ทุกสิ่งมีจุดเริ่มต้น..ฉลองวาระที่มหาวิทยาลัยทักษิณจะครบรอบ 50 ปี ในวันที่ 1 ตุลาคม 2560 (แม้จะอีกหลายเดือนก็ตาม) HatyaiFocus ถือโอกาสที่พี่น้องร่วมสถาบัน ทยอยเปลี่ยนรูปโปรไฟล์เฟซบุ๊กฉลองครบ 50 ปี ของมหาวิทยาลัย พาทุกคนมาย้อนเสี้ยวประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทักษิณกัน ว่าอดีตกับปัจจุบันแตกต่างกันยังไง
ประกาศเปิดวิทยาลัยวิชาการภาคใต้ เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ ม.ทักษิณ
50 ปีที่แล้ว...
บ่ายวันหนึ่งระหว่างที่มีเวลาว่าง เราค้นเจอวารสารปาริชาติปีที่ 5 ฉบับพิเศษ มกราคม 2532 (ขณะนั้นมหาวิทยาลัยยังใช้ชื่อ มศว. ภาคใต้) พบบทความน่าสนใจ ชื่อเรื่อง “รำลึกอดีต คนที่เริ่มมีความสุขกับอดีต” ซึ่งจะช่วยไขปริศนาวันเริ่มต้นแรก ๆ ของมหาวิทยาลัยได้ ผู้เขียนเล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นของที่นี่เริ่มจากที่ "มหาวิทยาลัยทักษิณ" เดิมเป็น "วิทยาลัยวิชาการศึกษา วิทยาเขตสงขลา" สร้างขึ้นปี พ.ศ.2511 ต่อมา "วิทยาลัยวิชาการศึกษา" มีการยกวิทยฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" หรือที่เราเรียกกันว่า "มศว." มหาวิทยาลัยแห่งนี้จึงใช้ชื่อว่า "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา" และต่อมามีการยกวิทยฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศและใช้ชื่อว่า "มหาวิทยาลัยทักษิณ" ซึ่งมีความหมายว่า "มหาวิทยาลัยแห่งภาคใต้" โดยประกาศใช้ในปี พ.ศ.2539 ...ไปดูรายละเอียดกันเลยดีกว่า
ที่จริงมหาวิทยาลัยจะก่อตั้งช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เมื่อสงครามเกิดขึ้น บ้านเมืองมีความวุ่นวาย กว่าจะเริ่มก่อตั้งก็ใช้เวลานาน เปิดทำการเรียนการสอนช่วงเดือนพฤษภาคม 2512 นิสิตรุ่นแรกมีเพียง 119 คน เรียนวิชาเอกเคมี และ ภาษาอังกฤษ เมื่อพูดถึงบรรยากาศการเรียนการสอนค่อนข้างวุ่นวาย มีเพียงอาคารเรียน 1 ห้อง หอพัก (ชาย) 1 หลััง และบ้านพักอาจารย์อีก 10 หลัง
หอพักแค่ 1 หลัง แต่ต้องอยู่ทั้งชาย - หญิง สมัยนั้นยังจารีตประเพณีแยกหอชาย - หญิงยังเคร่งครัด หอพักที่มีมีแค่ 1 หอ จำเป็นต้องให้เป็นหอรวม ดังนั้น ผู้ชายต้องพักอาศัยชั้น 3 ผู้หญิงชั้น 2 เป็นหอพักทันสมัยที่สุดในประเทศ เมื่อพูดถึงโรงอาหารก็ไม่ได้สะดวกสบาย 2 ชั้น ติดพัดลมทั่วตึก แบบสมัยนี้ แต่นิิสิตรุ่นแรกใช้ใต้ถุนหอพักเป็นโรงอาหาร มีโต๊ะที่เป็นโต๊ะเรียนไปในตัวด้วยเพียง 20 ตัว ไฟฟ้ายังไม่มีใครรู้จักแต่หากอ่านหนังสือ แต่ละครั้งต้องจุดตะเกียงเจ้าพายุห้อยเพดาน ส่วนน้ำประปาต้องไปขนมาจากประปาสงขลา นับว่าลำบากไม่น้อยสำหรับชีวิตของนิสิตรุ่นแรก
เมื่อเวลาผ่านไปกว่า 50 ปี...
