กลับมาพบกันอีกแล้ว!! ในช่วงกลางเดือนแบบนี้ กับเรื่องราววิถีชีวิต เรื่องราวที่น่าค้นหาจากหลายมุมมองคนในจังหวัดสงขลา
อีกหนึ่งอาชีพที่มีความผูกพันธ์กับชาวสงขลามาอย่างช้านาน เชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะต้องคุ้นเคย และเห็นมาบ้างแล้วเมื่อท่านไปเที่ยวเมืองเก่าสงขลา "รถสามล้อถีบ" ยานพาหนะรับจ้างของคนไทยในอดีต ไม่เว้นแม้แต่เมืองสงขลาที่เคยใช้บริการพาหนะชนิดนี้ เพื่อปฏิบัติภารกิจประจำวัน ไปโรงเรียน ไปทำงาน และไปตลาด รวมถึงคมนาคมต่างๆ
โดยเมืองสงขลาในอดีตนั้น ถือได้ว่าเป็นเมืองที่มีรถสามล้อมากติดเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทย แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาของโลกใบนี้ทำให้สามล้อถีบแห่งเมือสงขลา จะกลายเป็นตำนานไปเสียก่อน เนื่องจากว่าคนที่ขับสามล้อในปัจจุบันไม่มีให้พบเห็นแล้ว ส่วนบางท่านก็หันเหไปทำอาชีพอย่างอื่นแทน ภาพเหล่านั้นค่อยๆ จางไปตามกาลเวลา
แต่ยังมีอีกหนึ่งคน ที่เราไม่เอ่ยถึงไม่ได้ เรียกได้ว่าเป็นสามล้อถีบรุ่นสุดท้ายแห่งเมืองสงขลา หาดใหญ่โฟกัส มีโอกาสได้สัมภาษณ์พูดคุยกับคุณลุงท่านหนึ่ง คุณลุงเองก็มีอายุเยอะมากแล้ว แต่ยังคงเลือกขับสามล้อถีบเป็อาชีพที่คุณลุงรักและทอดทิ้งไม่ได้ คุณลุงทำอาชีพนี้มายาวนานกว่า 59 ปี ตั้งแต่อายุ 17 ปี
คุณลุงคนนั้นมีชื่อนายแจ้ว ชูสวัสดิ์ ในวัย 76 ปี คุณลุงจะจอดอยู่แถวย่านเมืองเก่าเป็นประจำ ตั้งแต่ช่วงเช้าจนถึงเย็นๆ บริเวณเส้นศาลหลักเมืองสงขลา บ้านของลุงแจ้วนั้นอยู่ถนนเทศบาล 1 ซอย 1 อยู่กัน 4 คน เป็นบ้านเช่าหลังไม่ใหญ่มากแต่อบอุ่น
ลุงแจ้วขับรถสามล้อถีบมาตั้งแต่กี่ปีแล้ว ?
ลุงแจ้วบอกว่า สามล้อคู่ใจคันนี้ที่แกใช้ขับมาตั้งแต่ 17 ปี ช่วงวัยรุ่นเลย มาจนตอนนี้ 76 ปีและบอกว่าตนเองยังแข็งแรง ปั่นได้อีกหลายปี สมัยก่อนได้ค่าจ้างเที่ยวละสองบาท ถึงสามบาท วันหนึ่งได้เงินประมาณร้อยกว่าบาท แต่ปัจจุบันยากมากคนที่มานั่งสามล้อ เขาอาจจะเดินเอา สะดวกและเร็วกว่า ลุงก็จะปั่นเรื่อยๆ เท่าที่ไหวอยากแวะตรงไหนก็แวะ
ที่รถลุงจะติดป้ายตั้งไว้แบบนี้เลยหรอคะ ?
- ใช่ ตั้งป้ายสีเหลือง ลุงแจ้วพาท่องปักษ์ใต้ดีไซน์วีคบางคนไม่รู้นะลูก ว่าลุงรับจ้างปั่นสามล้อ บางคนคิดว่าเรามานั่งเฉยๆ เลยต้องมีป้ายติดไว้ ใครมาก็ได้รู้อ๋อพาชมมเมืองนะ ลุงจอดประจำตรงนี้แหละ ถ้ามาแล้วต้องเห็นลุงนั่งอยู่แบบนี้
ทุกวันนี้ยังมีลูกค้าบ้างไหมคะ น้อยลงไหม ลุงเก็บนักท่องเที่ยวยังไง ?
