หลาย ๆ คน คงคุ้นเคยกับคำว่าทะเลสาบสงขลาดี แต่ในที่นี้จะมีใครสักกี่คนรู้ตำนานเรื่องราวความเป็นมาของทะเลสาบสงขลาแห่งนี้ ทะเลสาบสงขลา เป็นทะเลสาบแห่งเดียวในประเทศไทยที่อยู่ติดกันถึง 2 จังหวัด มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,000 ตารางกิโลเมตร ได้แก่ จังหวัดพัทลุง ในเขต อ.พัทลุง อ.ปากพะยูน อ.บางแก้ว อ.เขาชัยสน และอ.ควนขนุน ส่วนจังหวัดสงขลา ในเขตอ.ระโนด อ.สทิงพระ อ.กระแสสินธุ์ อ.สิงหนคร อ.เมืองสงขลา อ.ควนเนียง และยังได้รับการบันทึกไว้ว่า "ทะเลสาบสงขลา" เป็นทะเลแบบ "ลากูน" หนึ่งเดียวของประเทศไทย หนึ่งเดียวใน 117 แห่งทั่วโลก ลากูน Lagoon คือ แหล่งน้ำตื้น พบในบริเวณชายฝั่งทะเลที่แยกจากทะเลโดยการกั้นของเนินทรายซึ่งอาจจะเปิดออกสู่ทะเลเป็นระยะๆ ลากูนสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อแม่น้ำไหลลงสู่ทะเลโดยที่บางส่วนเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ (Estuary lagoon) หรือไม่มีผลจากแม่น้ำก็ได้
"ทะเลสาบสงขลา" เป็นทะเลสาบธรรมชาติแห่งเดียวในประเทศไทย มีความยาวจากปากน้ำไปทางทิศเหนือประมาณ 80 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ 20-25 กิโลเมตร ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบน้ำจืด แต่จะกร่อยในช่วงที่ติดกับทะเลอ่าวไทย ในเขต อ.เมืองสงขลา และทะเลสาบสงขลา จึงเป็นห้วงน้ำที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยกุ้งปลานานาชะนิด ทำการประมงกันอยู่ทั่ว ๆ ไป เช่น การดักโพงพาง ยอ และชีวิตชองชาวเมืองรอบ ๆ ทะเลสาบนอกจากการทำนา แล้ว ก็มี การทำประมงและสินค้าสำคัญที่เก็บเกี่ยวจากการทำประมงในทะเลสาบสงขลานี้ ส่งไปขายที่กรุงเทพฯหลายอย่าง เช่น กุ้งแห้ง กุ้งเสียบไม้ ข้าวเกรียบ กุ้ง ข้าวเกรียบปลา มันกุ้ง เคย หรือ กะปิ ฯลฯ จังหวัดสงขลา นอกจากทรัพยากรณ์ทางน้ำแล้วนั้น ทะเลสาบยังมีแหล่งเก็บรังนกนางแอ่น ไข่เต่า เกิดจากเกาะรังนกและริมบึงทะเลสาบรอบๆ บึงทะเลสาบมีธรรมชาติสวยสดงดงาม มีภูเขาใหญ่น้อยสลับซับซ้อน บ้างมีพรรณไม้เขียวขจี มีต้นมะพร้างขึ้นชุกชุมในทะเลสาบเกาะใหญ่ ๆ มีที่เที่ยวได้สนุก ทะเลสาบสงขลามีการกล่าวถึงมาตั้งแต่สมัยหลายร้อบปีมาแล้วตามบันทึก
ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งอาณาจักรอยุธยาจากหลักฐานแผนที่ราชอาณาจักรสยามของชาวฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.2229 บันทึกไว้ว่า บริเวณแหลมสทิงพระแห่งนี้ มีเกาะอยู่ด้วยกันทั้งหมด 5 เกาะ เกาะที่มีขนาดใหญ่สุด อยู่ทางตอนเหนือ ส่วนทางตอนใต้มีเกาะเล็ก ๆ อีก 4 เกาะ กระจัดกระจายกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2383 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีหลักฐานการเดินทางเป็นบันทึกปูมเรือของชาวอังกฤษ ขณะเดินทางผ่านน่านน้ำแถบนี้ ระบุไว้ว่า แล่นผ่านช่องแคบนครศรีธรรมราชและหมู่เกาะแทนทาลัม การเดินเรือค่อนข้างน่ากลัวเพราะเต็มไปด้วยโขดหิน แต่คนเดินเรือของเราเคยเดินทางผ่านมาแล้วด้วยเรือเล็ก เขาก็อาสานำเรือ ทิวทัศน์ทั้ง 2 ฟากแถบดูใหญ่โตมาก ทางฝั่งเมืองนครศรีธรรมราชเก่า ทิวเขาก็แสดงความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกัน คือ ทางยอดเขานั้นรู้สึกโล่งเตียน ไม่เหมือนทางต่ำกว่าที่อุดมสมบูรณ์ของแทนทาลัม นอกจากนี้ยังมีอ่าวเล็ก ๆ ของเมืองตาลุง (พัทลุง)
