นานมาแล้ว.. ผู้เฒ่าผู้แก่เคยกล่าวเอาไว้ว่าหากจะรู้ว่าคนในชุมชนนั้น ๆ มีวิถีชีวิตและคุณภาพชีวิตเป็นอย่างไร ให้ไปเดินที่ตลาดในตอนเช้า หากอยากรู้ว่าเมืองนั้น ๆ มีความเจริญมากน้อยเพียงใดให้ดูที่ "โรงแรม" เป็นหลัก
เส้นทางรถไฟสาย "สงขลา - หาดใหญ่" ในปัจจุบัน กลายเป็นเพียงที่ดินของทางรถไฟ มีชาวบ้านเข้ามาปลูกอาคารบ้านเรือนทับพื้นที่ทางรถไฟ "สถานีรถไฟสงขลา" ก่อนหน้าที่จะบูรณะเป็นพิพิธภัณฑ์ เป็นเพียงอาคารเก่า ทรุดโทรม เกือบคล้ายอาคารร้าง พูดแล้วก็คิดถึง...จับจิตจับใจ อยากให้เส้นทางรถไฟสายนี้กลับมาวิ่งอีกครั้ง แม้เป็นไปได้ยากก็ตาม
ทั้งนี้ขอย้ำว่าภาพทุกภาพเป็นภาพประกอบเท่านั้นนะคะ ประวัติศาสตร์ทุกอย่างไม่ได้ขึ้นอยู่กับใครคนใดคนหนึ่ง
เส้นทางรถไฟสาย "สงขลา - หาดใหญ่" ในปัจจุบัน กลายเป็นเพียงที่ดินของทางรถไฟ มีชาวบ้านเข้ามาปลูกอาคารบ้านเรือนทับพื้นที่ทางรถไฟ "สถานีรถไฟสงขลา" ก่อนหน้าที่จะบูรณะเป็นพิพิธภัณฑ์ เป็นเพียงอาคารเก่า ทรุดโทรม เกือบคล้ายอาคารร้าง พูดแล้วก็คิดถึง...จับจิตจับใจ อยากให้เส้นทางรถไฟสายนี้กลับมาวิ่งอีกครั้ง แม้เป็นไปได้ยากก็ตาม
กลับมาเรื่องของเรากันดีกว่า...การเกริ่นมาข้างต้นว่า "โรงแรม" คือ ดัชนีชี้วัดเมืองแต่ละเมือง ว่ามีความเจริญก้าวหน้าและรุ่งเรืองเพียงใด ในยุคหนึ่ง "ทางรถไฟ" ก็เปรียบได้เหมือนเส้นทางนำพาความเจริญและการพัฒนาเข้ามาสู่ชุมชน และยกระดับเป็นเมืองในที่สุด "เมืองหาดใหญ่" ก็เช่นเดียวกัน ผมเชื่อว่าคนหาดใหญ่หลายคนคงพอทราบกันบ้างแล้ว ว่าจุดกำเนิดของเมืองหาดใหญ่ นั่นมาจากการสร้างทางรถไฟและสถานีรถไฟ
ซึ่งวันนี้ส่วนหนึ่งของหาดใหญ่ในสมัยก่อนว่า... คนที่อาศัยอยู่ในเมืองหาดใหญ่และสงขลา จะเดินทางไปยังหัวเมืองต่าง ๆ นอกจากช้างม้าวัวควายแล้ว "รถไฟ" เป็นพาหนะที่สำคัญ ที่ทางการไทยเพิ่งนำเข้ามาจากต่างประเทศ และได้ว่าตอบโจทย์ได้ดีที่สุด ในแง่ของการโดยสารและการขนส่งสินค้า เนื่องจากรถไฟมีความสะดวกและรวดเร็วกว่าการโดยสารหรือขนส่งด้วยสัตว์
ย้อนหลังกลับไปในปี พ.ศ. 2464 หรือในรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 การเดินทางด้วยรถไฟจากสงขลาไปยังเมืองหลวง ต้องใช้ระเวลาในการเดินทางถึง 3 วัน 2 คืน เลยทีเดียว เนื่องจากในขณะนั้นรถไฟที่เดินทางไปยังกรุงเทพฯ แบบรวดเดียวถึงเหมือนตอนนี้ยังไม่มี สำหรับชาวสงขลาที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรสทิงพระส่วนใหญ่ มักจะเดินทางด้วยเรือใบเสียมากกว่า โดยจะล่องเรือใบลัดเลาะไปตามแนวชายฝั่งมุ่งหน้าสู่เมืองหลวง
อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่า...สมัยก่อนขบวนรถไฟจากหาดใหญ่ไปกรุงเทพฯ แบบรวดเดียวยังไม่มี สภาพของหัวจักรรถไฟก็ยังไม่เอื้ออำนวยให้เดินทางแบบรวดเดียว จึงต้องแวะพักค้างคืน ณ สถานีใหญ่ระหว่างทาง ซึ่งหากเราออกจากสงขลาตั้งแต่รุ่งสาง ต้องไปพักรถและค้างคืนที่ "สถานีรถไฟทุ่งสง" จังหวัดนครศรีธรรมราช 1 คืน ก่อนจะออกเดินทางต่อไปยัง "สถานีชุมพร" แล้วไปค้างคืนที่นั่นอีก 1 คืน จึงจะออกเดินทางต่อไปยังสถานีบางกอกน้อย เพื่อเข้าสู่ตัวเมืองกรุงเทพมหานครต่อไป
กรมทางรถไฟจึงริเริ่มสร้างกิจการ "โรงแรมรถไฟ" ขึ้นตามเมืองสำคัญ ๆ ที่รถไฟจะวิ่งมาหยุดพักรถ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มีฐานะที่ดี ไม่ต้องมานอนหลังขดหลังแข็งอยู่บนรถไฟ (แบ่งชั้นวรรณะอย่างชัดเจนครับพี่น้อง 555+) ห้องพักของโรงแรมรถไฟต่างมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน บางห้องหรูหราเทียบได้กับโรงแรม 2-3 ดาวในสมัยนี้เลยทีเดียว แต่ความหรูหราและสะดวกสบาย ก็ต้องแลกมาด้วยราคาที่สูงตามไปด้วย
"โรงแรมรถไฟหาดใหญ่" โรงแรมรถไฟที่หรูหราและยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศ เป็นที่รู้จักดีของผู้คนในภาคใต้ แต่เดิมเคยเป็นเพียงอาคารไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูง ตั้งอยู่บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของสถานีชุมทางหาดใหญ่ ต่อมาในปี พ.ศ.2511 ได้มีการสร้างอาคารสถานีและโรงแรมรถไฟขึ้นมาใหม่ เรียกชื่อว่า "โรงแรมราชธานี" ภายหลังได้ยกเลิกกิจการไป (ตอนนี้มีโรงแรมรถไฟที่รีโนเวทอาคารหลังเก่าขึ้นมาใหม่ หรูหราน่าเข้าใช้ไม่แพ้โรงแรมในตัวเมือง)
เมื่อหาดใหญ่มีโรงแรมรถไฟ แล้วสงขลาจะมีโรงแรมรถไฟหรือไม่ ?? อยากบอกเลยว่ามีน้อยคนนักที่จะรู้ว่า บริเวณตลาดรถไฟสงขลา (ด้านหลังของโรงเรียนอนุบาลสงขลา) เคยมีโรงแรมรถไฟสงขลาตั้งอยู่ โรงแรมแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อใด ยังหาหลักฐานที่ชัดเจนมาตอบไม่ได้ แต่ที่มีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนเกี่ยวกับที่ตั้ง คือในแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองสงขลา พ.ศ.2478 อาคารดังกล่าวมีลักษณะเป็นรูปแบบเดียวกับโรงแรมรถไฟหาดใหญ่หลังเดิม (ชั้นเดียวยกพื้นสูง) คาดว่ามีห้องพักไม่เกิน 6 ห้อง มีห้องน้ำในตัว เรียกได้ว่าสะดวกสบายมากในสมัยนั้น
