หาดใหญ่ถือได้ว่าเป็นเมืองแห่งการศึกษา เมืองที่พร้อมไปด้วยโรงเรียนที่มีคุณภาพทั้งในส่วนของรัฐบาลและเอกชน ทั้งนี้ในแต่ละโรงเรียนเนื่องด้วยหาดใหญ่เป็นชายแดนการค้า มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาค่อนข้างเยอะ ทั้งชาวมาเลเซีย จีน สิงคโปร์ ดังนั้นในเรื่องของภาษาจึงเป็นเรื่องที่น่าจำเป็นที่สุดในการปูรากพื้นฐานให้แก่เด็กนักเรียน โดยที่ในแต่ละโรงเรียนให้เน้นวิชาภาษาจีนเป็นหลักในทางเลือกอีกด้วย แต่ในหาดใหญ่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่า...โรงเรียนภาษาจีนแห่งแรกของหาดใหญ่ นั่นคือโรงเรียนศรีนครมูลนิธิ
โรงเรียนศรีนครมูลนิธิ เปิดสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2467 โดยท่านซีกิมหยง คหบดีต้นตระกูล “ฉัยยากุล” ได้อุทิศที่ดินบริเวณสี่แยกถนนธรรมนูญวิถี ตัดกับถนนเสน่หานุสรณ์ เพื่อจัดตั้งโรงเรียน ใช้ชื่อโรงเรียนว่า “จงฝายิฉิน” แต่ถูกปิดกิจการในปี พ.ศ. 2477 และปี พ.ศ. 2478 ท่านขุนนิพัทธ์จีนนคร ต้นตระกูล “จิระนคร” ได้ร่วมกับคณะกรรมการเปิดโรงเรียนอีกครั้งหนึ่ง และในปี พ.ศ. 2481 ก็ถูกทางการสั่งปิดอีก
ปี พ.ศ. 2481 คณะศิษย์เก่าโรงเรียนจงฝายิฉิน ได้ร่วมกันดำเนินการให้โรงเรียนได้เปิดสอนอีก โดยเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “จุงฝาเยี่ยเสี้ยว” เปิดสอนภาคค่ำ
ต่อมาเปลี่ยนเป็นภาคกลางวัน โรงเรียนเริ่มเป็นที่นิยมของชาวหาดใหญ่ทำให้สถานที่คับแคบ ท่านซีกิมหยงจึงได้อุทิศที่ดินจำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 17 ไร่ 2 งาน 25 ตารางวา บริเวณถนนธรรมนูญวิถีซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน โรงเรียนจุงฝาเยี่ยเสี้ยวจึงย้ายมาสถานที่ใหม่ เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนศรีนคร” มีคุณกี่ จิระนคร คุณเอกศักดิ์ องค์สกุล และคุณเช็งจือ ลือประเสริฐ บริหารงานร่วมกับคณะกรรมการจากสมาคมจีน 5 สมาคม คือ สมาคมแต้จิ๋ว สมาคมฮากกา สมาคมฮกเกี้ยน สมาคมไหหลำ และสมาคมกว๋องสิว ได้ร่วมทุนสร้างอาคารขนาด 30 ห้องเรียนขึ้น 1 หลังแต่โรงเรียนก็ต้องปิดกิจการอีกครั้ง เนื่องจากปฏิบัติไม่สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ จึงถูกถอนใบอนุญาตในปี พ.ศ. 2496
ปี พ.ศ. 2513 คุณเผชิญ ลีลาภรณ์ ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าศรีนคร ได้ซื้อและโอนใบอนุญาตของโรงเรียนไชยยันต์วิทยามาจัดตั้งเป็นโรงเรียนศรีนคร เปิดการสอนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3
ปี พ.ศ. 2534 กรรมการบริหารโรงเรียนได้นำที่ดินไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่มูลนิธิ โรงเรียนศรีนครหาดใหญ่ และได้สร้างอาคารใหม่ขึ้นแทนอาคารเก่าที่ชำรุด โรงเรียนศรีนครได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิชื่อว่า “มูลนิธิโรงเรียนศรีนครหาดใหญ่” บริหารงานโดยคณะกรรมการจาก 5 สมาคมจีนได้แก่ สมาคมแต้จิ๋ว สมาคมฮากกา สมาคมฮกเกี้ยน สมาคมไหหลำ สมาคมกว๋องสิว ร่วมกับคณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่า ศรีนคร คือ นายนิคม ปรีชาวีรกุล ประธานมูลนิธิโรงเรียนศรีนครหาดใหญ่ นายสมชัย พินัยกุล นายกสมาคมศิษย์เก่าศรีนคร ปี พ.ศ.2539 มูลนิธิโรงเรียนศรีนครหาดใหญ่และผู้มีจิตศรัทธาทั้งในและต่างประเทศ ได้บริจาคเงินเพื่อสร้างหอประชุมโรงเรียนศรีนคร
