หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

ครบรอบ 22 ปี วันที่ 21-25 พฤศจิกายน 2543 เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ เมืองหาดใหญ่
6 พฤศจิกายน 2565 | 9,842

หากนับภัยพิบัติน้ำท่วมในอำเภอหาดใหญ่ ภัยพิบัติครั้งร้ายแรงของหาดใหญ่ปลายเดือนพฤศจิกายน 2553 เกิดผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งในทันทีและต่อเนื่อง หากไม่ได้ร่วมทุกข์ด้วยกันในภาวะพิบัติครั้งนี้คงยากที่จะมีความรู้สึกร่วมกันถึงสิ่งที่เกิดขึ้น อุทกภัยครั้งนี้รุนแรงเป็น 2 เท่าของปี 2531 ย่านตลาดกิมหยงแหล่งซื้อหาของกินของใช้ที่นักท่องเที่ยวนิยมน้ำท่วม 2 – 3 เมตร

วันนี้เราจะพาไปชมภาพบรรยากาศครบรอบ 22 ปี ในช่วง วันที่ 21-25 พฤศจิกายน 2543 เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ เมืองหาดใหญ่ ที่เรียกว่าหนักกว่าทุกปีที่ผ่านมา 

น้ำท่วมครั้งนี้ยาวนาน 3 – 7 วัน ขาดไฟฟ้าขาดน้ำกินน้ำใช้และอาหาร ในพื้นที่ 20 กว่าตารางกิโลเมตร ประชากรเกือบ 200,000 คน คนจำนวนไม่น้อยบ้านชั้นเดียวของเขาถูกน้ำท่วมจมหายไปขาดทั้งที่อยู่อาศัยและทรัพย์สิน ชีวิตนับแสนคนต่างได้ร่วมทุกข์ร่วมกันแต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือเราได้เรียนรู้ร่วมกันถึงภาวะที่ต้องพึ่งตนเองและพึ่งพาอาศัยกันเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้และในอนาคต

ถ่ายจากหน้าร้าน เจียคัลเลอร์แลป ถ.ศุภสารรังสรรค์ ใกล้สี่แยกวัดฉือฉาง

เท่าที่มีการบันทึกหาดใหญ่ประสบน้ำท่วมหนักๆ เกือบ 20 ครั้งแต่ละคราวสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก เพราะหาดใหญ่ถือว่าเป็นเมืองที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจสูงแห่งหนึ่งของภาคใต้ ภาพชุดนี้เป็นเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายยน เนื่องจากเกิดฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน น้ำป่าไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนและถนนในอำเภอหาดใหญ่ ภาพชุดนี้จึงเป็นภาพที่หาดูได้ยากมาก

สี่แยกสะพานลอย ขวามือ ธ.กสิกรไทย สาขาศุภสารรังสรรค์

น้ำฝนที่ตกในเขตเทือกเขาสันกาลาคีรี บริเวณพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย  ซึ่งปกติจะระบายผ่านคลองอู่ตะเภา ผ่านเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ไหลออกสู่อ่าวไทยบริเวณทะเลสาบสงขลา แต่ในปี พ.ศ. 2543 การระบายน้ำทำได้ไม่ดีเนื่องจากคูคลองตื้นเขิน และมีแนวคันกีดขวางทางเดินของน้ำ คือ ถนนลพบุรีราเมศวร์ ที่สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2533 ถนนสายสนามบิน-ควนลัง และทางรถไฟ ประกอบกับพื้นที่ของตัวอำเภอหาดใหญ่มีลักษณะเป็นที่ลุ่มรูปแอ่งกระทะ

ทำให้เกิดน้ำท่วมสูงในบริเวณตัวเมืองชั้นใน มีความเสียหายเป็นมูลค่ามากกว่า 10,000 ล้านบาท จำนวนผู้เสียชีวิตตามประกาศจากทางราชการ 35 คน โดยจำนวนผู้เสียชีวิตจริง ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ สูงถึง 233 คน ไม่รวมชาวต่างประเทศ

ภายหลังเหตุการณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้กรมชลประทานจัดทำโครงการบรรเทาอุทกภัย อำเภอหาดใหญ่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อีกทั้งภาครัฐยังได้จัดทำงบประมาณเพื่อป้องกันเหตุอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต  แต่ต่อมาได้มีการปล่อยปละละเลย ไม่ได้ติดตามความคืบหน้า จึงได้เกิดอุทกภัยซ้ำอีกครั้งใน 16 อำเภอของจังหวัดสงขลา และเขตรอบนอกของตัวเมืองหาดใหญ่ ระหว่างวันที่ 13-20 ธันวาคม พ.ศ. 2548  ซึ่งผลไม่รุนแรงเท่าในปี พ.ศ. 2543 แต่มีผู้ประสบความเดือดร้อนเป็นจำนวนมากกว่า

 

สถิติเหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้

ภัยพิบัติกะทูน ปี 2531
เวลาตีสองของวันที่ 22 พฤศจิกายน 2531 ชาวบ้าน ต.กะทูน  อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช ต้องประสบชะตากรรมเลวร้ายที่สุดในชีวิต เมื่อจู่ ๆ น้ำป่าจากภูเขาเหนือหมู่บ้านได้ซัดเอาดินโคลน หินและท่อนซุงขนาดใหญ่เข้าถล่มบ้านเรือนจนราพณาสูรชั่วข้ามคืน หมู่บ้านแห่งนี้กลายเป็นทะเลโคลน ซากปรักหักพังของบ้านเรือนนับพันหลังถูกทับถมอยู่ใต้ท่อนซุงกองมหึมา ชาวบ้านมากกว่า 700 ชีวิต ต้องสังเวยให้แก่ภัยพิบัติครั้งนี้

น้ำท่วมอำเภอหาดใหญ่ ปี2543 ปี2548

วันที่ 21-23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เกิดฝนตกหนัก 3 วัน 3 คืน นับเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ครั้งประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งน้ำได้เข้าท่วมเขตเศรษฐกิจ ศูนย์การค้า ในตัวเมืองหาดใหญ่ บางพื้นที่มีระดับน้ำสูงถึง 2 เมตรสร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก

เกิดอุทกภัยซ้ำอีกครั้งใน 16 อำเภอของจังหวัดสงขลา และเขตรอบนอกของตัวเมืองหาดใหญ่ ระหว่างวันที่ 13-20 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งผลไม่รุนแรงเท่าในปี พ.ศ. 2543 แต่มีผู้ประสบความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก    

ฝนถล่ม-น้ำท่วมภาคใต้ ปี2548

ข้อมูล จากกระทรวงมหาดไทย รายงานสถานการณ์น้ำท่วมในภาคตั้งแต่วันที่ 14-24 ธ.ค.2548 มีพื้นที่ประสบภัยรวม 8 จังหวัด คือ สงขลา นครศรีธรรมราช ปัตตานี นราธิวาส พัทลุง ตรัง ยะลา และสตูล มีประชาชนได้รับความเดือดร้อน 1.6 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 25 ราย แบ่งเป็น จ.สงขลา 13 ราย ตรัง 2 ราย ปัตตานี 1 ราย พัทลุง 3 ราย ยะลา 4 ราย นครศรีธรรมราชและสตูลจังหวัดละ 1 ราย และยังมีผู้สูญหายไปอีก 1 ราย ที่ จ.ยะลา มูลค่าความเสียหายประมาณ 600 ล้านบาท

 

 

ขอบคุณภาพต้นฉบับน้ำท่วม :  Apichai HinstudioMedia

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง