หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

การแต่งกายของชาวเกาะนางคำ(พัทลุง) ห้วงเวลา 60 ปีที่ผ่านมา
21 กรกฎาคม 2567 | 4,221

วัฒนธรรมด้านการแต่งกายของชาวบ้านตำบลเกาะนางคำ จากการศึกษาวิจัยของประสิทธิ์ บัวงาม (2544) พบว่าชาวตำบลเกาะนางคำมีวัฒนธรรมหรือธรรมเนียมการแต่งกาย ซึ่งประกอบด้วย

การนุ่งโจงกระเบน
การนุ่งโจงกระเบนเป็นวัฒนธรรมด้านการแต่งกายของชาวบ้านตำบลเกาะนางคำ มาประมาณกว่า 60 กว่าปีที่ผ่านมา รูปแบบของการแต่งกายดังกล่าว จะใช้ผ้าถุงมานุ่งแล้วนำปลายผ้าถุงมาพันทบไปด้านหลัง มัดไว้ที่ระดับเอวโดยใช้เข็มขัดมัดให้แน่น การนุ่งโจงกระเบนคล้าย ๆ กับการนุ่งกางเกง เพียงแต่ใช้ผ้าถุงหรือผ้านุ่งนำมาใส่และทำให้มีลักษณะคล้ายกับกางเกงนั่นเอง ปัจุบันชาวบ้านโดยทั่วไปไม่นิยมยุ่งโจงกระเบนแล้ว เพราะสามารถหาซื้อกางเกงมาสวมใส่ได้ง่ายและสะดวกกว่า ปรากฎให้ห็นอยู่บ้างก็แต่เพียงผู้สูงอายุและส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง ที่มีอายุ 80 กว่าบีขึ้นไปเท่านั้น

การใช้ผ้าขาวม้าปั้นเตียว
การใช้ผ้าขาวม้าขึ้นเตียว เป็นลักษณะการแต่งกายของชาวบ้านตำบลเกาะนางคำ ซึ่งมีลักษณะกล้ายกับการนุ่งโจงกระเบน เพียงแต่จะใช้ผ้าขาวม้าแทนผ้าถุง โดยจะนุ่งในลักษณะกระชับให้ผ้าถึงโคนขา ส่วนใหญ่การนุ่งผ้าขาวม้าปิ้นเดียวจะเป็นการแต่งกายของผู้ชาย เพราะการนุ่งดังกล่าวจะทำให้กระชับ คล่องแคล่ว ว่องไว ทำงานได้สะดวกรวดเร็ว ในปัจจุบันนนี้ (2567) อาจจะไม่มีให้เห็นแล้ว

การนุ่งโสร่ง
การนุ่งโสร่งของชาวบ้านตำบลเกาะนางคำ สามารถพบเห็นได้จนถึงปัจจุบัน (2544) โดยส่วนใหญ่ผู้ชายจะเป็นคนนุ่งโสร่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับผ้าถุงหรือผ้านุ่ง แต่จะมีลวดลายหรือรูปแบบอีกลักษณะหนึ่ง คือเป็นเส้นหรือลายตาหมากรุก ส่วนใหญ่ผู้ที่นุ่งโสร่งมักจะเป็นผู้ชายที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งจะอาศัยอยู่แถบบ้านเกะนางคำเหนือ เกาะนางคำใต้ และเกาะนางทอง ของตำบลเกาะนางคำ

(ภาพ : Pantip.com)

การใช้ผ้าพาดบ่า
การใช้ผ้าพาดบ่า เป็นการแต่งกายรูปแบบหนึ่งของชาวบ้านตำบลเกาะนางคำ โดยนำผ้าขาว ผ้าขาวม้า ผ้าสไบหรือผ้าขนหนูผืนยาว มาพาดไว้บริเวณบ่า การนำผ้ามาพาดบ่าดังกล่าวจะกระทำเมื่อมีงานที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม งานมงคลหรือการไปวัดเพื่อทำบุญ เป็นต้น เช่น การไปทำพิธีแรกไถ แรกดำ แรกเก็บ การดับข้าว การรื้อข้าว ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวบ้านในชนบท ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ทำหน้าที่ประกอบพิธีจะใช้ผ้าพาดบ่า

ภาพ/บทความ : ฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้ สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร