หาดใหญ่โฟกัส จะแนะนำให้ทุกคนรู้จักอีกอาชีพหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นอาชีพ ที่ท้าทาย และเสี่ยงตายอีกอาชีพหนึ่ง เพราะต้องอาศัยการฝึกฝนและความชำนาญ เราจะนำทุกคนไปรู้จักกับ “นักประดาน้ำ” หรือ นักดำน้ำ หรือ มนุษย์กบ แล้วแต่จะเรียกกันไป ถือเป็นอาชีพหรือเป็นงานหนึ่ง ที่บุคคลจะต้องที่มีความชำนาญในการดำน้ำทั้งแบบน้ำตื้นและน้ำลึก โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำน้ำของแต่ละคนก็แตกต่างกันออกไป ตามภารกิจในครั้งนั้นๆ หรือดำน้ำตามความชอบ
เราจะแนะนำให้รู้จักบุคคลที่เสียสละกับหน้าที่นี้มากกว่า 12 ปี นั่นคือ นายประจวบ ขันธ์ไชย หรือ “พี่จวบ” นักประดาน้ำและเจ้าหน้าที่ มูลนิธิมิตรภาพสามัคคี (ท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง) หาดใหญ่ กับงานอาสากู้ภัยมา 16 ปี และประสบการณ์นักประดาน้ำ 12 ปี “พี่จวบ” บอกกับเราว่า อาชีพกู้ภัยเป็นอาชีพที่มีความหลากหลาย แตกต่างจากอาชีพอื่นตรงที่ได้ช่วยเหลือผู้คนที่มีความเดือดร้อนและได้ฝึกฝนอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากต้องมีการอบรมเกี่ยวกับหลักสูตรต่างๆ มากมายเพื่อนำมาเป็นความรู้ในการช่วยเหลือประชาชนในทางที่ถูกต้อง
เพราะทุกครั้งคือชีวิต นอกจากงานกู้ชีพ งานประดาน้ำ “พี่จวบ” ยังเคยมีประสบการณ์ด้านการผจญเพลิงขั้นรุนแรง และกู้ภัยบนอาคารสูง แต่งานหลักและหน้าที่ประจำคือ “นักประดาน้ำ” เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ ในแต่ละครั้งมีความเสี่ยงอย่างมาก เพราะใต้น้ำเราไม่สามารถบอกได้เลย ว่าเป็นอย่างไรจนกว่าจะลงไปสำรวจ ประสบการณ์ที่ผ่านมามีทั้งในทะเล ในลำคลอง น้ำตก เขื่อน ล้วนผ่านมาแล้วทั้งสิ้น เป้าหมายแต่ละครั้งคือช่วยเหลือให้บุคคลเหล่านั้นมีชีวิตรอดและได้เจอกับญาติอีกครั้ง
ทั้งนี้ ภารกิจที่ลงมือปฎิบัติทุกครั้งจะต้องเจอกับความตื่นเต้นและความกังวล เพราะในแหล่งน้ำเราจะต้องพบเจอกับตะกอนโคลน สิ่งกีดขวาง ทั้งผิวน้ำและใต้น้ำ เจออุปสรรคจากความขุ่น และทัศนวิสัยที่บางครั้งไม่สามารถมองเห็นเลย นักประดาน้ำจึงเลี่ยงการปฎิบัติภารกิจในเวลากลางคืน การปฎิบัติภารกิจใต้น้ำต้องทำงานกันเป็นทีมจึงจะประสบความสำเร็จ เพราะจะต้องมีทั้งทีมบนฝั่งและใต้น้ำในการสื่อสารกัน รวมถึงความพร้อมทั้งอุปกรณ์และร่างกาย จึงต้องมีความชำนาญเฉพาะทาง
