ตลาดสันติสุข-แผงทอง ตั้งอยู่บนถนนนิพัธุุ์อุทิศ 2 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นย่านแหล่งช็อปปิ้งราคาถูกที่าคัญอีกแห่งหนึ่งของหาดใหญ่ และเป็นแหล่งช็อปปิ้งขวัญใจวัยเด็ก วัยรุ่น จนถึงวัยผู้ใหญ่ตลอดจนนักท่องเที่ยวจากต่างถิ่นที่มักนิยมมาเดืนเลือกซื้อจับจ่ายใช้สอยกันอยู่เป็นประจำ
ซึ่งจะเป็นที่รู้จักกันดีของผู้คนในยุคก่อนหน้าว่าสินค้าที่จำหน่ายภายในตลาดสันติสุข-แผงทองเป็นสินค้าปลอดภาษีและมีราคาถูก มีสินค้าที่หลากหลายให้เดินเลือกซื้อกันอย่างละลานตา ทั้งนาฬิกา เสื้อผ้า กระเป๋า น้ำหอม รองเท้า ของเล่นเด็กจิปาถะ ตลอดจนเครื่องใช้ไฟฟ้าหลากหลายชนิด และที่เป็นเอกลักษณ์คือเครื่องเล่นเกมส์ แผ่นหนังแผ่นซีดีต่างๆที่มีให้เลือกมากมาย จนเป็นที่รู้จักกันดีว่าหากต้องการซื้อสิ่งของดังกล่าวก็ต้องมายังตลาดสันติสุข-แผงทองที่นี่นั่นเอง
หากย้อนไปเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว ตลาดสันติสุข-แผงทองได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในทุกๆวันจะมีผู้คนเข้าไปจับจ่ายใช้สอย ชอปปิ้งสินค้ากันอย่างคึกคัก แผงขายทุกล็อคจะเต็มแน่นไปด้วยสินค้านานาชนิด คนแน่นจนเดินชนเดินเบียดกัน ผู้ปกครองพาเด็กๆมาเดินเลือกซื้อเลือกหาของเล่น กลุ่มเด็กวัยรุ่นในยุคนั้นก็เดินเกาะกลุ่มกันเลือกซื้อแผ่นเกมส์ แผ่นหนังซีดีต่างๆ จนเรียกได้ว่าเป็นสวรรค์ของนักช็อปตัวยง อยากได้อยากซื้ออะไรก็แค่มาตลาดสันติสัข-แผงทอง มีหมดครบจบทุกอย่างในที่เดียว
(ภาพ : ตลาดสันติสุข ยงดี สหโชค แผงทอง เอเชีย)
ปัจจุบันสิ่งต่างๆมักถูกปรับเปลี่ยนตามกาลเวลา ตลาดสันติสุข-แผงทองเริ่มซบเซา พ่อค้าแม่ค้าพากันปิดแผง แปรเปลี่ยนไปประกอบอาชีพต่างๆตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เนื่องจากเทคโนโลยีที่เข้ามาทำให้การเดินเลือกซื้อช็อปปิ้งสินค้าตามตลาดต่างๆถูกลดความสำคัญลงไป สินค้าออนไลน์เข้ามาแทนที่ มีความสะดวกสบาย รวดเร็วในการซื้อสินค้ามากกว่า ทำให้ตลาดเหล่านี้เริ่มเลือนหายไปและไม่คึกคักเหมือนเก่า
(ภาพ : ตลาดสันติสุข ยงดี สหโชค แผงทอง เอเชีย)
แต่ความทรงจำของผู้คนและนักท่องเที่ยวในยุคนั้นก็ยังคงชัดเจนดีเสมอเมื่อเอ่ยถึงชื่อตลาดสันตุสุข-แผงทองแห่งนี้
ย้อนเหตุการณ์...พิธีสมรสหมู่ ณ เมืองพัทลุง
10 พฤศจิกายน 2567 | 199ตามรอย 3 โรงสี เมืองสงขลา(บ่อยาง)
10 พฤศจิกายน 2567 | 196นกกรงหัวจุก สัตว์เลี้ยงคู่ใจของชาวปักษ์ใต้
3 พฤศจิกายน 2567 | 229ย้อนรอยโบราณ วัดโรงน้อยขึ้นพะโคะ สู่วัดโรง อ.กระแสสินธุ์
3 พฤศจิกายน 2567 | 265ตำนานแห่งสายน้ำ...การแข่งขันประเพณีเรือยาว (บางกล่ำ)
3 พฤศจิกายน 2567 | 247ชุมชนรังมดแดงสู่บ้านรำแดง(สิงหนคร)
20 ตุลาคม 2567 | 274ความทรงจำข้างกำแพงเมือง...182 แห่งการสถาปนาเมืองสงขลา(บ่อยาง)
20 ตุลาคม 2567 | 291