"ภาษาใต้" เป็นหนึ่งในภาษาไทยที่มีมนต์เสน่ห์น่ารักๆบางอย่าง แอบแฝงอยู่ในแต่ละถ้อยคำที่เปล่งออกมา แต่ภาษาใต้เป็นภาษาที่ไม่มีภาษาเขียนตายตัว โดยเป็นภาษาที่ใช้กันในภาคใต้ของประเทศไทย นับตั้งแต่ชุมพรลงไปจรดชายแดนใต้ บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เอง ทุกวันนี้ก็ยังคงใช้ภาษาใต้กันอยู่ (ปัจจุบันประจวบฯอยู่ภาคกลาง) ชุมชนในพื้นที่ประเทศมาเลเซีย ตรงส่วนที่เคยเป็นเขตปกครองของประเทศไทย โดยเฉพาะส่วนของชุมชนไทรบุรี รัฐเคดาห์ ก็ยังคงมีการใช้ภาษาใต้อยู่เช่นเดียวกัน แต่ใครจะรู้ว่าภาษาใต้นั้น ได้มีการจำแนกภาษาใต้ออกเป็น 5 กลุ่มด้วยกัน
1.ภาษาถิ่นใต้สงขลา
ภาษาใต้สำเนียงสงขลา เป็นสำเนียงใต้ที่คนใต้จังหวัดอื่นๆ มักจะมองว่าพูดแปลกๆ ซึ่งภาษาใต้ที่พูดในจังหวัดสงขลา และบางส่วนของจังหวัดยะลาและปัตตานี โดยภาษาใต้ในกลุ่มแรกนี้จะมีลักษณะเด่น คือ หางเสียงจะห้วน แต่จะค่อยๆเบาเสียงลงไป ทำให้ภาษาใต้กลุ่มนี้ ฟังแล้วดูไม่หยาบกระด้างและแข็งจนเกินไป นอกจากนี้ยังมีคำสร้อยที่โด่งดัง ที่กลายเป็นเอกลักษณ์เด่นของจังหวัดสงขลาอย่างคำว่า "กะเบอะ" ซึ่งมีความหมายในภาษาไทยมาตรฐาน แปลว่า เพราะว่า ก็เพราะว่า อีกทั้งยังมีคำว่า "ไม่หอน" ซึ่งแปลว่า "ไม่เคย" อีกด้วย
2.ภาษาถิ่นใต้ตะวันออก (นครศรีธรรมราช)
พูดง่ายๆคือภาษาใต้ที่ใช้ทั่วไป ส่วนมากจะใช้กันในจังหวัดที่อยู่ทางฝั่งทะเลอ่าวไทย บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี รวมทั้งจังหวัดตรัง และสตูล ภาษาถิ่นใต้ตะวันออกนี่จะออกเสียงตัวสะกด ก ไก่ ได้ชัดเจน ไม่มีผิดเพี้ยน
3.ภาษาถิ่นใต้ตะวันตก
ภาษาไทยถิ่นใต้กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะพูดกันทั่วไปในฝั่งทะเลอันดามัน บริเวณพื้นที่จังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฏร์ธานี และชุมพร โดยสังเกตง่ายๆ จากการออกเสียงคำว่า "สี่แยก" เป็น "สี่แยะ" หรือคำว่า "กินยา" เป็น "กินหญ้า" แอดฟังคนภูเก็ตพูดแรกๆ ก็ยืนเกาหัวนิดหน่อยไม่รู้เขาพูดอะไร ต้องให้อธิบายอยู่ซักพักใหญ่ แต่พื้นที่บางส่วนของนครศีธรรมราช อาทิ บ้านฉวาง บ้านพิปูน บ้านทุ่งใหญ่ ก็ใช้ภาษาใต้กลุ่มนี้อยู่
4.ภาษาถิ่นใต้เจ๊ะเห
ภาษาใต้สำเนียงตากใบ เป็นภาษาถิ่นใต้ที่พูดอยู่ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และบางส่วนของจังหวัดปัตตานี รวมทั้งในเขตรัฐกลันตันของประเทศมาเลเซีย โดยในหมู่บ้านที่พูดภาษาไทย ก็มักจะใช้สำเนียงใต้กลุ่มนี้พูดกัน
5.ภาษาถิ่นใต้พิเทน
ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงพิเทน เป็นภาษาถิ่นย่อยของภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบที่ใช้อยู่ในตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง และตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี ปัจจุบันคนในตำบลพิเทนพูดภาษาไทยถิ่นพิเทนน้อยลง ส่วนมากจะใช้ภาษามลายูปัตตานีในชีวิตประจำวัน ตามความนิยมของผู้ใช้ภาษาส่วนใหญ่ ผู้ที่สามารถใช้สำเนียงพิเทนได้ดีคือผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป อายุน้อยกว่านี้บางคนไม่ยอมพูดภาษาของตน หรือพูดได้ก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร โดยภาษาพิเทนมีการใช้คำยืม และคำที่ใช้ร่วมกันกับภาษามลายูปัตตานีถึงร้อยละ 97
CR: Wikipedia / siamsouth
เรียบเรียง: หาดใหญ่โฟกัส
ย้อนเหตุการณ์...พิธีสมรสหมู่ ณ เมืองพัทลุง
10 พฤศจิกายน 2567 | 112ตามรอย 3 โรงสี เมืองสงขลา(บ่อยาง)
10 พฤศจิกายน 2567 | 128อีก 1 ตำนานเมืองหาดใหญ่ ตลาดสันติสุข-แผงทอง สวรรค์ของนักช็อปตัวยง
10 พฤศจิกายน 2567 | 165นกกรงหัวจุก สัตว์เลี้ยงคู่ใจของชาวปักษ์ใต้
3 พฤศจิกายน 2567 | 214ย้อนรอยโบราณ วัดโรงน้อยขึ้นพะโคะ สู่วัดโรง อ.กระแสสินธุ์
3 พฤศจิกายน 2567 | 193ตำนานแห่งสายน้ำ...การแข่งขันประเพณีเรือยาว (บางกล่ำ)
3 พฤศจิกายน 2567 | 202ชุมชนรังมดแดงสู่บ้านรำแดง(สิงหนคร)
20 ตุลาคม 2567 | 239ความทรงจำข้างกำแพงเมือง...182 แห่งการสถาปนาเมืองสงขลา(บ่อยาง)
20 ตุลาคม 2567 | 242