-น้อยลง บางวันแทบไม่มี ราคาจะแล้วแต่ไปไม่ไกล ตั้งแต่ 40-60 บาท นักท่องเที่ยวให้ลุงบางที รอบละ 100 พาปั่นชมเมืองไปหมดเลย ทุกมุม ถ่ายรูปเล่นรอจนเสร็จ บอกได้อธิบายได้หมดว่าตรงนี้คืออะไร จริงๆ ไม่ได้คิดแพง แต่เขาให้ลุงเพราะสงสาร บางคนมาถ่ายรูปกับรถกับเราก็ให้เงิน 100 บาท เป็นค่าตอบแทนกับลุง รายได้วันนึง 300-400 บาท
อาชีพนี้หล่อเลี้ยงลูกหลานเรา ครอบครัวยังไงบ้าง
-อาชีพนี้เลี้ยงลุงมาตั้งแต่วัยหนุ่ม ตอนนั้นแข็งแรง จนตอนนี้ก็ไม่ค่อยแข็งแรงเท่าไหร่ มันทำให้เรามีข้าวกินมาถึงทุกวันนี้ ถึงจะไม่ได้ทำให้รวยแต่ไม่เคยทำให้อดอยาก เรารักเราชอบ เราก็อยากจะทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะไม่ไหว เรารักบ้านเกิดเราสงขลา
เขาบอกว่าเราอาจจะเป็นรุ่นสุดท้ายของสามล้อปั่น จริงหรือไม่ ?
-ถ้าลูกมาเที่ยวในเมืองอีกก็ไม่เห็นแล้ว มีลุง 1 คันที่จอดอยู่ เห็นชัด แต่ก่อนเยอะมากมีเพื่อนฝูง จอดกันเป็นแถวเดี่ยวนี้ไม่มีเลย
แอบเห็นบางทีลุงขับไป พอได้คนมีชาวบ้านแซวๆ หยอก
-ครับ บางทีเค้าก็ปรบมือแซว ว่าเอ้ยได้คนละโว้ย แซวเป็นปกติคนคุ้นเคย
อุปกรณ์พร้อมเลย มีอะไรบ้างคะ
-หมวก แว่นตา เอกลักษณ์ของลุง แว่นใช้กันลม เพราะแก่แล้ว
รถสามล้อถีบคันนี้รับน้ำหนักได้เท่าไหร่คะ
- 100 โลลูก นั่งได้เต็มที่ 2 คน
ลุงใช้แรงเยอะเลยใช่ไหมคะที่ปั่น เพราะสังเกตจากหน่อง
-ใช่ออกแรงเยอะหน่อย ยิ่งเวลา 2 คน ต้องค่อยๆไป
บอกความสุข จากงานที่เราทำอยู่ตรงนี้ ให้อะไรกับเราบ้าง ?
-ความสุขเยอะเลย ลุงก็บอกไม่ถูกแต่รักไม่งั้นไม่ทำจนถึงปัจจุบัน จริงๆ ไม่อยากให้อาชีพนี้หายไป อยากให้มีอยู่เรื่อยๆ ในสงขลา ลุงก็แก่มากแล้ว พูดก็ฟังไม่ค่อยชัด บางทีเราแฮปปี้ที่พานักท่องเที่ยวปั่นชมเมืองไปเรื่อยๆ เห็นรอยิ้มเขาชอบบ้านเมืองเรา เราก็ได้เล่าเสริมไปในส่วนที่รู้ ความสุขอยู่ตรงนั้น บางคนมาถ่ายรูปปกับลุงเฉยๆ ยังไม่ได้ใช้บริการ ก็ให้ทิปเราแล้ว หัวเราะบอกชอบๆ หาชมยาก
-ใครที่มาสงขลาก็สามารถแวะทักทายลุงแจ้วกันได้ ลุงจอดอยู่เส้นศาลหลักเมืองประจำ แกจอดตั้งแต่เช้าถึงเย็น แวะไปใช้บริการ ถ่ายรูปพูดคุยกับแกกันได้ตลอด แกจะใส่กางเกงขาสั้น นั่งเท่ๆ แบบนี้รอต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทุกที่.
"ป้าบ่วย" เจ้าของร้านฮับเซ่ง สภากาแฟที่ตั้งอยู่คู่เมืองเก่าสงขลาร่วม 100 ปี
25 ตุลาคม 2567 | 2,174"หมี ศุภวิชญ์" ทายาทรุ่นที่ 4 ไอติมบันหลีเฮงสงขลา ส่งตรงจากรุ่นอากงอาม่ากว่า 100 ปี
15 ตุลาคม 2567 | 2,278"โกหล่าย" ทายาทรุ่นที่ 2 ร้านตัดผมสมบูรณ์เกษาหาดใหญ่
21 สิงหาคม 2567 | 935ดอกผลของความเพียร สู่ทุเรียนสองฝนสวนบังบา สวนแรกเริ่มจัดงานบุฟเฟต์ทุเรียน(เขาพระ)
18 สิงหาคม 2567 | 624ป้าแอด หญิงแกร่งแห่งอำเภอรัตภูมิ ยึดอาชีพทำนาจนเกิดเป็นแบรนด์ข้าวสังข์หยด สบายแสนคูหาใต้
23 มิถุนายน 2567 | 1,037"หลวงทุ่งจินดา" ขวัญใจเด็กสะเดา แจกนมขนมฟรี ทำมานานกว่า 17 ปี ผู้ให้ที่มีแต่ความสุข
29 เมษายน 2567 | 1,105"คนสงขลา" ศิษย์เก่า ม.ขอนแก่น รุ่นที่ 1หมายเลขนักศึกษา 001 คณะเกษตรศาสตร์
6 กุมภาพันธ์ 2567 | 28,166