วันนี้ HatyaiFocus ขอแนะนำเมนูบ้าน ๆ หากินง่าย อีกเมนูหนึ่งที่เชื่อว่าผู้อ่านหลาย ๆ คน คงเคยลิ้มรสและอาจมีไว้ติดครัว เมนูที่ว่ามานี้ คือ ปลาฉิ้งฉ้าง
“ปลาฉิ้งฉั้ง หรือ ฉิ้งฉ้าง” มักนิยมทำปลาแห้งหรืออบกรอบ เป็นปลาที่ทำมาจาก “ปลากะตัก” ตัวเล็ก ๆ เป็นปลาทะเลขนาดจิ๋ว ยาวไม่เกิน 10 ซม. มีอายุประมาณ หนึ่งปีถึงสองปีเท่านั้น แต่เป็นปลาที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก จึงมีการนำมาใช้ประโยชน์จากปลาชนิดนี้ 2 ทางด้วยกัน คือ นำไปเป็นวัตถุดิบในการทำน้ำปลาและทำปลาตากแห้งขายทั่วไป ทั้งในและต่างประเทศ สำหรับในตลาดท้องถิ่นอาจนำมาหมัก ทำบูดู จิ้งจัง ขายอีกส่วนหนึ่งด้วย
สาเหตุที่ชาวบ้านประกอบอาชีพการทำปลากกะตักแห้ง เนื่องจากมีการส่งเสริมและนิยมทำปลา “กะตักแห้ง” เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2535 เพราะเดิมปลากะตัก จะมีมากทางฝั่งทะเลตะวันตก เช่น ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง ระนอง แต่ช่วงหลังมีการจับ ปลากะตัก ทางทะเลตะวันออกกันมาก
“ปลาฉิ้งฉ้าง” มีทั้งแบบทอด และยังไม่ทอด หากจะซื้อแบบที่ยังไม่ทอด ขอแนะนำให้ซื้อปลาที่แกะเป็นซีกแล้วหรือที่เป็นเป็นปลาครึ่งตัวนั่นแหละ อย่าเข้าใจผิดว่าเป็นเศษปลา ที่จริงแล้วเป็นปลาที่คนขายแกะหัวกับไส้ออก เพราะส่วนหัวจะแข็ง ส่วนไส้ปลามีรสขมกินไม่อร่อย ราคาจะแพงกว่าเล็กน้อย แต่กลับถึงบ้านแล้วทอดกินได้ทันที
ปลาฉิ้งฉ้างกินกับข้าวสวยร้อน ๆ กินข้าวต้มก็ได้ หรือจะยำกินก็เข้าที ส่วนปลาที่ทอดแล้วมีทั้งแบบธรรมดาและแบบทรงเครื่องซึ่งปรุงรสให้หวาน เผ็ดเล็กน้อย กินเป็นกับข้าวหรือกับแกล้มก็ถูกปาก บอกได้เลยว่าอาหารชนิดนี้ หากใครไม่เคยลิ้มรส คงเป็นเรื่องน่าเสียดายไม่น้อยเลยทีเดียว
ขอบคุณภาพจาก : รักบ้านเกิด,พันทิป ,Phuket Live
เรียบเรียง : HatyaiFocus
ย้อนเหตุการณ์...พิธีสมรสหมู่ ณ เมืองพัทลุง
10 พฤศจิกายน 2567 | 112ตามรอย 3 โรงสี เมืองสงขลา(บ่อยาง)
10 พฤศจิกายน 2567 | 130อีก 1 ตำนานเมืองหาดใหญ่ ตลาดสันติสุข-แผงทอง สวรรค์ของนักช็อปตัวยง
10 พฤศจิกายน 2567 | 166นกกรงหัวจุก สัตว์เลี้ยงคู่ใจของชาวปักษ์ใต้
3 พฤศจิกายน 2567 | 215ย้อนรอยโบราณ วัดโรงน้อยขึ้นพะโคะ สู่วัดโรง อ.กระแสสินธุ์
3 พฤศจิกายน 2567 | 193ตำนานแห่งสายน้ำ...การแข่งขันประเพณีเรือยาว (บางกล่ำ)
3 พฤศจิกายน 2567 | 202ชุมชนรังมดแดงสู่บ้านรำแดง(สิงหนคร)
20 ตุลาคม 2567 | 240ความทรงจำข้างกำแพงเมือง...182 แห่งการสถาปนาเมืองสงขลา(บ่อยาง)
20 ตุลาคม 2567 | 242