เมื่อครั้งจอมพล ป.พิบูลสงคราม มีนโยบายนำไทยสู่ความเป็นมหาอำนาจ ด้วยการส่งเสริมให้มีการแต่งงานเพื่อเพิ่มประชากร นำมาซึ่งการก่อตั้ง "องค์การส่งเสริมการสมรส" ขึ้นจนทำให้เกิดเหตุการณ์การสมรสหมู่เกิดขึ้นทั่วประเทศไทย ซึ่งวันนี้จะพาทุกคนไปชมภาพเหตุการณ์การสมรสหมู่ครั้งนั้นเมื่อ 77 ปีที่ผ่านมาที่เคยเกิดขึ้น ณ เมืองพัทลุง
(ภาพ : โรงเรียนสตรีพัทลุง)
องค์การส่งเสริมการสมรส วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2485 รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ก่อตั้ง “องค์การส่งเสริมการสมรส” ขึ้นโดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน อธิบดีกรมสาธารณสุขเป็นรองประธาน ส่วนกรรมการนั้นได้แก่อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกรมโฆษณาการ ผู้แทนสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้แทนเทศบาลนครกรุงเทพฯ ผู้แทนเทศบาลนครธนบุรี นายกสมาคมสงเคราะห์ผู้มีบุตรมาก และกำหนดให้มีผู้หญิงเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย เป้าหมายขององค์กรแห่งนี้คือการส่งเสริมให้คนแต่งงานกันมากขึ้น และเพิ่มจำนวนประชากรให้ได้ 30-40 ล้านคนภายในเวลา 20-30 ปี เพื่อนำไทยไปสู่ความเป็นมหาอำนาจ (ขณะนั้นมีพลเมือง 18 ล้านคน)
องค์การส่งเสริมการสมรสจึงมีภารกิจหลักได้แก่ การเช่นชักชวนและชักจูงให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าในการสมรส ช่วยประสานงานในการสู่ขอและขจัดอุปสรรคต่างๆ รวมถึงการตรวจโรคและจัดพิธีสมรส จากนั้นก็พิจารณาให้มีที่ทำกิน และให้ทุนการศึกษาแก่ลูกคนแรกที่เกิดมาหลังการสมรส 260 วันเป็นต้นไป
ทั้งนี้จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีบัญชาให้องค์การส่งเสริมการสมรส จัดงานสมรสหมู่ขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศพร้อมกันเป็นครั้งแรกในวันที่ 29 มีนาคม 2486 สำหรับกรุงเทพฯ เพื่อให้เป็นงานยิ่งใหญ่ระดับชาติ จึงให้จัดที่ทำเนียบสามัคคีชัย ตึกไทยคู่ฟ้า โดยมี จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
สมรสหมู่ที่เมืองพัทลุง ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มีภาพถ่ายเก่าชุดหนึ่งระบุว่า “จ.พัทลุง พิธีสมรสหมู่ 7 ม.ค. 2487 โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดพัทลุง” นับเป็นหลักฐานของการปฏิบัติตามนโยบายหรือรัฐนิยมของรัฐบาล ในพื้นที่หัวเมืองภาคใต้ที่อยู่ห่างไกลเมืองหลวง ซึ่งกำลังจะครบรอบ 77 ปีในเวลาอันใกล้นี้
ภาพข้อมูลบทความ : นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ (สำนักศิลปากรที่11 สงขลา)
ตามรอย 3 โรงสี เมืองสงขลา(บ่อยาง)
10 พฤศจิกายน 2567 | 196อีก 1 ตำนานเมืองหาดใหญ่ ตลาดสันติสุข-แผงทอง สวรรค์ของนักช็อปตัวยง
10 พฤศจิกายน 2567 | 246นกกรงหัวจุก สัตว์เลี้ยงคู่ใจของชาวปักษ์ใต้
3 พฤศจิกายน 2567 | 229ย้อนรอยโบราณ วัดโรงน้อยขึ้นพะโคะ สู่วัดโรง อ.กระแสสินธุ์
3 พฤศจิกายน 2567 | 265ตำนานแห่งสายน้ำ...การแข่งขันประเพณีเรือยาว (บางกล่ำ)
3 พฤศจิกายน 2567 | 247ชุมชนรังมดแดงสู่บ้านรำแดง(สิงหนคร)
20 ตุลาคม 2567 | 274ความทรงจำข้างกำแพงเมือง...182 แห่งการสถาปนาเมืองสงขลา(บ่อยาง)
20 ตุลาคม 2567 | 291