วันนี้ 9 ธ.ค. 67 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(รมว.ทส.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกิดสถานการณ์หญ้าทะเลเสื่อมโทรมในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งแหล่งอาศัยหลักของพะยูนในประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดตรัง ซึ่งถือเป็นเมืองหลวงของพะยูน ส่งผลกระทบทำให้พะยูนเกิดภาวะขาดแคลนอาหารและต้องอพยพไปยังพื้นที่ใหม่
ดังนั้น ทส.จึงเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยกำหนด 4 มาตรการ เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติพะยูนเกยตื้นและหญ้าทะเลเสื่อมโทรม ประกอบด้วย
1. เร่งเพิ่มประสิทธิภาพการสำรวจประชากรพะยูนด้วยอากาศยานไร้คนขับชนิดปีกตรึง (Fixed-wings Unmanned Aerial Vehicle: Fixed-wings UAV) และแบบสำรวจการพบเห็นพะยูนให้เป็นปัจจุบัน เพื่อให้ทราบจำนวน พื้นที่การแพร่กระจายที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงสำรวจสุขภาพของพะยูนแต่ละตัวว่ามีความสมบูรณ์ หรือมีอาการป่วย เพื่อหามาตรการช่วยเหลือไม่ให้พะยูนตายจากการขาดอาหาร
2. หาแนวทางประกาศพื้นที่คุ้มครองและบังคับใช้มาตรการ ซึ่งจะเป็นการป้องกันอันตราย จากการประกอบกิจกรรมในทะเล ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อพะยูนที่เข้ามาอาศัย จะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การออกประกาศพื้นที่คุ้มครองพะยูนชั่วคราว ซึ่งคาดว่าจะประกาศ 3 จุด ประกอบด้วย หน้าหาดราไวย์ อ่าวบางโรง และอ่าวบางขวัญ ซึ่งเป็นจุดที่พบพะยูนจำนวนมาก โดยจะต้องมีการหารือในรายละเอียดกับภาคส่วนต่างๆ อีกครั้ง ก่อนที่จะมีการประกาศออกไป
3. ค้นหาและช่วยเหลือพะยูนที่ยังมีชีวิตและอ่อนแอ โดยเร่งฟื้นฟูแหล่งอาหาร ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้พะยูนอพยพย้ายถิ่น ตลอดจนกำหนดแผนงานในระยะเร่งด่วนที่จะเพิ่มอาหารให้กับพะยูนในธรรมชาติ และดูแลพะยูนที่ผอมเป็นพิเศษโดยการเสริมอาหารทดแทนหญ้าทะเลในธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดตรัง และจังหวัดภูเก็ต รวมถึงศึกษาแนวทางการกั้นคอกเพื่อดูแลพะยูนที่มีสภาพร่างกายอ่อนแอในธรรมชาติ พร้อมทั้งพัฒนาและเตรียมความพร้อมของศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากจังหวัดตรัง และศูนย์ช่วยชีวิตสิรีธาร จังหวัดภูเก็ต
4. เตรียมบ่อกุ้งร้างหรือสถานที่เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์หญ้าทะเลร่วมกับภาคเอกชนและชุมชน พร้อมทั้งเร่งศึกษานวัตกรรมการฟื้นฟูหญ้าทะเลในธรรมชาติ พร้อมกันนี้ ได้มอบหมายให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมพิทักษ์พะยูน ทส. พร้อมเสนอของบกลางประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เป็นจำนวนเงิน 615,163,000 บาท เพื่อใช้ในการดำเนินงานกิจกรรมอนุรักษ์พะยูนและแหล่งหญ้าทะเล
ในปีงบประมาณ 2567 (1 ตุลาคม 2566 – 30 กันยายน 2567) สำรวจพบพะยูนประมาณ 267 ตัว โดยพื้นที่ฝั่งอ่าวไทยพบประมาณ 36 ตัว และพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันพบประมาณ 231 ตัว แบ่งเป็นกลุ่มประชากรย่อยได้ 13 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) บริเวณเกาะลิบง เกาะมุก และอ่าวสิเกา จังหวัดตรัง 2) เกาะศรีบอยา เกาะปู เกาะจำ และอ่าวนาง จังหวัดกระบี่ 3) เกาะยาวน้อย เกาะยาวใหญ่ อ่าวพังงา จังหวัดพังงา อ่าวป่าคลอก จังหวัดภูเก็ต 4) เกาะลิดี เกาะสาหร่าย จังหวัดสตูล 5) เกาะพระทอง จังหวัดพังงา 6) หมู่เกาะกรูด จังหวัดตราด 7) อ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี ปากน้ำประแส จังหวัดระยอง 9) อ่าวสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 10) อ่าวทุ่งคาสวี จังหวัดชุมพร 11) อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 12) อ่าวปัตตานี จังหวัดปัตตานี และ 13) อ่าวเตล็ด จังหวัดนครศรีธรรมราช