ประเพณีแข่งเรือยาวบางกล่ำ เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยางนาย เนื่องจากในอดีตอำเภอบางกล่ำ ในพื้นที่ต.บางกล่ำ ต.แม่ทอม เป็นที่ราบลุ่มมีลำคลองออกสู่ทะเลสาบหลายสาย ประชาชนในพื้นที่แถบนี้จะใช้เรือเป็นพาหนะในการติดต่อไปมาหาสู่ และใช้ในขนส่งผลผลิต
การแข่งเรือยาวจะจัดบริเวณท่าน้ำวัดบางหยี หมู่ที่ 4 ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา โดยระยะแรกจะทำหลังจากออกพรรษา ซึ่งเป็นฤดูฝน มีน้ำหลาก ชาวบ้านที่อาศัยในแถบสายน้ำบางกล่ำ-แหลมโพธิ์จะแข่งเรือยาวขึ้นในวันทอดกฐิน
เนื่องจากวันดังกล่าวมีประชาชนมาร่วมทำบุญมากมาย เรือของพุทธศาสนิกชนที่เดินทางมาทอดกฐิน ก็จะเข้าร่วมแข่งขันจนเกิดเป็นประเพณีแข่งเรือยาวขึ้น ต่อมาได้มีการแข่งขันกันในระหว่างหมู่บ้าน ขยายออกไปในอำเภอใกล้เคียง และได้มีการจัดการแข่งขันขึ้นเป็นประจำทุกปี จนกลายเป็นประเพณีแข่งเรือยาวประจำปี
ถึงแม้การแข่งเรือยาวที่อ.บางกล่ำ จะไม่ใหญ่โตอย่างจังหวัดทางภาคอื่นของประเทศ เพราะยังไม่มีการแข่งแบบ 53 ฝีพาย แต่ก็ถือว่าเป็นการรักษาประเพณีเก่าแก่แต่โบราณ เนื่องจากอ.บางกล่ำ มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีลำคลองออกสู่ทะเลสาบสงขลาหลายสาย เช่น คลองอู่ตะเภา คลองท่าเมรุ และคลองบางกล่ำ
ในอดีตชาวบ้านใช้เรือเป็นพาหนะ และเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก หลังจากออกพรรษาแล้ว ก็จะจัดให้มีประเพณีการแข่งขันเรือ ซึ่งส่วนใหญ่จัดขึ้นในวันทอดกฐิน แต่เมื่อความเจริญเข้ามาได้มีการสร้างถนนขึ้นมาหลายสาย ผู้คนก็เริ่มหันมาใช้รถยนต์แทนที่เรือ จึงเป็นสาเหตุให้การใช้พาหนะทางเรือค่อยๆเลือนหายไปพร้อม ๆ กับการแข่งขันเรือที่ซบเซาลง ซึ่งการแข่งขันเรือยาวของ อ.บางกล่ำเพิ่งจะเริ่มมีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่เมื่อปี 2539
ประเพณีแข่งเรือของชาวบางกล่ำ ถือว่าเป็นหน้าตาของจังหวัดสงขลา เพราะการแข่งเรือของภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา มีเรือเข้าร่วมการแข่งขันมากที่สุด ฝีพายที่เข้าร่วมการแข่งขันมีเป็น 1,000 ชีวิต ปัจจุบันการแข่งขันเรือยาว จะกำหนดแข่งขันเป็นประจำทุกปี โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 ประเภท คือ ประเภท 7 ฝีพาย 9 ฝีพาย และ 12 ฝีพาย และได้เปลี่ยนจากการแข่งขันจากวันทอดกฐิน มาเป็นในวันเสาร์แรกของเดือนพฤศิจกายนของทุกปี
ภาพ/ข้อมูลบทความ : -อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
-สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสงขลา
ย้อนเหตุการณ์...พิธีสมรสหมู่ ณ เมืองพัทลุง
10 พฤศจิกายน 2567 | 200ตามรอย 3 โรงสี เมืองสงขลา(บ่อยาง)
10 พฤศจิกายน 2567 | 197อีก 1 ตำนานเมืองหาดใหญ่ ตลาดสันติสุข-แผงทอง สวรรค์ของนักช็อปตัวยง
10 พฤศจิกายน 2567 | 247นกกรงหัวจุก สัตว์เลี้ยงคู่ใจของชาวปักษ์ใต้
3 พฤศจิกายน 2567 | 229ย้อนรอยโบราณ วัดโรงน้อยขึ้นพะโคะ สู่วัดโรง อ.กระแสสินธุ์
3 พฤศจิกายน 2567 | 266ชุมชนรังมดแดงสู่บ้านรำแดง(สิงหนคร)
20 ตุลาคม 2567 | 275ความทรงจำข้างกำแพงเมือง...182 แห่งการสถาปนาเมืองสงขลา(บ่อยาง)
20 ตุลาคม 2567 | 292