับ ต.จะโหนง อ.จะนะ จ.สงขลา ส่วนท่านเช็ควันดาวูด บิน อับดุลลอฮฺ อัลฟาตำบลนาทับ 2.ค่ายบ้านตรับ ตำบลจะโหนง และค่ายบ้านสามกอง อำเภอเมืองอีกหนึ่งแห่ง ทำสงครามอยู่นาน 8 เดือน เมื่อเช็ควันดาวูด บิน อับดุลลอฮฺ อัลฟาฏอนีนั้น เช็คอับดุลซอมัด อัลฟาเล็มบานี เห็นว่าในอนาคตจะไม่มีอุลามะอ์ ผู้สอนศาสนาอิสลามในแหลมมาลายู จึงได้ให้ท่านหนีไปก่อนทัพปัตตานีแตกและไปพำนักอยู่ที่ตรังกานู (รัฐหนึ่งในมาเลเซีย) ก่อนเดินทางไปเมืองเมกกะห์ ซาอุดิอาระเบียในบั้นปลายและเสียชีวิตที่นั่น ได้เขียนหนังสือหลักคำสอนในศาสนาอิสลามไว้เป็นจำนวนมาก ส่วนศพนักรบที่มาช่วยรบ และเสียชีวิต ฝังไว้ที่กุโบร์บ้านท่ายางและกุโบร์อื่นๆ เช่น กุโบร์บ้านตรับ กุโบร์บ้านด่าน กุโบร์ควนหัวช้าง ตามสนามรบที่รบกันในสมัยนั้น

กุโบร์บ้านท่ายาง เป็นกุโบร์ประวัติศาสตร์สถานที่ฝังศพของบรรพบุรุษของคนนาทับมาอย่างยาวนาน และนักรบนานาชาติที่ร่วมรบในสงครามปัตตานี กับ สยาม นครศรีธรรมราช สงขลา นับพันศพ ซึ่งมีบุคคลสำคัญที่มีเชื้อใกล้ชิดหรือผู้สืบเชื้อสายจากท่านบีมูหะหมัด คือ เชคฮาบิกฮูเซ็น ผู้สืบเชื้อสายกษัตริย์ของชาติต่างๆ ในอาหรับ  เชคอาบูไอยุดา เชคเจะอาหมัด จากเยเมน เชคอับดุลกอเดร์ เชคอับดุลวาฮิบ (ไม่รู้ว่ามาจากประเทศอะไร) ยูนุสฮิบมัน นูอุบมาน อินโดเนเซีย เจ้าสาระวัด มาเลเซีย และไม่รู้ชื่อและประเทศอีกเป็นจำนวนมาก 

ลักษณะการฝังศพจะฝังเป็นกลุ่มประเทศ ซึ่งสังเกตได้จากหินที่วางอยู่ที่หลุมศพหินชนิดเดียวกันจะมาจากประเทศเดียวกัน ชนิดของหินเป็นถิ่นที่อยู่และความเชี่ยวชาญของนักรบ เช่น หินปะการังมาจากประเทศที่เป็นเกาะหรือทะเล เชี่ยวทางน้ำ (ทหารเรือ) หินแกรนิตมาจากประเทศที่เป็นภูเขา (ทหารบก) ขนาดก้อนหินบอกถึงตำแหน่ง หินก้อนใหญ่คือตำแหน่งใหญ่ คนที่มีร่างกายสูงใหญ่หลุมฝังศพจะยาว ในการทำสงครามครั้งนั้นทุกคนจะนำหินมาคนละ 2 ก้อน ถ้าเสียชีวิตในการทำสงครามเพื่อปกป้องแผ่นดินถือว่าเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ เมื่อเสียชีวิตจะได้พบกับท่านศาสดาคือท่านอัลเลาะฮ์ ทุกคนจึงพร้อมที่จะพลีชีพและใช้หินที่นำมาด้วยวางไว้ที่หลุมศพ ส่วนหลุมศพที่มีอิฐดินเผาวางไว้เป็นบุคคลสำคัญผู้มียศฐาบันดาศักดิ์ เช่น ผู้สืบเชื้อสายกษัตริย์ เชค อุลามะห์ และหลุมฝังศพทางด้านหน้าของกุโบร์จะเป็นบุคคลสำคัญในกองทัพ เป็นต้น

ภาพ/ข้อมูลบทความ : บ้านท่ายาง หมู่ที่ 3 ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

เรื่องที่เกี่ยวข้อง