ข้าวเม่า เป็นข้าวที่ได้มาจากรวงข้าวสีเขียวไล่มาจนถึงสีเขียวตกน้ำตาล ข้าวเม่าพบในทุกประเทศที่ปลูกข้าว ตั้งแต่ไทยลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า ภูฏาน อินเดีย ทิเบตในภูฏานใช้เป็นอาหารว่างกินกับน้ำชา ใประเทศไทยของเราส่วนใหญ่จะนำข้าวเม่ามาทำเป็นขนมที่นิยมกินมาตั้งแต่สมัยโบราณจนกระทั่งถึงปัจจุบัน จึงมีการตำข้าวเม่าขึ้นในแต่ละท้องถิ่น สืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณีตำข้าวเม่า วันนี้หาดใหญ่โฟกัส เราจะพามาชมการตำข้าวเม่าในสงขลาบ้านเรานี่เอง ใครจะไปรู้กันว่าที่นี่จะมีการตำข้าวเม่ากันอยู่ใช่ไหมละคะ
ที่แห่งนี้คือวัดโคกสูงเองค่ะคุณผู้อ่าน เป็นไงบ้างคะ หน้าตาการการจะตำ ดูมีความบ้าน ๆ กันเลยทีเดียว
ประวัติความเป็นมาประเพณีการตำข้าวเม่า เป็นประเพณีที่มาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว มีทั้งการร้องรำ แข่งขันการตำข้าวเม่าอย่างสนุกสนานรื่นเริงเสริมสร้างความสามัคคีในชุมชน เมื่อทำนาเสร็จแล้ว ผ่านเวลาสักระยะหนึ่ง จนลมเหนือล่อง เข้าทำนองออกพรรษา ก็ประมาณช่วง เดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน ขึ้นอยู่กับว่า เริ่มดำนาเร็วหรือช้านั่นเอง หรือขึ้นอยู่กับ ข้าวที่แก่พอทำข้าวเม่า ข้าวเม่าเป็นอาหารหวานอย่างหนึ่งของชาวไทยที่ประกอบอาชีพทำนา ชาวนารู้จักทำข้าวเม่ากันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยใช้เมล็ดข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวที่มีรวงแก่ใกล้จะเก็บเกี่ยวได้ นำมาคั่ว ตำ แล้วนำไปรับประทานได้เลย
ถ้าทำสุกใหม่ ๆ ก็จะนิ่ม หรือบางคนก็จะนำไปคลุกเคล้าด้วยน้ำตาลทราย มะพร้าวและเกลือ รับประทานแทนขนมหวาน แต่ในปัจจุบัน การตำข้าวเม่ากำลังจะสูญหายไปจากชาวนาไทย เนื่องจากสังคมเกษตรกรรมกำลังเปลี่ยนแปลงไป แต่ในบางท้องถิ่นก็ยังคงมีประเพณีตำข้าวเม่า เนื่องจากสภาพชีวิตของชุมชนยังมีความผูกพันอยู่กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ การตำข้าวเม่าเป็นประเพณีหนึ่งซึ่งนอกจากจะนำความสนุกสนานรื่นเริงมาสู่ชาวบ้านแล้วยังทำให้ได้กินของอร่อย และสามารถตากแห้งเก็บไว้กินได้ตลอดทั้งปี
ในสมัยก่อนนั้น การตำข้าวเม่ามักจะทำในเวลากลางคืน จะเป็นคืนเดือนมืดหรือคืนเดือนหงายก็ได้แล้วแต่สะดวก ในระหว่างคั่วข้าวเม่าบนเตาไฟจะมีประเพณีการเล่นของหนุ่มสาวโดยนำเอามะพร้าวทึนทึกขว้างไปที่เตาไฟทำให้ภาชนะที่ใช้คั่วข้าวเม่าแตกกระจายหรือบุบบู้บี้ จะทำให้บรรยากาศสนุกสนาน คนขว้างที่แอบอยู่ในมุมมืดจะวิ่งหนี ผู้ที่กำลังทำข้าวเม่าก็จะช่วยกันวิ่งไล่จับเอาตัวมาทำโทษ โดยเอาดินหม้อทาหน้า หลังจากนั้นก็จะช่วยกันตำข้าวเม่าโดยใช้ครกไม้ตำข้าวเปลือกและสากไม้มาช่วยกันตำให้เป็นข้าวเม่าในแต่ละจังหวัดและแต่ละท้องถิ่นในประเทศไทย มีประเพณีตำข้าวเม่ามานานแล้ว
ซึ่งแต่ละท้องถิ่นได้ฟื้นฟูวัฒนธรรมการทำข้าวเม่าไว้ให้ลูกหลานรุ่นหลังได้สืบทอด และระลึกถึงวัฒนธรรมที่มีค่ามาแต่โบราณ และถือว่าจะต้องปฏิบัติสืบต่อไปทุกปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ชาวนารุ่นใหม่ได้เรียนรู้และสืบทอดประเพณีการตำข้าวเม่า และเผยแพร่ออกไปให้กว้างขวาง เป็นการเสริมสร้างความสามัคคีของคนในท้องถิ่น และส่งเสริมให้อนุชนรุ่นหลังช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีการตำข้าวเม่า
ประเพณียังมีให้เราได้เห็นกันในชุมชนชาวบ้านในวัดโคกสูงและชาวบ้านในอำเภอจะนะ ที่มีการปฎบัติต่อกันมาอย่างช้านานและพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ตามจำนวนคนช่วยกันคนละไม้ละมือของชุมชนแห่งนี้ถือว่าสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับจังหวัดสงขลาเป็นอย่างมาก
ขอบคุณข้อมูล :Thai cultet ขอบคุณรูปภาพ : วัดโคกสูง โฮมสเตย์
ศาลาตาเล่อเท่อ ที่พึ่งของชาวบ้านเมื่อของสำคัญสูญหาย
27 เมษายน 2568 | 77จากอดีตบ้านทุ่งเหม็นขี้ สู่บ้านทุ่งขมิ้น(นาหม่อม)
27 เมษายน 2568 | 86บุกป่าหาน้ำตกลับ...น้ำตกโตนหน้าผี ณ เขาพระ อ.รัตภูมิ
27 เมษายน 2568 | 147ศาลเจ้าแม่กวนอิมสวนหมาก ศาลเจ้าแห่งแรกที่ริเริ่มทำโรงทานเจในสงขลา
20 เมษายน 2568 | 217พาชม...บ้านขุนตระการตะเครียะเขต บ้านเก่าโบราณนับร้อยปี "บ้าน 108 เสา"
30 มีนาคม 2568 | 834รู้หม้ายว่า? สงขลาเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด
30 มีนาคม 2568 | 622เปิดตำนานความเชื่อ พ่อปู่ภุชงค์-แม่ย่าทองคำ วัดโคกเปี้ยว สงขลา
30 มีนาคม 2568 | 481ศาลเจ้าพ่อทวดหมอน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ตำบลคูขุด อ.สทิงพระ
2 มีนาคม 2568 | 801