ในระหว่างวันที่ 28 – 30 ตุลาคม 2567 ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ทำการสำรวจทางอากาศโดยวิธีการสำรวจทางอากาศ (Aerial Survey) บริเวณแนวชายฝั่งทะเลจังหวัดตรัง ได้แก่ เกาะลิบง เกาะเหลาเหลียง อ่าวขาม อ่าวบุญคง บ้านปากคลอง แหลมมะขาม แหลมไทร เกาะสุกร และหมู่เกาะใกล้เคียงพื้นที่จังหวัดตรัง ผลการสำรวจพบพะยูนที่บริเวณเกาะลิบงจำนวน 3 ตัว โดยพบที่บริเวณแหลมจูโหย และพบบริเวณบ้านปากคลอง – แหลมมะขาม จำนวน 2 ตัว และจากข้อมูลจากเครือข่ายบริเวณเกาะลิบงมีการรายงานการพบเจอพะยูนรอบเกาะลิบง จำนวน 9 ตัว ทั้งนี้ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจำเป็นต้องทำการสำรวจเพิ่มเติมเพื่อนำมาคำนวณประชากรพะยูนในพื้นที่ต่อไป
สถานการณ์พะยูนเกยตื้น ในปี พ.ศ. 2567 (1 มกราคม – 5 ธันวาคม 2567) พบพะยูนเกยตื้นทั้งหมด 41 ตัว เฉลี่ย 3.42 ตัว/เดือน โดยเดือนที่พบการเกยตื้นสูงสุดคือเดือนตุลาคม โดยพบพะยูนเกยตื้นจานวน 10 ตัว และพบว่าจังหวัดตรังมีการเกยตื้นสูงสุด (17 ตัว) รองลงมาคือจังหวัดกระบี่ (12 ตัว) พังงา ภูเก็ต สตูล (พื้นที่ละ 4 ตัว)
วันที่ 3 ธันวาคม 2567 พบพะยูนเกยตื้นในพื้นที่ทะเลอันดามันตอนล่าง จานวน 3 ตัว ดังนี้
ตัวที่ 1 พบบริเวณเกาะมุกด์ ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง เป็นพะยูน เพศผู้ สภาพซากสด อยู่ในช่วงวัยรุ่น พะยูนผอม พบความผิดปกติที่บริเวณหัวใจ ปอด ตับอ่อน ซึ่งแสดงว่าพะยูนป่วยเรื้อรังก่อนตาย สาเหตุการตายเนื่องจากการป่วยตามธรรมชาติ
ตัวที่ 2 พบบริเวณอ่าวน้าเมา ต.ไสไทย อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่ เป็นพะยูน เพศผู้ สภาพซากเริ่มเน่า อยู่ในช่วงโตเต็มวัย พบความผิดปกติที่บริเวณหัวใจ ปอด ม้าม ตับอ่อนและระบบทางเดินอาหาร อ่อน ซึ่งแสดงว่าพะยูนป่วยเรื้อรังก่อนตาย สาเหตุการตายเนื่องจากการป่วยตามธรรมชาติ
ตัวที่ 3 พบบริเวณร่องน้ำกันตัง อ.กันตัง จ.ตรัง เป็นพะยูน เพศผู้ สภาพซากเน่า อวัยวะส่วนใหญ่เน่าทาให้ไม่สามารถความผิดปกติได้ จึงทาให้ไม่สามารถระบุสาเหตุการตายได้
สาเหตุการเกยตื้น ในปี พ.ศ. 2567 (1 มกราคม – 5 ธันวาคม 2567) พบพะยูนเกยตื้นทั้งหมด 41 ตัว เป็นการเกยตื้นแบบเสียชีวิต 36 ตัว (ร้อยละ 88) และพะยูนเกยตื้นมีชีวิต 5 ตัว (ร้อยละ 12) ซึ่งสามารถช่วยเหลือและปล่อยคืนสู่ธรรมชาติได้สำเร็จ 3 ตัว (ร้อยละ 60 จากจำนวนพะยูนเกยตื้นมีชีวิต) โดยมีการเกยตื้นของพะยูนที่ไม่สามารถระบุสาเหตุการตายได้เนื่องจากสภาพซากเน่า 14 ตัว (ร้อยละ 34) และที่สามารถระบุสาเหตุได้ 27 ตัว (ร้อยละ 66) สาเหตุการเกยตื้นจากจำนวนที่สามารถระบุได้ พบว่าพะยูนมีการเกยตื้นจากสาเหตุการป่วยเป็นส่วนใหญ่ 16 ตัว (ร้อยละ 59) มีสาเหตุจากเครื่องมือประมง 4 ตัว (ร้อยละ 15) พลัดหลงจากฝูง 3 ตัว (ร้อยละ 11) ป่วยเนื่องจากขาดอาหาร 2 ตัว (ร้อยละ 7) และจากสาเหตุอื่นๆ รวม 2 ตัว (ร้อยละ 7) โดยอัตราการเกยตื้นจากสาเหตุการพบพะยูนเกยตื้นแบบมีชีวิต 5 ซึ่งมีอัตรารอดชีวิตจากการช่วยเหลือ ร้อยละ 60
ภาคใต้ | กรมอุตุเตือนพายุปลาบึก กระทบไทย 25-26 ธ.ค. 67
24 ธันวาคม 2567 | 4,514สทิงพระ | ชาวบ้านพบเต่าทะเลเกยตื้นมีชีวิต 3 ตัว
23 ธันวาคม 2567 | 3,873สงขลา l ยกเลิกโครงการกำเเพงกันคลื่น รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
20 ธันวาคม 2567 | 4,347สทิงพระ | กลุ่ม Beach for life ชวนลงชื่อสนับสนุนฟ้องคดีปกครอง
16 ธันวาคม 2567 | 4,775สงขลา | เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง 5 อำเภอ
16 ธันวาคม 2567 | 5,033สงขลา | เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ภาคใต้ช่วงวันที่ 12 –
10 ธันวาคม 2567 | 5,393สงขลา | ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกคลื่นลมแรง (วันที่
9 ธันวาคม 2567 | 4,735สงขลา | เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้วันที่ 5
3 ธันวาคม 2567 | 5,229