มหาวิทยาลัยแห่งนี้เติบโตมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษา พ.ศ. 2517 กลายเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ พ.ศ. 2539 เปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยทักษิณ นิสิตทุกคนจะได้ยินปรัชญาของมหาวิทยาลัยคือ “ปัญญา จริยธรรม นำการพัฒนา” อยู่เสมอ ปัจจุบันมี 2 วิทยาเขต
วิทยาเขตสงขลาเน้นด้านสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์
วิทยาเขตพัทลุงเน้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ม.ทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
ม.ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
แล้วนิสิตยุคนี้ล่ะ ใช้ชีวิตยังไง เราอยากแนะนำให้คุณเห็นภาพของวิทยาเขตสงขลาแล้วกัน อาคารเรียนที่นี่มีครบครันทั้ง อาคารเรียนคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยิ่งใหญ่ตั้งอยู่แถบเทือกเขารูปช้าง เอ้ย ตั้งอยู่บนเขารูปช้าง คือ ถ้าวันไหนมีเรียนตึกนี้ก็ต้องรีบกันหน่อย เพราะถ้าไปสายอาจจะเหนื่อยหอบได้ ไม่สามารถเดินขึ้นชิลล์ ๆ ได้จริง ๆ หรือตึกคณะอื่นก็ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กันทั้ง คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ หรือคณะศึกษาศาสตร์ที่ยังผลิตบัณฑิตโดยเฉพาะครูที่มีคุณภาพสูง มุ่งรับใช้สังคม
อาคารเรียนคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หอสมุดของมหาวิทยาลัยฯ ใหญ่มาก มี 5 ชั้น ภายในมีหนังสือให้เลือกอ่านหลากหลายวิชา โดยเฉพาะสายสังคมศึกษามีครบครัน ไม่ใช่แค่นั้นเพราะหอสมุดยังมีห้องคาราโอเกะ ห้องดูหนังที่แบบถ้ามีเวลาว่างเมื่อไหร่สามารถนัดเพื่อน จองคิวผ่านอินเตอร์เน็ตไปดูได้เลย แถมแอร์ในห้องสมุดนี้เย็นเฉียบอย่างกับอยู่ในขั้วโลกเหนือเลย ทีเด็ดที่เราชอบที่สุดคือห้องหนังสือเก่า ที่เรายังคงจำได้ดีเพราะกลิ่นของห้องนี้เป็นเอกลักษณ์มาก ห้องนี้รวบรวมหนังสือเก่าหายากไว้เพียบ ถ้าคุณเรียนเอกประวัติศาสตร์มาห้องนี้รับรองไม่ต้องเจอข้อมูลอะไรเจ๋ง ๆ เสมอ
ณ ริมบึง มหาวิทยาลัยทักษิณ (สงขลา)
ความสะดวกสบายของที่นี่แตกต่างจาก เมื่อ 50 ปีก่อนลิบลับมีศูนย์อาหารของมหาวิทยาลัยที่มี 2 ชั้น มีร้านอาหารทั้งไทยและมุสลิม และมีเซเว่นตั้งอยู่หน้ามหาวิทยาลัย (เมื่อไหร่ข้างในจะมี) สนามบอลของมหาวิทยาลัยที่สวยอลังการ มีอัฒจรรย์ของกองเชียร์ที่หรูหราไฮโซกว่าอดีต เรียกได้ว่าถ้าเป็นด้านความสะดวกสบายมหาวิทยาลัยแห่งนี้ไม่แพ้ที่ไหน ด้านวิชาการก็ไม่แพ้ใครแน่นอน และนี้คือบทพิสูจน์ความเข้มข้นของ 50 ปี มหาวิทยาลัยทักษิณ..."มหาวิทยาลัยแห่งภาคใต้"
หอประชุมยิ่งใหญ่
บรรยากาศร่มรื่นภายในมหาวิทยาลัย
ขอบคุณภาพ : มหาวิทยาลัยทักษิณ Thaksinuniversity , เพจ ที่นี่มหาวิทยาลัยทักษิณ
ขอบคุณข้อมูล : วารสารปาริชาติปีที่ 5 ฉบับพิเศษมกราคม 2532
เขียนและเรียบเรียง : HatyaiFocus
ศาลเจ้าแม่กวนอิมสวนหมาก ศาลเจ้าแห่งแรกที่ริเริ่มทำโรงทานเจในสงขลา
20 เมษายน 2568 | 193พาชม...บ้านขุนตระการตะเครียะเขต บ้านเก่าโบราณนับร้อยปี "บ้าน 108 เสา"
30 มีนาคม 2568 | 783รู้หม้ายว่า? สงขลาเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด
30 มีนาคม 2568 | 588เปิดตำนานความเชื่อ พ่อปู่ภุชงค์-แม่ย่าทองคำ วัดโคกเปี้ยว สงขลา
30 มีนาคม 2568 | 439ศาลเจ้าพ่อทวดหมอน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ตำบลคูขุด อ.สทิงพระ
2 มีนาคม 2568 | 772เรื่องเล่าจากความทรงจำบ้านท่าแช สู่ตำบลคลองอู่ตะเภาในปัจจุบัน
2 มีนาคม 2568 | 681ความรู้คู่การเวลา...ศึกษาหนังสือบุดโบราณ ณ วัดยางทอง(สะเดา)
2 มีนาคม 2568 | 660