เมื่อกลางปีที่ผ่านมา ช่วงเดือนมิถุนายน เมืองสงขลามีการจัดงานที่ยิ่งใหญ่งานหนึ่ง ชื่อว่า "งานสมโภชเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา" มีคำถามเกิดขึ้นมาต่าง ๆ นานาว่า...แท้ที่จริงแล้วเมืองสงขลามีอายุกี่ปีกันแน่ บางคำกล่าวบอกว่า 300 ปีบ้าง แต่บางคำกล่าวก็บอกว่ามีอายุมากกว่า 1,000 ปี... แท้จริงแล้วการนับอายุมันขึ้นอยู่กับว่าเราจะไปเริ่มนับจากอะไร
อายุเมืองสงขลา
เมืองสงขลาในอดีตเมื่อราว ๆ 10 กว่าปีก่อน เคยมี "งานฉลองเมืองสงขลา 300 ปี" จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ งานดังกล่าวทำให้นักวิชาการหลายคนออกมาโต้แย้งว่า "เมืองสงขลา มีอายุมากกว่า 300 ปี" อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการนิตยสารศิลปวัฒนธรรม เคยพูดไว้ว่า "ถ้าสงขลา 300 ปี ก็ดูน๋อมแน๋ม (เด็ก) ไปหน่อย"
ย้อนกลับไปสู่ยุคก่อนประวัติศาสตร์แผ่นดินสงขลา...ทางสำนักโบราณคดี กรมศิลปากรที่ 11 สงขลา ได้ขุดค้น ณ เขตพื้นที่เมืองสะบ้าย้อย พบว่า พื้นที่ตรงนั้นแต่เดิมเคยมีมนุษย์อาศัยอยู่ ตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์แล้ว พื้นที่ตรงนั้นคือบริเวณ "วัดถ้ำตลอด" ที่ว่ากันว่ามีพระพุทธรูปปางไสยยาสน์อายุเกินกว่า 1,000 ปี และหลักฐานชิ้นสำคัญอีกประการที่บ่งบอกว่า สงขลามีอายุเก่าแก่มามากกว่า 300 ปี คือ บริเวณพื้นที่ห่างจากวัดพะโค๊ะ ไปทางทิศเหนือราว 800 เมตร เราจะพบกับสถานที่สำคัญอีกแห่งของประวัติศาสตร์เมืองสงขลา นั่นคือ ศาสนสถานโบราณเก่าแก่ อายุเกือบ 1,000 ปี สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่ช่วงอาณาจักรศรีวิชัย และบริเวณศาสนสถานแห่งนี้ถือได้ว่าเป็นสถานที่โบราณที่สุดในสงขลาก็ว่าได้ เราเรียกศาสนสถานแห่งนี้ว่า "ถ้ำคูหา" หรือ "เขาคูหา"
พระพุทธรูปไสยาสน์ ที่สันนิษฐานว่ามีอายุกว่า 1,000 ปี ณ ถ้ำตลอด สะบ้าย้อย
ถ้ำที่เขาคูหาใกล้เคียงกับเขาพะโคะ มีร่องรอยศาสนสถานฮินดูยุคเริ่มแรกที่เผยแผ่เข้ามาราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ พบฐานโยนีขนาดใหญ่
ถ้ำคูหา
หลักฐานที่พบ...ตรงบริเวณเนินเขาคูหาที่มีลักษณะเป็นเนินเขาลาดชัน พบถ้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น 2 ถ้ำ ปากถ้ำทั้งสองอยู่ห่างกันประมาณ 10 เมตร ถ้ำสูงจากพื้นดินประมาณ 1 - 2 เมตร มีลานหน้าถ้ำ ทางเข้าของถ้ำแรกเป็นรูปโค้งสูงประมาณ 2.5 เมตร ขนาดของถ้ำกว้างประมาณ 3.5 เมตร ลึกประมาณ 4.5 เมตร ภายในถ้ำมีการสกัดหินจนเรียบ พื้นที่ภายในถ้ำบรรจุคนได้ประมาณ 20 คน และบนลานหน้าถ้ำบรรจุคนได้ไม่น้อยกว่า 50 คน บริเวณหน้าถ้ำพบแผ่นหินโยนีสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่ เคยประดิษฐานศิวลึงค์ แต่ปัจจุบันได้เคลื่อนย้ายไปแล้ว ถ้ำที่สองมีลักษณะและสัดส่วนคล้ายคลึงถ้ำแรก ชุมชนโบราณได้ใช้ถ้ำคูหาเป็นศาสนสถานเพื่อประกอบพิธีกรรมพุทธศาสนามหายานและศาสนาฮินดู เหมือนกับถ้ำอะชันตะและเอลโลรา ในประเทศอินเดีย ซึ่งขุดเจาะภูเขาเข้าไปสลักหินและเขียนภาพเรื่องราวทางศาสนา ซึ่งไม่เคยพบถ้ำลักษณะนี้ในประเทศไทย ได้สัณนิษฐานว่าถ้ำคูหามีอายุระหว่างพุทธศตวรรษ ที่ 12 - 15 เป็นชุมชนโบราณสมัยประวัติศาสตร์ภาคใต้
แล้วงานฉลองเมืองสงขลา 300 ปี เขาเอาอะไรมาวัด ?
