มองขึ้นไปเหนือตึกราบ้านช่องเมืองหาดใหญ่ มองทุกครั้งก็จะเหลือบไปเห็นภูเขาคูเมืองหาดใหญ่อย่าง "เขาคอหงส์" พื้นที่ปอดของเมืองหาดใหญ่ ตรงบริเวณกลางภูเขาปรากฏรูปปั้นสีขาวๆ รูปปั้นที่อยู่คู่หาดใหญ่มาเนิ่นนาน นั่นคือ "เจ้าแม่กวนอิม" เหนือขึ้นไปจากรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิม เป็นที่ประดิษฐานขององค์พระสีทององค์ใหญ่ ที่หลายๆคนมักจะเรียกกันว่า "พระพุทธรูปประจำเมืองหาดใหญ่" หรือชื่อเต็มๆว่า "พระพุทธมงคลมหาราช" ว่ากันว่าพระพุทธรูปสีทององค์นี้เป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้ สร้างขึ้นด้วยจิตศรัทธาของพี่น้องประชาชนทั้งชาวไทยและต่างชาติ โดยวัตถุประสงค์การสร้างพระพุทธรูปทองเหลืององค์นี้ ก็เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา (พ.ศ.2542) พระพุทธรูปปางห้ามญาติองค์นี้มีความสูงถึง 19.90 เมตร ออกแบบโดย ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ผู้เป็นศิลปินแห่งชาติ
เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2542 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานนามของพระพุทธรูปว่า "พระพุทธมงคลมหาราช" หมายความว่า ความเป็นสิริมงคลอันยิ่งใหญ่ โดยมีสมเด็จพระญารสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังคปรินายก เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเททองพระหัตถ์พระพุทธมงคลมหาราช ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2543 ต่อสมเด็จพระเทพฯ เสด็จทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระเกตุมาลา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2543 ณ เขาคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่
ต่อมาในหลวงรัชกาลที่ 9 มีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ ตราสัญลักษณ์งานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษ 6 รอบ (5 ธ.ค.52) ประดิษฐาน ณ ฐานพระพุทธมงคลมหาราช และในทุกวันนี้ "พระพุทธมงคลมหาราช" ยังคงตั้งตระหง่านอยู่ ณ เขาคอหงส์ หันพระพักต์เข้าสู่เมืองหาดใหญ่ คอยคุ้มครองประชาชนชาวหาดใหญ่ตลอดมา และกลายเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองหาดใหญ่ที่สำคัญอีกองค์หนึ่ง
ย้อนอดีตในการสร้างพระพุทธมงคลมหาราช
ศาลาทวดสะบ้าย้อย ความศรัทธาสู่สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวสะบ้าย้อย
15 ธันวาคม 2567 | 104ที่มา...ชื่อบ้านสำนักขาม (สะเดา)
15 ธันวาคม 2567 | 107กุโบร์บ้านท่ายาง อดีตที่ตั้งค่ายทหารรัฐปัตตานี สถานที่ฝังศพทหารในสงครามปัตตานีกับกองทัพสยาม
15 ธันวาคม 2567 | 115ชุมชนตลาดปริก(สะเดา) ศูนย์กลางของตำบลในอดีตสมัยร.5
8 ธันวาคม 2567 | 214เปิดตำนานเจ้านางสีดอกไม้กับเจ้าเมืองหลาโต๊ะเมือง ณ บ้านนาทับ (สงขลา)
8 ธันวาคม 2567 | 445รู้จัก...จับปิ้ง อาภรณ์นุ่งห่มของเยาวสตรีในอดีต
8 ธันวาคม 2567 | 162รู้หรือไม่? หาดใหญ่ปรากฎชื่อครั้งแรกในบันทึกประวัติศาตร์มาเลเซีย ก่อนปรากฎในพงศาวดารของไทย
24 พฤศจิกายน 2567 | 731พาชมตราพระปรมาภิไธยย่อ(ภปร.) และตำนานน้ำตกฉัตรวาริน จ.นราธิวาส
24 พฤศจิกายน 2567 | 230