ทุกครั้งที่ลงปฎิบัติภารกิจหวังเสมอว่าขอให้ผู้ประสบเหตุปลอดภัย แต่บางครั้งก็ต้องพบกับความเสียใจที่ไม่สามารถช่วยชีวิตไว้ได้ บางเคสจมน้ำหาย 6-7 วัน ซึ่งสภาพที่เจอสร้างความหดหู่ใจให้กับตัวผู้ค้นหาและความเสียใจให้กับญาติเป็นอย่างมาก แต่เราก็มีหน้าที่นำพวกเขาเหล่านี้กลับบ้าน ถือเป็นอีกความภูมิใจหนึ่ง ที่ทำให้ผู้เสียชีวิตพบเจอญาติครั้งสุดท้าย
“พี่จวบ” เคยผ่านการอบรมต่างๆ และมีประสบการณ์มากมายเพื่อให้การช่วยเหลือทุกครั้งปลอดภัยยิ่งขึ้น เช่น ประสบการณ์พนักงานการแพทย์ฉุกเฉิน 12 ปี ,ประสบการณ์การดูแลผู้ได้รับบาดเจ็บทางยุทธวิธี(โรงพยาบาลพระมงกุฎกองทัพบก 7 ปี) ,ประสบการณ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ(กู้ชีพทางน้ำ) กรมแพทย์ทหารเรือ กองทัพเรือ ยิ่งมีประสบการณ์มากการแก่ปัญหาและความปลอดภัย การมีชีวิตรอดก็ผู้ประสบภัยก็มีมากเช่นกัน
แม้ว่าการงานใต้น้ำจะมีความเสี่ยงแต่ “พี่จวบ” ก็ยังยืนจะทำงานด้านนี้และช่วยเหลือสังคมกันต่อไป เพราะ สุดท้าย “พี่จวบ” อยากฝากถึงประชาชนที่ใช้ยวดยานบนท้องถนนมีน้ำใจหลีกทางให้กับรถฉุกเฉินทุกชนิดบนท้องถนน เพราะนั่นหมายถึงชีวิต และความเป็นความตาย (ขอบพระคุณทุกคนที่ให้ความร่วมมือครับ )
"ครูทอง" ทายาทรุ่นที่ 3 ผู้สืบทอดภูมิปัญญาการปั้นหม้อยาวนานกว่า 100 ปี ของบ้านสทิงหม้อ อ.สทิงพระ
24 มีนาคม 2568 | 525“เชือกกล้วยตานี” จากของเหลือทิ้ง สู่ผลิตภัณฑ์สร้างรายได้ให้ชุมชนคูเต่า ภายใต้ชื่อ “กอร์ตานี”
19 มีนาคม 2568 | 630ชีวิตหลังเกษียณของอดีตฯ ผู้ว่าฯ สงขลา ผันตัวเองป็นเกษตรกรสวนทุเรียนกว่า 400 ต้น
3 มีนาคม 2568 | 22,768ตาผิน ผู้ประดิษฐิ์สิ่งของจากวัสดุธรรมชาติ สู่สินค้าโอท็อปประจำอำเภอรัตภูมิ
2 มีนาคม 2568 | 632"ธนกร"กุ้ยช่าย สูตรลับจากคุณแม่ที่ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน เลี้ยงครอบครัวกว่า 45 ปี ออเดอร์ไกลถึงสหรัฐฯ
6 กุมภาพันธ์ 2568 | 655"เกียว"เบเกอรี่จากรุ่นแม่สู่คุณลูก กว่า 30 ปี ร้านขนมปังเล็กๆที่ไม่ธรรมดาในสะเดา
8 ธันวาคม 2567 | 2,462ช่างนวล ควนเนียง ศิลปินผู้รังสรรค์ผลงานบนผืนหนัง
24 พฤศจิกายน 2567 | 1,292"ป้าบ่วย" เจ้าของร้านฮับเซ่ง สภากาแฟที่ตั้งอยู่คู่เมืองเก่าสงขลาร่วม 100 ปี
25 ตุลาคม 2567 | 3,627