คติความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคที่เชื่อว่า “พญานาค” เป็นสัญลักษณ์ของการกำเนิดน้ำและความอุดมสมบูรณ์ ชาวใต้จึงนับถือพญานาคเป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์และกราบไหว้ขอพร เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตนับเป็นแหล่งการเรียนรู้ทาง วัฒนธรรมแห่งใหม่ที่เกิดขึ้นของชาวสงขลา ประติมากรรมพญานาค พ่นน้ำเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของ จังหวัดสงขลา
หากเดินทางมายังสงขลา หลายคนคงจะไม่พลาดให้กับสถาปัตยกรรมสวยงามของพญานาคพ่นน้ำ เคยเห็นแต่พญานาคพ่นไฟพอมาสงขลาจะเจอพญานาคพ่นน้ำคติความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคที่เชื่อว่า “พญานาค” เป็นสัญลักษณ์ของการให้น้ำ และความอุดมสมบูรณ์ ชาวใต้จึงนับถือพญานาคเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และกราบไหว้ขอพร
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต นับเป็นแหล่งการเรียนรู้ทาง วัฒนธรรมแห่งใหม่ที่เกิดขึ้นของชาวสงขลาประติมากรรมพญานาคพ่นน้ำ เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของ จังหวัดสงขลา มีลักษณะแบบลอยตัวสามารถมองเห็นได้รอบด้าน เนื้อวัตถุเป็นโลหะทองเหลืองรมสนิมเขียว ออกแบบโดย อาจารย์มนตรี สังข์มุสิกานนท์
มีการสร้างขึ้นเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่ง หัวพญานาค ตั้งอยู่บริเวณสวนสองทะเลปลายแหลมสนอ่อน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำตัว 1.20 เมตร ความสูงจากฐานลำตัวจนถึงปลายยอดสุด ประมาณ 9 เมตร พ่นน้ำลงสู่ปากอ่าวทะเลสาบสงขลา
ส่วนที่สอง สะดือพญานาค ตั้งอยู่บริเวณลานชมดาว สนามสระบัว แหลมสมิหลาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำตัว 1.20 เมตร ความยาว 5.00 เมตร ความสูง 2.50 เมตรลักษณะลำตัวโค้งครึ่งวงกลม เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ลอดใต้สะดือพญานาคให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง
ส่วนที่สาม หางพญานาค ตั้งอยู่บริเวณชายหาดสมิหลา ริมถนนสะเดาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.20 เมตร ความยาว 4.00 เมตร ความสูง 4.50 เมตรปัจจุบันประติมากรรมพญานาคพ่นน้ำได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เข้ามาเยี่ยมเยือน จังหวัดสงขลา
จะว่าไปแล้วก็เป็นสัญญาลักษณ์ของเมืองสงขลาเลย มองอีกมุมคล้ายๆกับตัวสิงโตพ่นน้ำของประเทศสิงคโปร์ ที่สำคัญในพื้นที่ใกล้กันจะมีพระบรมรูปกรมหลวงชุมพร ไว้ให้พวกเราได้สักการะเอาฤกษ์เอาชัยเมื่อมาเยือนเมืองสงขลา สำหรับพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเป็นต้นราชสกุล "อาภากร" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาโหมด พระองค์ทรงได้รับสมัญญานามว่า "องค์บิดาของทหารเรือไทย" นั่นเอง หากใครเดินทางมาสงขลายังไม่แวะจุดเช็คอินเหล่านี้ อาจจะเรียกว่ามาไม่ถึงเมืองสงขลาก็เป็นไปได้นะจ๊ะ
ข้อมูลเพิ่มเติม ปี พ.ศ. 2549 นายอุทิศ ชูช่วย นายกเทศมนตรีนครสงขลาได้ มีความคิดที่จะสร้าง นาค หรือ พญานาค เพื่อเป็นสิริมงคล และความเจริญรุ่งเรืองแก่เมืองสงขลา จึงให้อาจารย์มนตรี สังข์สิกานนท์ อาจารย์มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นผู้ดำเนินการ ออกแบบเป็นนาค หรือ พญานาค ได้ทำพิธีเปิด ปติมากรรมนาค หรือ พญานาค อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2550
ขอบคุณข้อมูล : bloggang/viewdiary , ขอบคุณภาพเพิ่มเติม museumthailand
ศาลาทวดสะบ้าย้อย ความศรัทธาสู่สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวสะบ้าย้อย
15 ธันวาคม 2567 | 43ที่มา...ชื่อบ้านสำนักขาม (สะเดา)
15 ธันวาคม 2567 | 47กุโบร์บ้านท่ายาง อดีตที่ตั้งค่ายทหารรัฐปัตตานี สถานที่ฝังศพทหารในสงครามปัตตานีกับกองทัพสยาม
15 ธันวาคม 2567 | 53ชุมชนตลาดปริก(สะเดา) ศูนย์กลางของตำบลในอดีตสมัยร.5
8 ธันวาคม 2567 | 185เปิดตำนานเจ้านางสีดอกไม้กับเจ้าเมืองหลาโต๊ะเมือง ณ บ้านนาทับ (สงขลา)
8 ธันวาคม 2567 | 402รู้จัก...จับปิ้ง อาภรณ์นุ่งห่มของเยาวสตรีในอดีต
8 ธันวาคม 2567 | 123รู้หรือไม่? หาดใหญ่ปรากฎชื่อครั้งแรกในบันทึกประวัติศาตร์มาเลเซีย ก่อนปรากฎในพงศาวดารของไทย
24 พฤศจิกายน 2567 | 703พาชมตราพระปรมาภิไธยย่อ(ภปร.) และตำนานน้ำตกฉัตรวาริน จ.นราธิวาส
24 พฤศจิกายน 2567 | 205