โรงแรมรถไฟสงขลา ดำเนินกิจการมาถึงเมื่อใดไม่มีใครรู้และบันทึกเอาไว้ แต่ในปี พ.ศ.2515 - 2516 มีการให้กรมตำรวจเช่าเป็นที่พักของเจ้าหน้าที่ และคงน่าจะถูกรื้อทิ้งไปหลัง พ.ศ.2520 เหลือไว้เพียงแค่ตำนานและความทรงจำเท่านั้น
ข้อมูล: พุทธพร ส่องศรี / อนุสาร อ.ส.ท. ในปี 2511
เขียนและเรียบเรียง: Hatyaifocus หาดใหญ่โฟกัส
ภาพประกอบ: รถไฟไทย / เอนก นาวิกมูล / อนุสาร อ.ส.ท. / Eyeem / กลุ่มคนรักษ์รถไฟไทย
ภาพปก: เอนก นาวิกมูล
ไหน ๆ ก็ทิ้งท้ายหน่อยละกันนะ สำหรับเกร็ดความรู้ เพื่อนักอ่านทุกท่าน
บ้านพักรถไฟ (Railway Rest Houses) พ.ศ. 2474
1. เชียงใหม่ (เปิด ปี พ.ศ. 2464 แปรสภาพเป็นโรงแรมรถไฟเชียงใหม่ปี 2508 ทุบแล้วตั้งแต่ปี 2546)
2. ลำปาง (เปิด พ.ศ. 2464 น่าจะเลิกไปตั้งแต่ปี 2501)
3. โคราช (เปิด 1 สิงหาคม 2474 - เลิกไปหลังโดนเทกระจาดลูกบอมบ์ที่ย่านสถานีนครราชสีมา เมื่อ มกราคม 2488)
4. อรัญญประเทศ (น่าจะเปิดเมื่อ ราว ๆ ปี 2470-2471 โดนรื้อไปตั้งแต่ปี 2516)
5. เพชรบุรี (รื้อไปตั้งแต่ปี 2502)
6. ชุมพร (น่าจะเปิดเมื่อปี 2459)
7. ทุ่งสง (น่าจะเปิดเมื่อปี 2459)
8. หาดใหญ่ (เปิดเมื่อ ปี 2464 ต่อมาได้รื้อออกไปแล้วสร้างอาคารสถานีชุมทางหาดใหญ่ โดยมีโรงแรมรถไฟหาดใหญ่ หรือ เรียกอีกชื่อว่าโรงแรมราชธานี แทนของเดิมที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่ ปี 2511)
9. สงขลา (ใกล้ตำหนักเขาน้อย ขณะนี้แปรสภาพเป็นบ้านพักตำรวจไปแล้วแต่ปี 2516)
ศาลเจ้าแม่กวนอิมสวนหมาก ศาลเจ้าแห่งแรกที่ริเริ่มทำโรงทานเจในสงขลา
20 เมษายน 2568 | 192พาชม...บ้านขุนตระการตะเครียะเขต บ้านเก่าโบราณนับร้อยปี "บ้าน 108 เสา"
30 มีนาคม 2568 | 781รู้หม้ายว่า? สงขลาเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด
30 มีนาคม 2568 | 587เปิดตำนานความเชื่อ พ่อปู่ภุชงค์-แม่ย่าทองคำ วัดโคกเปี้ยว สงขลา
30 มีนาคม 2568 | 439ศาลเจ้าพ่อทวดหมอน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ตำบลคูขุด อ.สทิงพระ
2 มีนาคม 2568 | 772เรื่องเล่าจากความทรงจำบ้านท่าแช สู่ตำบลคลองอู่ตะเภาในปัจจุบัน
2 มีนาคม 2568 | 681ความรู้คู่การเวลา...ศึกษาหนังสือบุดโบราณ ณ วัดยางทอง(สะเดา)
2 มีนาคม 2568 | 660