และต่อมาภายหลังระดับน้ำทะเลลดลงจนเกิดการทับถมของตะกอนและทรายตอนบนทำให้เกาะเล็กทั้ง 4 เกาะรวมกันเป็นเกาะใหญ่ เรียกว่า เกาะแทนทาลัม ต่อมาภายหลังลักษณะภูมิประเทศเปลี่ยนไป แผ่นดินของเกาะยื่นออกไปเชื่อมกับแผ่นดินตอนบนที่อยู่ทางนครศรีธรรมราช กลายเป็นทะเลสาบ ซึ่งดินแดนแถบทะเลสาบสงขลาในอดีตมีความเจริญทางการค้าและวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก อันเนื่องจากเป็นท่าเรือ เปิดรับชนชาติต่าง ๆ ทั้ง จีน, อินเดีย และอาหรับ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12-18 ก่อเกิดเป็นชุมชนต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนารายรอบ น้ำในทะเลสาบสงขลาได้รับน้ำจากทิวเขาบรรทัดและทิวเขาสันกาลาคีรีจากอำเภอสะเดา ทั้งหมดไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา ลุ่มน้ำในแถบนี้เรียกว่า "ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา" ทำให้ดินตะหอนที่พัดพามาทับถม ทำให้ดินและน้ำในเลสาบมีคุณภาพ เป็นทะเลสาบที่มีลักษณะของน้ำในทะเลสาบถึง 3 น้ำ คือ น้ำจืด , น้ำกร่อย และน้ำเค็ม มีแม่น้ำและคลองหลายสายที่ไหลเข้าสู่ทะเลสาบแห่งนี้ ทำให้น้ำมีการเปลี่ยนแปลงเสมอตามฤดูกาล โดยขึ้นอยู่กับกระแสน้ำในแม่น้ำสายต่าง ๆ ที่ไหลเข้าสู่ทะเลสาบ และกระแสน้ำทะเลหนุน จึงทำให้มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำอยู่ตลอดเวลา
หากเราดูทะเลสาบสงขลาตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ จัดได้ว่า เป็น ลากูน (Lagoon) หรือทะเลสาบที่อยู่ติดกับทะเล (อ่าวไทย) มีปากตอนล่างเปิดเข้าสู่อ่าวไทย คือ ทะเลน้อย เป็นช่วงต้นของทะเลสาบคาบเกี่ยวอยู่กับ 2 อำเภอ 2 จังหวัด อันได้แก่ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงและ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นทะเลสาบน้ำจืด มีพื้นผิวน้ำราว 30 ตารางกิโลเมตร เดิมทีน้ำในทะเลสาบแห่งนี้เป็นน้ำกร่อยเพราะมีการเจือปนของน้ำที่หนุนมาจากทะเลสาบสงขลาที่อยู่ทางต้านใต้ โดยผ่านคลอง 3 สาย คือ คลองนางเรียม, คลองยวน และคลองบ้านกลาง
สมัยก่อนมีการนิยมท่องเที่ยวทางทะเลสาบสงขลา นิยมใช้เรือใบการเที่ยวเรือใบ ในเมษายนหรือพฤษภาคม มีความในหนังสือท่องเที่ยว 2483 กล่าวไว้ว่า "คราวหน้านี้ ข้าพเจ้าคิดว่าจะชวนเพื่อนฝูงจากกรุงเทพฯประมาณ 30 คน ก็จะรวบรวมกัน ไปเที่ยวเกาะเที่ยวชมทะเลสาบ โดยอยู่ในเรือ 4 วัน เรือใบโดยสารนี้ใช้แบบเรือสำเภาขนาด 2 เสา ไม่โตเกินไปและไม่เล็กเกินไป พร้อมกับคนประจำเรือใบถือเป็นอัตตราที่ถูก การเที่ยวเรือใบเป็นการเที่ยวที่สนุก เหมาะในยามว่างจากการงาน แต่ลักษณะของผู้เที่ยวต้องมีนิสัยรักการผจญภัยอยู่บ้าง มีความอดทน คลื่น ลม ฝน บ้าง เป็นครั้งคราว สิ่งเหล่านี้เราอาจคาดฝันไม่ถึง