นับตั้งแต่ได้ออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2464 เป็นต้นมา แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลได้จัดเตรียมโรงเรียนไว้เพียงพอ สำหรับการออกพระราชบัญญัติบังคับให้คนไทยที่มีอายุอยู่ในเกณฑ์ศึกษาระดับชั้นประถม จะต้องเข้าศึกษาในโรงเรียนทุกคน ซึ่งเป็นผลงานของกระทรวงธรรมการที่สามารถพัฒนาการศึกษาระบบโรงเรียนของชาติในระยะเวลาอันรวดเร็ว คือนับตั้งแต่กรมศึกษาธิการ พ.ศ.2430 จนถึง พ.ศ.2464 ซึ่งเป็นเวลาเพียง34 ปี ก็สามารถขยายโรงเรียนทั่วประเทศ
และมีปริมาณมากพอที่จะให้บริการแก่เด็กที่เข้ามาเล่าเรียนตาม พ.ร.บ.ประถมศึกษา กระทรวงธรรมการ (ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2462) ได้ปรับปรุงหลักสูตร และแบบเรียนในระดับประถมศึกษาให้อยู่ในระดับมาตราฐานยิ่งขึ้น
การพัฒนาหลักสูตรสมัย พ.ร.บ.ประถมศึกษานั้น พบว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านหลักสูตรอยู่เนืองๆ
อันมีผลกระทบในการปรับปรุงแบบเรียนในสมัยต่อมา ในตอนเริ่มประกาศใช้ พ.ร.บ.ประถมศึกษานั้น ยังคงใช้แบบเรียนและหลักสูตรตามประกาศหลักสูตรหลวง พ.ศ.2456 เพราะการประกาศใช้ พ.ร.บ.ประถมศึกษาครั้งนี้ เพื่อต้องการบังคับให้ประชาชนเข้าศึกษาในโรงเรียนเมื่ออายุอยู่ในวัยเกณฑ์บังคับ ฉะนั้นหนังสือแบบเรียนใหม่และแบบสอนใหม่ของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรียังเป็นแบบเรียนสำคัญสำหรับชั้นประถมศึกษาอยู่เรื่อยมา ซึ่งใช้ควบคู่กับหนังสือแบบสอนอ่านภาษาไทยของพระวิภาชน์วิทยาสิทธ์
ในระยะสมัยดังกล่าวการกำหนดหนังสือแบบเรียนนั้นขึ้นอยู่กับ กรมราชบัณฑิต(ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2454) "ซึ่งมีหน้าที่สร้าง รวบรวม และรักษาแบบอย่างสำหรับศึกษาเล่าเรียนทั่วไป" ฉะนั้นหลังปี พ.ศ.2475 เป็นต้นมา ได้ปรากฎบุคคลได้แต่งหนังสือแบบเรียนขึ้นมาจำนวนมาก และโรงเรียนต่างๆก็มีโอกาสเลือกใช้หนังสือแบบเรียนได้ในวงกว้างกว่าแต่เดิม แต่ก็ไม่มีโอกาสมากนัก เพราะเหตุว่าหลังจากนั้นไม่นานก็เกิดกรณีพิพาทอินโดจีน และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่2 ภาวะการพิมพ์ซบเซาลงมาก เพราะกระดาษขาดแคลนและภาวะกดดันทางด้านเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตามในช่วงก่อนเกิดสงครามโลกนั้น
ได้มีหนังสือแบบเรียนภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาที่พอจะประมวณได้อยู่ ซึ่งจะยกตัวอย่าง คือหนังสือแบบหัดอ่านหนังสือไทย ของพระวิภาชน์วิทยาสิทธิ์ แบบหัดอ่านหนังสือไทย เป็นหนังสือที่ใช้เป็นแบบเรียนเริ่มอ่านภาษาไทย ตั้งแต่สมัยออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา หนังสือชุดนี้มี 2 เล่ม คือเล่มต้น และเล่มปลาย
ซึ่งทั้งสองเล่มใช้เป็นแบบเรียนบังคับระดับชั้นประถม1 มาจนถึงปี พ.ศ.2480 ได้มีการเปลี่ยนแบบเรียนเริ่มอ่านเป็นแบบเรียนเร็วใหม่ ของหลวงดรุณกิจวิทูร และนายฉันท์ ขำวิไล ครั้นเมื่อมีการวิพากษ์วิจารณ์แบบเรียนชุดบันไดก้าวหน้าเมื่อ พ.ศ.2498(ชุดเรณู-ปัญญา) กระทรวงศึกษาธิการก็กลับมาประกาศให้ใช้หนังสือแบบหัดอ่านหนังสือไทยอีกครั้งหนึ่ง และใช้มาจนถึงปี พ.ศ.2520 จึงเลิกใช้
แสดงให้เห็นว่าหนังสือแบบหัดอ่านหนังสือไทยชุดนี้เรียบเรียงได้ดี สามารถตอบสนองความสัมฤทธิผลในการเรียนรู้ของนักเรียนเริ่มอ่านหนังสือได้ดี จึงได้ใช้เป็นแบบเรียนระดับชั้นประถมศึกษาอยู่นาน และใช้อยู่ถึง 2 สมัยด้วยกัน
ขอบคุคุณภาพบทความ - มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในแบบเรียนสมัยพระราชบัญญัติประถมศึกษา-ปัจจุบัน -กลุ่มเรื่องเล่า ภาพเก่าในอดีต คุณSuthin Chanasuntorn
ศาลเจ้าแม่กวนอิมสวนหมาก ศาลเจ้าแห่งแรกที่ริเริ่มทำโรงทานเจในสงขลา
20 เมษายน 2568 | 181พาชม...บ้านขุนตระการตะเครียะเขต บ้านเก่าโบราณนับร้อยปี "บ้าน 108 เสา"
30 มีนาคม 2568 | 772รู้หม้ายว่า? สงขลาเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด
30 มีนาคม 2568 | 579เปิดตำนานความเชื่อ พ่อปู่ภุชงค์-แม่ย่าทองคำ วัดโคกเปี้ยว สงขลา
30 มีนาคม 2568 | 435ศาลเจ้าพ่อทวดหมอน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ตำบลคูขุด อ.สทิงพระ
2 มีนาคม 2568 | 767เรื่องเล่าจากความทรงจำบ้านท่าแช สู่ตำบลคลองอู่ตะเภาในปัจจุบัน
2 มีนาคม 2568 | 675ความรู้คู่การเวลา...ศึกษาหนังสือบุดโบราณ ณ วัดยางทอง(สะเดา)
2 มีนาคม 2568 | 652