ขนมไทยกล่าวได้ว่ามีอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน เพราะเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าคนไทยเป็นคนมีลักษณะนิสัยอย่างไร เนื่องด้วยขนมไทยแต่ละชนิด ล้วนมีเสน่ห์ มีรสชาติ ที่แตกต่างกันออกไป แต่แฝงไปด้วยความละเมียดละไม รูปลักษณ์ กลิ่น รสของขนม ที่สำคัญขนมไทย แสดงให้เห็นว่าเป็นคนใจเย็น รักสงบ
หากพูดถึงขนมไทยของปักษ์ใต้หลาย ๆ คนคงนึกถึงขนมชนิดนี้ เพราะนอกจากจะอร่อยแล้วยังมีคุณค่าและความหมายในตัวของมัน ขนมที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นขนมชนิดใดกัน HatyaiFocus พาทุกท่านมาทำความรู้จักขนมเจาะหู หรือบางคนเรียกว่า ขนมดีซำ
ขนมเจาะหู ขนมที่บางคนอาจไม่เคยได้ยินชื่อ ขนมชนิดนี้รูปร่างหน้าตาจะเหมือนโดนัทอันเล็ก ทำจากแป้งผสมด้วยด้วยน้ำตาลแล้วนำมาทอด ประวัติของขนมชนิดนี้ที่พอทราบ คือ ขนมเจาะหูนี้จะใช้ในช่วงใช้ในการทำบุญสารทเดือนสิบหรือที่รู้จักกันดีว่าคืองานทำบุญชิงเปรต
เชื่อว่าขนมนี้เป็นเหมือนเงินที่จะนำไปใช้ในนรก ฟังแล้วอาจดูน่ากลัวและขนลุกไปหน่อยแต่เป็นพิธีกรรมและความเชื่อของแต่ละท้องถิ่นที่สืบต่อกันมา เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
วันสารทจะทำกันในเดือน 10 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำ ประชาชนถือว่าเป็นช่วงแรกเริ่มเก็บเกี่ยวจึงนำเอาข้าวอาหารมาถวายพระภิกษุสงฆ์ โดยมีความเชื่อว่าบรรพบุรุษของตนที่ล่วงลับไปแล้วบางพวกก็ไปสู่ที่ดีที่ชอบ บางพวกไปสู่ที่ชั่วได้รับความทุกข์ทรมานต่าง ๆ นานาและได้รับความอดอยากอย่างแสนสาหัสอีกด้วย ผู้ที่มีบาปมีกรรมต้องไปทนทุกข์ทรมานเป็นเปรตในอบายภูมิ
เมื่อถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 จะได้รับการปลดปล่อยเปรตเหล่านี้มาเยี่ยมลูกหลาน พร้อมทั้งรับส่วนกุศลที่ลูกหลานอุทิศให้ และวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันที่ส่งเปรตกลับยมโลก ลูกหลานจึงทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง และเชื่อว่าหากนำขนมเจาะหูไปให้ก็เหมือนกับการส่งเงินทองไปให้ใช้ในอีกภพภูมิหนึ่ง
นอกจากความเชื่อข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว ปัจจุบันขนมเจาะหูสามารถหาซื้อได้ง่าย โดยเฉพาะพื้นที่สงขลา และ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพราะเป็นขนมที่ทำง่าย รสชาติหวาน อร่อย เนื้อแป้งมีความนุ่ม อีกทั้ง เป็นขนมที่คนเฒ่าคนแก่ชอบกิน ถือเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยด้วย
ขอบคุณภาพจาก: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, ปัตตานีบ้านฉัน ,blogspot ,ททท.นครศรีธรรมราช
เรียบเรียง : HatyaiFocus
ย้อนประวัติจวนเจ้าเมืองสงขลา สมัยธนบุรี - รัตนโกสินทร์
5 มกราคม 2568 | 37พาชมพระสยามเทวาธิราชจำลอง 1 ใน 5 หัวเมือง ประดิษฐานอยู่ที่ ต.ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา
5 มกราคม 2568 | 37ศาลาทวดสะบ้าย้อย ความศรัทธาสู่สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวสะบ้าย้อย
15 ธันวาคม 2567 | 226ที่มา...ชื่อบ้านสำนักขาม (สะเดา)
15 ธันวาคม 2567 | 201กุโบร์บ้านท่ายาง อดีตที่ตั้งค่ายทหารรัฐปัตตานี สถานที่ฝังศพทหารในสงครามปัตตานีกับกองทัพสยาม
15 ธันวาคม 2567 | 238ชุมชนตลาดปริก(สะเดา) ศูนย์กลางของตำบลในอดีตสมัยร.5
8 ธันวาคม 2567 | 264เปิดตำนานเจ้านางสีดอกไม้กับเจ้าเมืองหลาโต๊ะเมือง ณ บ้านนาทับ (สงขลา)
8 ธันวาคม 2567 | 541