อีกหนึ่งขนมขึ้นชื่อในตำนานของชาวใต้ในทุกบุญสารทเดือนสิบ คงจะหนีไม่พ้นขนมลา ขนมลาคือ อะไรชื่อ ของขนมลา อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูคุ้นตากับบุคคลโดยทั่วไปมากนัก เนื่องจากแปลกทั้งชื่อ และรูปแบบเพราะเป็นขนมพื้นบ้านของท้องถิ่น อาจจะรู้จักกันเพียงภาคใต้โดยเฉพาะ จังหวัดนครศรีธรรมราช แหล่งที่ทำขนมลากันมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียงรสชาติ ดี อร่อยที่สุด ปัจจุบันทำเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยเท่านั้นคือ “ขนมลาบ้านหอยราก” ซึ่งปัจจุบันเรียกกันว่า ชุมชนศรีสมบูรณ์ เดิมชื่อ บ้านหอยราก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช และในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และสงขลา
หากถามว่าขนมลาเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ครั้งแรก ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ทราบแต่ว่า ชาวบ้านปากพนังรู้จักทำขนมลาขึ้นใช้ในงานประเพณีสารทเดือนสิบของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งในงานประเพณีสารทเดือนสิบของจังหวัดนครศรีธรรมราช จะต้องจัดหมับไปทำบุญที่วัดในแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งเป็น “วันสารท”
ขนมลา” น่าจะมาจากกะลา (กะลามะพร้าว) เพราะสมัยก่อนยังไม่มีกระป๋องใส่แป้งในการทอดลาใช้กะลา คนใต้เรียก “พรก” นำมาเจาะรูเล็กๆ หลายรู เมื่อตักแป้งใส่แล้วจึงแกว่งส่าย (คนใต้เรียก “ทอดลา”) แกว่งเป็นวงกลมไปตามรูปกระทะ แป้งที่ดีเส้นต้องไม่ขาด และเส้นต้องเล็กเท่ากับเส้นด้าย สีแป้งสะท้อนแวววาวเป็นประกาย
โดยจะมีส่วนผสมหลักๆ
1. ข้าวเจ้า
2. น้ำตาลทราย
3. น้ำผึ้ง (น้ำตาลโตนด)
4. น้ำมันมะพร้าวใหม่ๆ (หรือน้ำมันอื่นๆ)
5. ไข่ต้ม (ใช้เฉพาะไข่แดง)
ขนมลา เป็นหนึ่งในขนม 5 ชนิด ที่ชาวใต้จะนำไปทำบุญในช่วงเทศกาลบุญสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นประเพณีทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือที่เรียกว่า "บุพเปตพลี" ขนมลาปรุงขึ้นเพื่อเป็นเสมือนแพรพรรณเสื้อผ้า มีรูปทรงเหมือนกับผ้าถักทอ พับเป็นแผ่ เป็นผืนได้นั่นเอง
ขนมลามีเส้นขนาดเล็ก เปรตที่มีปากขนาดเล็กเท่าเข็ม จึงสามารถกินเข้าไปได้
นอกจากนี้วันสารทยังเป็นช่วงที่โลกออกห่างดวงอาทิตย์มากที่สุดโดยถ้านับจากวันสงกรานต์ จนถึงวันสารทจะเป็นเวลาประมาณหกเดือนพอดี หากจะนับช่วงเวลาทางจันทรคติคือแรม 15 ค่ำ (หรือ 14)
ซึ่งเป็นเดือนดับและเป็นเวลาที่โลกมืดมิดที่สุด ความเชื่อของคนโบราณในแถบภูมิภาคนี้ จึงถือว่าเป็นเวลาที่วิญญาณกลับจากนรก ญาติพี่น้องจึงควรทำบุญ เพื่อแผ่ส่วนกุศลไปให้ ถ้าผู้ล่วงลับได้รับส่วนบุญได้อิ่มท้องก็จะให้พร ถ้าไม่มีใครทำบุญไปให้ก็จะเสียใจบางทีอาจโกรธและสาปแช่ง จนถือเป็นวันรวมญาติ วันบูชาบรรพบุรุษ ใครไม่ร่วมจะโดนดูถูกว่าอกตัญญู วันสงกรานต์นับตามสุริยคติ วันสารทจะนับตามจันทรคติ
ย้อนเหตุการณ์...พิธีสมรสหมู่ ณ เมืองพัทลุง
10 พฤศจิกายน 2567 | 225ตามรอย 3 โรงสี เมืองสงขลา(บ่อยาง)
10 พฤศจิกายน 2567 | 213อีก 1 ตำนานเมืองหาดใหญ่ ตลาดสันติสุข-แผงทอง สวรรค์ของนักช็อปตัวยง
10 พฤศจิกายน 2567 | 273นกกรงหัวจุก สัตว์เลี้ยงคู่ใจของชาวปักษ์ใต้
3 พฤศจิกายน 2567 | 240ย้อนรอยโบราณ วัดโรงน้อยขึ้นพะโคะ สู่วัดโรง อ.กระแสสินธุ์
3 พฤศจิกายน 2567 | 299ตำนานแห่งสายน้ำ...การแข่งขันประเพณีเรือยาว (บางกล่ำ)
3 พฤศจิกายน 2567 | 263ชุมชนรังมดแดงสู่บ้านรำแดง(สิงหนคร)
20 ตุลาคม 2567 | 286ความทรงจำข้างกำแพงเมือง...182 แห่งการสถาปนาเมืองสงขลา(บ่อยาง)
20 ตุลาคม 2567 | 307