และคลื่มลมเป็นสิ่งคาดคะเนกันไม่ได้แน่นอนว่าจะบังเกิดเมื่อใด ถ้ามีนิสัยไม่อดทนก็จะไม่เหมาะ การตระเตรียมเครื่องใช้ไม้สอยไม่มีอะไรมากก เครื่องแต่งกาย ถ้าให้สะดวกควรใส่กางเกงขาสั้น เสื้อโปโล หมวกกันแดด เสื้อเสวตเตอร์ ให้สวมรองเท้ายางเสื้อเชิตแชนยาวก็ได้ ถัดจากเครึ่องแต่งกายต้อง เตรียมหาเครื่องครัว พ่อครัวหรือเม่ครัวพร้อมเครื่องอุปกรณ์ ให้ครบครัน ส่วนสเบียงหาได้จากชุมชนรอบๆทะเลสาบ จุดหมายตั้งต้นจะเอา เกาะยอ เป็นจุดแรก ที่ชุมนมผ้าทอหัตถกรรมที่มีชื่อลือนาม จะได้เห็นสภาพของชาวเกาะผลไม้จากเกาะยอ รวมถึงมีสินค้าซึ่งมาจาก การประมง หลายอย่างเช่นกุ้งหวาน, กุ้งแห้ง กุ้งเสียบ, มันกุ้งและปลาเค็ม เพราะเลสาปสงขลาเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ที่ไหลมาจากพัทลุง นครศรีฯ มารวมกันที่สงขลา
โดยพื้นที่เลสาบพื้นน้ำกว้างใหญ่ สามารถไปได้เที่ยวชมวิววัวทัศน์ได้ถึงพัทลุง นครฯ จะได้ดูเกาะรังนก มองเห็นเกาะหมาก( เกาะสี่ เกาะห้า ไปถึงลำปำ "ปากยูน" โดยส่วนใหญ่ใครที่ได้ไปทะเลสาบสงขลา ก็จะไปเที่ยวตามเกาะต่างๆ มีเกาะอยู่-หลายเกาะที่สำคัญได้แก่ เกาะสี่ เกาะห้า เกาะหมาก (ตำบลเกาะหมาก) เกาะนางคำ (ตำบลเกาะนางคำ) และเกาะยอ (ตำบลเกาะยอ) มีสภาพทางนิเวศวิทยาที่หลากหลายเนื่องจากเป็นที่ไหลรวมจากต้นน้ำลำคลองเล็ก ๆ มากมายและยังมีทางออกสู่ทะเลอ่าวไทย ปริมาณและสภาพน้ำในทะเลสาบขึ้นอยู่กับน้ำจืดที่ไหลลงมาและน้ำเค็มจากทะเลหนุนเข้ามา
ซึ่งในฤดูน้ำหลากประมาณ เดือนพฤศจิกายน ถึงธันวาคมจะมีน้ำจืดไหลลงสู่ทะเลสาบจำนวนมากจึงไปผลักดันน้ำเค็มออกสู่อ่าวไทย ในช่วงนี้น้ำในทะเลสาบจะขุ่น และเป็นน้ำจืดแต่เมื่อถึงฤดูแล้งปริมาณน้ำจืดที่ไหลลงสู่ทะเลสาบจะมีน้อยน้ำเค็มจะไหลเข้ามาแทนที่ในช่วงนี้ น้ำในทะเลสาบ จะกร่อยจึงเป็นทะเลสาบที่มีลักษณะของน้ำในทะเลสาบถึง 3 น้ำ คือ น้ำจืด, น้ำกร่อย และน้ำเค็ม ความสำคัญของลุ่มน้ำทะเลสาป มีหลากหลายมิติ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและยังคงความอุดมสมบูรณ์ทั้งในแง่มิติสังคม และมิติธรรมชาติให้เราได้ค้นพบอยู่ตลอดเวลา
ขอบคุณภาพข้อมูล : พินิจนคร: ทะเลสาบสงขลา ๑ มรดกแห่งหัตถศิลป์บนด้ามขวาน อดีตเก่ากาลเล่าขานตำนานโนรา คุณ Aey Sungsuwan
เหตุอัศจรรย์ระหว่างการก่อสร้าง ธรรมสถานพระโพธิสัตว์กวนอิม (เขาเทียมดา)
12 มกราคม 2568 | 59เปิดตำนาน...ปู่เจ้าเขาเขียวแห่งสิงหนคร
12 มกราคม 2568 | 68ในหลวงรัชกาลที่9 กับการพัฒนาจังหวัดสงขลา
12 มกราคม 2568 | 73ย้อนประวัติจวนเจ้าเมืองสงขลา สมัยธนบุรี - รัตนโกสินทร์
5 มกราคม 2568 | 148พาชมพระสยามเทวาธิราชจำลอง 1 ใน 5 หัวเมือง ประดิษฐานอยู่ที่ ต.ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา
5 มกราคม 2568 | 129คนสงขลากับความเชื่อเรื่องทวด ที่ปรากฎในโองการทวดอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์จังหวัดสงขลา
5 มกราคม 2568 | 159ศาลาทวดสะบ้าย้อย ความศรัทธาสู่สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวสะบ้าย้อย
15 ธันวาคม 2567 | 264ที่มา...ชื่อบ้านสำนักขาม (สะเดา)
15 ธันวาคม 2567 | 239