ปี พ.ศ.2533 มูลนิธิโรงเรียนศรีนครหาดใหญ่และผู้มีจิตศรัทธาทั้งในและต่างประเทศ ได้บริจาคเงินเพื่อก่อสร้างอาคาร ๓ ชั้น เพื่อใช้เป็นอาคารเรียน
ปี พ.ศ.2535-2538 มูลนิธิโรงเรียนศรีนครหาดใหญ่และผู้มีจิตศรัทธาทั้งในและต่างประเทศ ได้บริจาคเงินเพื่อก่อสร้างอาคาร ๕ ชั้น เพื่อใช้เป็นอาคารเรียนและห้องสำนักงานต่างๆ
ปี พ.ศ.2542 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนศรีนครมูลนิธิ”
ปี พ.ศ.2535-2538 คุณกังส์แสง ศรีสวัสดิ์นุภาพ ที่ปรึกษาชมรม สมาคม และมูลนิธิหาดใหญ่ ได้บริจาคเงินเพื่อก่อสร้างอาคาร “หอสมุดกังส์แสง” เพื่อใช้เป็นห้องสมุดสำหรับนักเรียนและชุมชนใกล้เคียงจำนวน ๑ หลัง และมูลนิธิโรงเรียนศรีนครหาดใหญ่และผู้มีจิตศรัทธาทั้งในและต่างประเทศ ได้บริจาคเงินเพื่อก่อสร้างอาคาร ๔ ชั้น เพื่อใช้เป็นอาคารเรียนอีกจำนวน ๑ หลัง
ปี พ.ศ 2555 ได้ขยายชั้นเรียนโดยเปิดการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ปี พ.ศ. 2556 รร.ศรีนครมูลนิธิ ได้ก่อสร้างอาคาร กำพล เย็นใจชน หรือศูนย์วัฒนธรรมไทย – จีน ก่อสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 และได้แล้วเสร็จในปี2558 โดยใช้เวลาสร้างร่วม 2 ปี บนเนื้อที่ 1แปลงมูลค่า24,000,000 บาท ของมูลนิธิโรงเรียนศรีนคร
ซึ่งได้รับการสนับสนุนค่าก่อสร้างอาคาร “ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน” จำนวน 41,000,000 บาท เป็นอาคารสูง 5 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 2,756 ตารางเมตร จาก คุณกำพล เย็นใจชน นายกสมาคมกว๋องสิวหาดใหญ่ และได้สร้างอาคารใหม่ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์วัฒนธรรมไทย – จีน — ที่ รร.ศรีนครมูลนิธิ โรงเรียนศรีนครได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิชื่อว่า “มูลนิธิโรงเรียนศรีนครหาดใหญ่”
และปัจจุบัน โรงเรียนได้เปิดการสอนใน 4 ระดับ ตั้งแต่ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาต้อนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย บริหารงานโดย มูลนิธิโรงเรียน ศรีนครหาดใหญ่ มี ผศ.ดร.ศักดิ์ชัย ปรีชาวีรกุล เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต และ นางสุภาณี สวาทะสุข เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนศรีนครมูลนิธิ
ขอบคุณภาพข้อมูล : เว็บโรงเรียนศรีนครมูลนิธิ , Dstorymix.blogspot.com
ย้อนประวัติจวนเจ้าเมืองสงขลา สมัยธนบุรี - รัตนโกสินทร์
5 มกราคม 2568 | 96พาชมพระสยามเทวาธิราชจำลอง 1 ใน 5 หัวเมือง ประดิษฐานอยู่ที่ ต.ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา
5 มกราคม 2568 | 77คนสงขลากับความเชื่อเรื่องทวด ที่ปรากฎในโองการทวดอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์จังหวัดสงขลา
5 มกราคม 2568 | 101ศาลาทวดสะบ้าย้อย ความศรัทธาสู่สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวสะบ้าย้อย
15 ธันวาคม 2567 | 247ที่มา...ชื่อบ้านสำนักขาม (สะเดา)
15 ธันวาคม 2567 | 219กุโบร์บ้านท่ายาง อดีตที่ตั้งค่ายทหารรัฐปัตตานี สถานที่ฝังศพทหารในสงครามปัตตานีกับกองทัพสยาม
15 ธันวาคม 2567 | 253ชุมชนตลาดปริก(สะเดา) ศูนย์กลางของตำบลในอดีตสมัยร.5
8 ธันวาคม 2567 | 285เปิดตำนานเจ้านางสีดอกไม้กับเจ้าเมืองหลาโต๊ะเมือง ณ บ้านนาทับ (สงขลา)
8 ธันวาคม 2567 | 561