เราภูมิใจที่เกิดมาเป็นคนสงขลา เมืองสองทะเลที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่และยาวนาน วันนี้มีโอกาสได้ไปเยี่ยมเยือนชุมชนแหลมสน อำเภอสิงหนคร อดีตพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นเมืองสงขลามาก่อน (ประมาณ พ.ศ.2223 - 2380) โดยผู้คนอพยพหนีตาย จากเหตุกาณ์กองทัพกรุงศรีอยุธยาตีเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาตอนปี พ.ศ. 2223 เมืองแห่งนี้ก็มีอายุได้ไม่มากมายนัก ต้องย้ายเมืองไปฝั่งบ่อยาง (พ.ศ.2385) เนื่องจากพื้นที่บริเวณแหลมสนคับแคบ และปราศจากน้ำดื่มอุปโภคบริโภค
ผ่านมาเกือบ 300 ปี นับตั้งแต่เมืองสงขลาย้ายจากฝั่งแหลมสนไปยังฝั่งบ่อยาง บรรยากาศดูเงียบเหงา วิถีชีวิตของผู้คนบริเวณนี้ เรียกได้ว่าเป็นหมู่บ้านชาวประมง อยู่กันอย่างเรียบง่ายสบายๆ ผมขับมอไซค์เวียนรอบชุมชน 2-3 รอบ ก็สังเกตเห็นว่ามีสุสานชาวต่างชาติ ทั้งชาวจีน ชาวมุสลิม และชาวคริสต์ ตลอดสองข้างทาง แต่ที่สะดุดตาที่สุด คงจะหนีไม่พ้นหลักสีเหลี่ยมสีดำ ที่ตั้งอยู่ริมถนนบริเวณซุ้มประตูบ่อเก๋งนั่นเอง
มองทีแรกคิดว่าเป็นหลักกิโลอะไรสักอย่าง มองดูใกล้ๆ อีกที...ตกใจ !! นั่นมันป้ายหลุมศพคนคริสต์นี่หว่า ทำไมมาอยู่อะไรตรงนี้ (ห่างกับพื้นถนนไม่ถึงเมตร) มีชื่อกำกับ "V.J. LARSEN" มีกำกับประเทศว่า "เดนมาร์ก" อีกทั้งมีคำว่า "Maskinmester" คำๆ นี้เราได้ไปหาความหมาย ปรากฏว่าไม่พบว่ามันแปลว่าอะไร แต่ไปเจอบันทึกของชาวสแกนดิเนเวียคนหนึ่งนิยามคำศัพท์นี้ไว้ว่า "Master Engineer" นั่นหมายความว่าชายคนนี้มีอาชีพเป็น "หัวหน้าช่างวิศวกร" โดยชายคนนี้เกิดในปี ค.ศ.1875 ณ ประเทศเดนมาร์ก และมาเสียชีวิตที่ "Singora" ชื่อเมืองสงขลา (เดิม) ในปี ค.ศ.1909 นั่นคือหัวหน้าช่างคนนี้เสียชีวิตตอนอายุ 34 ปี (พ.ศ.2418 - 2452) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ซึ่งในตอนนั้นสงขลาย้ายเมืองไปยังบ่อยางแล้ว
มีหลักฐานอีกชิ้นหนึ่ง...ที่บ่งบอกว่าแท่นหินสีดำอันนี้ถูกเคลื่อนย้าย ภาพถ่ายจากเดือนธันวาคม ค.ศ.2010 แสดงให้เห็นว่า แต่เดิมแท่นหินนี้ตั้งอยู่ในป่าละเมาะที่ไหนสักแห่ง แต่ชาวบ้านอาจรุกล้ำเข้าไปสร้างบ้านหรือทำสวน จึงทำการเคลื่อนย้ายหินอันนี้ แต่ลองวิเคราะห์ดูแล้ว ว่ามันน่าจะตั้งอยู่ที่เดิมเหมือนปัจจุบัน เนื่องจากแต่ก่อนยังไม่มีการพัฒนา ไม่มีการสร้างถนนหนทาง ก็เป็นไปได้ว่าพื้นที่บริเวณนี้ อาจจะเคยเป็นป่าละเมาะมาก่อน อีกทั้งเมื่อมองดูการเอนเอียงของแท่นหิน จากภาพเมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว กับปัจจุบัน มีความคล้ายคลึงกันมาก
(บน) ภาพถ่ายปี ค.ศ. 2010 (ล่าง) ปัจจุบัน ค.ศ.2018
ชายคนนี้มาทำอะไรที่ฝั่งแหลมสน ? เป็นไปได้หรือไม่ว่าชายผู้นี้คือ หัวหน้าช่างในอู่ต่อเรือ หรือ หัวหน้าช่างวิศวกรบนเรือบรรทุกสินค้า ที่เดินเรือมาค้าขายที่เมืองสงขลา แล้วเขาตายได้อย่างไร ? จากอายุของชายผู้นี้เขาเสียไปตั้งแต่อายุ 34 ปี ซึ่งถือว่ายังหนุ่มยังแน่น เป็นไปได้หรือไม่ ที่ชายคนนี้อาจตายจากโรคที่ระบาดในยุคนั้น จากการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโรคระบาดที่เกิดขึ้น ในแถบลุ่มทะเลสาบสงขลาสมัยรัชกาลที่ 6 พบว่า ช่วงนั้นเป็นช่วงระบาดของไข้อหิวาตกโรคและไข้ทรพิศย์ ซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนทั้งในสงขลา นครศรีธรรมราช และพัทลุง เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีประเด็นของงูพิษที่ฉุกชุมเป็นอย่างมากในยุคนั้น (งานวิจัยมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง ชุมโจรแห่งลุ่มทะเลสาบสงขลา 2546)
ทุกวันนี้แท่นหินที่เป็นอนุสรณ์แห่งนี้ ยังคงตั้งอยู่ท่ามกลางทุ่งหญ้าโล่งริมถนน บริเวณเมืองเก่าสงขลา (แหลมสน) ตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวและเงียบเหงา ผมมองแล้วรู้สึกหดหู่ใจอย่างบอกไม่ถูก แต่แท่นหินนี้ก็เป็นเหมือนเครื่องยืนยันว่า สงขลาเป็นเมืองใหญ่ เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักของชาวตะวันตกและชาวโลกอย่างแท้จริง
ศาลาตาเล่อเท่อ ที่พึ่งของชาวบ้านเมื่อของสำคัญสูญหาย
27 เมษายน 2568 | 42จากอดีตบ้านทุ่งเหม็นขี้ สู่บ้านทุ่งขมิ้น(นาหม่อม)
27 เมษายน 2568 | 48บุกป่าหาน้ำตกลับ...น้ำตกโตนหน้าผี ณ เขาพระ อ.รัตภูมิ
27 เมษายน 2568 | 111ศาลเจ้าแม่กวนอิมสวนหมาก ศาลเจ้าแห่งแรกที่ริเริ่มทำโรงทานเจในสงขลา
20 เมษายน 2568 | 213พาชม...บ้านขุนตระการตะเครียะเขต บ้านเก่าโบราณนับร้อยปี "บ้าน 108 เสา"
30 มีนาคม 2568 | 812รู้หม้ายว่า? สงขลาเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด
30 มีนาคม 2568 | 609เปิดตำนานความเชื่อ พ่อปู่ภุชงค์-แม่ย่าทองคำ วัดโคกเปี้ยว สงขลา
30 มีนาคม 2568 | 470ศาลเจ้าพ่อทวดหมอน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ตำบลคูขุด อ.สทิงพระ
2 มีนาคม 2568 | 791