สำหรับสถานีชุมทางอู่ตะเภานี้ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2458 กรมรถไฟได้ขอซื้อที่บริเวณที่ตั้งสถานีรถไฟหาดใหญ่ปัจจุบันซึ่งอยู่ห่างจากสถานีชุมทางอู่ตะเภามาทางใต้ 3 กิโลเมตรและในปี พ.ศ.2460 ได้ย้ายสถานีจากอู่ตะเภามาอยู่หาดใหญ่ เนื่องจากสถานที่บริเวณสถานีอู่ตะเภาเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมเป็นประจำทำให้ไม่เหมาะแก่การตั้งสถานี ดังจะเห็นได้จากรายงาน เรื่องกรมขุนกำแพงเพ็ชร์เสด็จตรวจทางรถไฟสายใต้ ตลอดจนถึงสายของอังกฤษในแหลมมลายู (23 ส.ค. 2460-12 ต.ค.2468)
กรมขุนกำแพงเพ็ชร์ มีความเห็นที่แตกต่างจากนายช่างผู้บังคับการ คือ นายกิตตินซ์ซึ่งเวลานั้นเป็นนายช่างผู้บังคับการอยากให้ใช้สถานีอู่ตะเภาตามเดิม กรมขุนกำแพงเพ็ชร์ เห็นว่าชุมทางหาดใหญ่ ต่อไปจะเป็นชุมทางที่สำคัญมาก เพราะเป็นทางแยกไปปาดังเบซาร์ และปัตตานี เป็นที่อยู่บนดอน ไม่ต้องถมดิน ซึ่งท่านเห็นว่า ต่อไปในภายภาคหน้าสถานีอู่ตะเภาจะโซมลง เพราะเป็นสถานีตั้งอยู่ในที่ซึ่งต้องถมดินสูงราว 3 ถึง 4 เมตร จะขยายตัวออกไปไม่ได้เด็ดขาด ท่านเห็นว่าถ้าได้ที่ชุมทางหาดใหญ่จะสะดวกมากขึ้น และคงจะตั้งสถานีรถจักรอยู่ที่นั่น ต่อจากนั้นมีการย้ายทางซึ่งแยกไปสงขลามาเข้าสถานีหาดใหญ่ตามที่นายช่างได้กำหนดไว้ ในภายหลังน้ำท่วม
มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปิดเดินรถยนต์รางระหว่างสถานีหาดใหญ่ไปท่าเรือสงขลา และการย้ายเส้นทางสายสงขลาซึ่งแยกจากชุมทางอู่ตะเภา ไปที่ชุมทางหาดใหญ่ จากสำเนาหนังสือ " เพื่อระลึกถึงพระคุณ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชร์อัครโยธิน เพื่อเพิ่มพูนความเจริญและเกื้อกูลการเดินทางระหว่างตำบลใกล้เคียงกับกรุงเทพฯ พระมหานคร กับเพื่อส่งเสริมความสะดวกในการไปมาสำหรับรับส่งผู้โดยสาน สัมภาระที่หิ้วถือได้ระหว่างหาดใหญ่กับสงขลา
ได้จัดการเริ่มเดินรถยนต์รางในตอนระหว่างหาดใหญ่กับท่าเรือของการรถไฟที่สงขลาซึ่งตั้งอยู่ที่ทเลในใกล้กับตลาดในเมืองขึ้นก่อนเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ส่วนในตอนสายรถไฟทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาได้จัดการเดินระหว่างสถานีกรุงเทพฯ กับสถานีคลองรังสิตเมื่อเดือนธันวาคมสืบเวลานั้นมาจนถึงสิ้นปีปรากฏว่า จำนวนรถที่ใช้ในการนี้ไม่เพียงพอกับความต้องการที่จะรับบรรทุก แต่ผลประโยชน์ที่ได้ทำให้เกิดมานะมีความหวังว่า ถ้าเมื่อรถยนต์กับรถพ่วงได้ตกเข้ามาอีกเป็นจำนวนมากแล้ว กรมอาจจะจัดการเดินรถให้ดีขึ้นและมากเที่ยวขึ้นอีก ซึ่งคงจะกระทำให้เกิดประโยชน์ รายได้บังเกิดจากผลที่จัดการเดินรถยนต์รางนี้งอกงามเป็นอย่างดีโดยมั่นคง
การเปลี่ยนทางสายแยกไปสงขลาเข้าหาหาดใหญ่ อนุสนธิ์ดังที่กล่าวไว้ในรายงานประจำปีฉบับก่อนถึงการที่จะเปลี่ยนทางสายแยกสงขลาให้เข้าหาหาดใหญ่ โดยยกเลิกชุมทางที่อู่ตะเภา ซึ่งอยู่ติด ๆ กันถึง 2 แห่ง ในชั่วระยะเพียง 3 ก.ม.
และในรวดเดียวกันนี้ได้ขนดินถมที่แนวทางแยกใหม่เพื่อทำมูลดินขึ้นเป็นคันทางถัดมาจึงได้วางราง ครั้นเมื่อได้วางรางเสร็จแลมีผู้บัญชาการได้ตรวจแลเดินรถไปบนทางที่ทำโดยตลอดแล้ว ได้เริ่มเดินรถบนทางแยกใหม่นี้ระหว่างสงขลากับหาดใหญ่ โสหุ้ยที่ได้จ่ายไปในการนี้ ได้คิดเอาในงบเงินค่าก่อสร้างทางสายสาขาซึ่งสิ้นไปเปนจำนวน 66,279 บาท 64 สตางค์ ส่วนสถานีอู่ตะเภานั้นยุบลงเป็นสถานีธรรมดาแทนที่เป็นชุมทาง
ศาลาตาเล่อเท่อ ที่พึ่งของชาวบ้านเมื่อของสำคัญสูญหาย
27 เมษายน 2568 | 21จากอดีตบ้านทุ่งเหม็นขี้ สู่บ้านทุ่งขมิ้น(นาหม่อม)
27 เมษายน 2568 | 25บุกป่าหาน้ำตกลับ...น้ำตกโตนหน้าผี ณ เขาพระ อ.รัตภูมิ
27 เมษายน 2568 | 42ศาลเจ้าแม่กวนอิมสวนหมาก ศาลเจ้าแห่งแรกที่ริเริ่มทำโรงทานเจในสงขลา
20 เมษายน 2568 | 211พาชม...บ้านขุนตระการตะเครียะเขต บ้านเก่าโบราณนับร้อยปี "บ้าน 108 เสา"
30 มีนาคม 2568 | 803รู้หม้ายว่า? สงขลาเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด
30 มีนาคม 2568 | 603เปิดตำนานความเชื่อ พ่อปู่ภุชงค์-แม่ย่าทองคำ วัดโคกเปี้ยว สงขลา
30 มีนาคม 2568 | 458ศาลเจ้าพ่อทวดหมอน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ตำบลคูขุด อ.สทิงพระ
2 มีนาคม 2568 | 784