"โรงสีแดง ฮับ โฮ่ หิ้น" คงไม่มีใครรู้จักเป็นอย่างแน่นอน ครั้นเมื่อใครมาเที่ยวสงขลา เมืองเก่า ถ้าไม่ได้มา ถ่ายรูป ที่ โรงสีแดง แสดงว่ายังมาไม่ถึง เมืองเก่า สงขลา มารู้จัก โรงสีแดงกันหน่อยครับ ฮับ โฮ่ หิ้น (เขียนตามชื่อในเอกสารดั้งเดิม ) เป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน แปลว่า "เอกภาพ" "ความกลมกลืน" และ "ความเจริญรุ่งเรือง" คำว่า "ฮับ" ภาษาจีนฮกเกี้ยนตรงกับคำว่า "ฮะ" ในภาษาจีนแต้จิ๋ว ที่แปลว่า "สามัคคี" ส่วนคำว่า "โฮ่" ตรงกับคำว่า "ฮ่อ" หมายถึงความดีและความเจริญรุ่งเรือง คำว่า "หิ้น" หมายถึงสวน หรือสถานที่ที่ผู้คนมารวมตัวชุมนุมกัน กล่าวโดยรวมคือว่า "ฮับ-โฮ่-หิ้น" แปลว่า "สวนสมานฉันท์อันเจริญรุ่งเรือง
ซึ่ง" โรงสี ฮับ โฮ้ หิ้น นั้นเริ่มต้นจากคนเชื้อสายจีนตระกูลเสาวพฤษ์ (ขุนราชกิจจารี) ได้ร่วมหุ้นกับตระกูลโคนันทน์ จัดตั้ง "ฮับ โฮ้ หิ้น" ขึ้นราว ๆ ปี พ.ศ. ๒๔๕๔ อยู่ต่อมาภายหลังหลาน ๆ ของขุนราชกิจจารี ได้ซื้อกิจการไว้ทั้งหมด โดยเมื่อปี พ.ศ2468ได้มีปรับปรุงพัฒนาโรงสีให้ทันสมัย โดยเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์พลังงานไอน้ำจากประเทศอังกฤษ ที่แกลบจาการสีข้าวเป็นเชื้อเพลิง
ซึ่งนับว่าเป็นแห่งแรกในคาบสมุทรสงขลาก็ว่าได้ เหตุนี้จึงทำให้ดำเนินกิจการของ ฮับ โฮ่ หิ้น เจริญรุ่งเรืองและเป็นไปได้ด้วยดี โดยขยายการรับข้าวเปลือกจากระโนด พัทลุง บรรจุลงเรือล่องมาทางทะเลสาบสงขลามาเทียบท่าด้านหลังโรงสี เมื่อสีเสร็จแล้วส่งไปขายยัง ปัตตานี นราธิวาส และมาเลเซีย หลังปี พ.ศ. 2488 กิจการของหับ ฮับ โฮ่ หิ้น เริ่มประสบปัญหาเนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 สถานการณ์ต่าง ๆ ไม่เอื้ออำนวย เมื่อสงครามยุติกอรปกับความเจริญของบ้านเมิืองที่เปลี่ยนแปลงไป การคมนาคมทางรถยนต์ สะดวกขึ้น การขนส่งเริ่มมีรถบรรทุก ทำให้ฮับ โฮ่ หิ้น ต้องยุติกิจการโรงสีไป
คุณตาสุชาติ รัตนปราการ ผู้เป็นปราชญ์และเป็นเจ้าของ ได้ปรับเปลี่ยนมาทำท่าเรือ ขนส่งยางพาราไปยังต่างประเทศ ซึ่งเป็นยุคทองของการส่งสินค้ายางพาราไป ต่างประเทศ เมื่อการขนส่งท่าเรือแพร่หลายและกิจการเรือประมงเริ่มเฟื่องฟูในสงขลา ก็ได้เพิ่มกิจการโรงโม่ น้ำแข็งและ บ.ขนส่งทราย บ.ขนส่งสินค้าฯลฯ ในปี527 คุณตาสุชาติ ได้ถึงแก่กรรม ทายาทและผู้รับมอบพินัยกรรมก็ได้เปลี่ยน ฮับ โฮ่ หิ้น เป็นท่าเทียบเรือประมงและด้วยความที่มีการรักษาอาคารให้คงรูปแบบเดิมไว้
โดยทั้ง คุณป้านพนภา คุณลุงรังษี จะซ่อมแซมปรับปรุงอาคารอยู่เสมอ ด้วยเงินส่วนตัว เสมอมาตลอดหลายสิบปี เพื่อเป็นการรำลึกถึง "คุณก๋ง"(คุณป้านพนา เคยกล่าวไว้) จนได้รับรางวัล อนุรักษ์ศิลปสถาปัตย์กรรมดีเด่น จาก สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
สถานที่แห่งนี้ นอกจากเป็นที่ถ่ายรูปสวยๆอยากให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ เรื่องราวในอดีต ของบุคคลที่พัฒนาโรงสีแดง คือ คุณตาสุชาติ รัตนปราการ ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นปราชญ์ คนหนึ่ง ของเมืองสงขลา มีทั้งความรู้ในเรื่องธุรกิจและประวัติศาสตร์ มีการจดบันทึกเป็นข้อมูลมากมาย เกี่ยวกับเมืองสงขลา เพื่อเป็นแนวทางและแบบอย่างในการทำงานและสร้างครอบครัว
ขอบคุณภาพข้อมูล : Aey Sungsuwan
ย้อนเหตุการณ์...พิธีสมรสหมู่ ณ เมืองพัทลุง
10 พฤศจิกายน 2567 | 94ตามรอย 3 โรงสี เมืองสงขลา(บ่อยาง)
10 พฤศจิกายน 2567 | 118อีก 1 ตำนานเมืองหาดใหญ่ ตลาดสันติสุข-แผงทอง สวรรค์ของนักช็อปตัวยง
10 พฤศจิกายน 2567 | 148นกกรงหัวจุก สัตว์เลี้ยงคู่ใจของชาวปักษ์ใต้
3 พฤศจิกายน 2567 | 210ย้อนรอยโบราณ วัดโรงน้อยขึ้นพะโคะ สู่วัดโรง อ.กระแสสินธุ์
3 พฤศจิกายน 2567 | 182ตำนานแห่งสายน้ำ...การแข่งขันประเพณีเรือยาว (บางกล่ำ)
3 พฤศจิกายน 2567 | 194ชุมชนรังมดแดงสู่บ้านรำแดง(สิงหนคร)
20 ตุลาคม 2567 | 235ความทรงจำข้างกำแพงเมือง...182 แห่งการสถาปนาเมืองสงขลา(บ่อยาง)
20 ตุลาคม 2567 | 236