คณะกรรมการการจัดงาน ณ ขณะนั้น กล่าวว่า...งานดังกล่าวยึดเอาตามแผนที่โบราณของ เมอซิเออร์ เดอ ลามาร์ (M. de la Mare) นายช่างใหญ่ประจำราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งราชวงศ์ฝรั่งเศส ซึ่งเดินทางมาประเทศสยาม และได้มีการจัดทำแผนที่เมืองซิงกอร่า (สงขลาเดิม) ภายในแผนที่ฉบับดังกล่าวได้ระบุปี (ค.ศ.) เอาไว้ด้วย ซึ่งปีที่จัดงานเทียบย้อนกับปีบนแผนที่ก็จะ 300 ปีพอดี ฉะนั้นหากจะเรียกชื่องานนี้ให้ถูกต้อง เราต้องเรียกชื่อเต็มว่า "งานฉลองเมืองสงขลา 300 ปี ตามที่ปรากฏชื่อซิงกอร่า ในแผนที่โบราณของชาวตะวันตก"
แผนที่คัดลอกจากฝรั่งเศส ระบุปี พ.ศ.2230
ใบประกาศเที่ยวงานฉลองเมืองสงขลา 300 ปี ระบุปีพ.ศ. 2534
งานสมโภชศาลเจ้าพ่อหลักเมือง 175 ปี เอาอะไรมาวัด ??
ตั้งแต่เมืองสงขลาย้ายเมืองมาจากเขาแดงสู่ฝั่งแหลมสน และย้ายจากแหลมสนข้ามน้ำข้ามทะเลมายังบ่อยางดังที่ปรากฏในปัจจุบัน ถ้ายึดตามแบบนี้สงขลาจะมีอายุ 175 ปี
สรุปง่าย ๆ คือ...เรานับอายุของงานสมโภชศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จากการลงเสาหลักเมืองสู่พื้นแผ่นดินเมืองสงขลา ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2385 การลงเสาหลักเมืองสงขลานั้น จัดขึ้นโดย "พระยาวิเชียรคีรี" เจ้าเมืองสงขลาคนสุดท้าย จวบจนวันนี้ก็ล่วงเลยมากว่า 175 ปีแล้ว ล่าสุด...มีการกำหนดให้ทุก ๆ วันที่ 10 มีนาคม ของทุกปี คือ "วันสงขลา"
ข้อมูล: พงศาวดารสงขลา / ลุงก้อยและพี่ส้มจี๊ด สวท.สงขลา
เขียนและเรียบเรียง: hatyaifocus หาดใหญ่โฟกัส
เหตุอัศจรรย์ระหว่างการก่อสร้าง ธรรมสถานพระโพธิสัตว์กวนอิม (เขาเทียมดา)
12 มกราคม 2568 | 62เปิดตำนาน...ปู่เจ้าเขาเขียวแห่งสิงหนคร
12 มกราคม 2568 | 73ในหลวงรัชกาลที่9 กับการพัฒนาจังหวัดสงขลา
12 มกราคม 2568 | 77ย้อนประวัติจวนเจ้าเมืองสงขลา สมัยธนบุรี - รัตนโกสินทร์
5 มกราคม 2568 | 149พาชมพระสยามเทวาธิราชจำลอง 1 ใน 5 หัวเมือง ประดิษฐานอยู่ที่ ต.ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา
5 มกราคม 2568 | 130คนสงขลากับความเชื่อเรื่องทวด ที่ปรากฎในโองการทวดอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์จังหวัดสงขลา
5 มกราคม 2568 | 160ศาลาทวดสะบ้าย้อย ความศรัทธาสู่สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวสะบ้าย้อย
15 ธันวาคม 2567 | 265ที่มา...ชื่อบ้านสำนักขาม (สะเดา)
15 ธันวาคม 2567 | 239