เรื่องราวที่น่าสนใจมีเรื่องเล่าในตำนานต่อไปนี้ เป็นเรื่องเล่าถึงประวัติของหมู่บ้านแห่งหนึ่งในอำเภอรัตภูมิ เราจะมาพูดถึงความเป็นมาของเขาคูหา โดยเล่าเรื่องจาก นายเนี่ยม ขุนเพชร ประธานสภาวัฒนธรรมรัตภูมิ อดีตผู้ใหญ่บ้านห้วยยาง หมู่ที่ 9 ตำบลคูหา อำเภอรัตภูมิ
เดิมทวดของผมเป็นชาวจังหวัดพัทลุง มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน ทั้งหมดได้ย้ายมาอาศัยที่ตำบลคูหาใต้ ในอดีตตำบลคูหาใต้ขึ้นอยู่กับอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง มีคลองรัตภูมิที่อยู่ทางด้านทิศใต้ของตำบลคูหาใต้ เป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัดพัทลุงกับจังหวัดสงขลา
ในส่วนของชื่อเขาและควนตามตำนานโบราณ ตามตำนานเขาคูหามีภูเขาอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวทั้งหมด 5 เขา และ 3 ควน ตามคำกลอนโบราณ ได้แก่เขาจังโหลน อยู่ทางทิศเหนือของเขาคูหา มีถ้ำพระและขี้ค้างคาวอยู่มาก ชาวบ้านมักไปเก็บมาขาย ส่วนเขาคูหาเอง เป็นแหล่งหินที่ชาวบ้านมักไปเอามาก่อสร้างตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงมีการระเบิดหินขึ้น กรมทางหลวงเป็นผู้ระเบิดเองเพื่อเอาไปก่อสร้างถนน จากนั้นจึงเริ่มให้เอกชนเข้าไประเบิดหินได้
เขาจุ้มปะ อยู่ทางทิศใต้ของเขาคูหา เป็นหินเขาขนาดเล็ก ในอดีตมีองค์เจดีย์บนยอดอายุ 100 ปี ต่อมาได้โทรมลงและถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง จนพัง เขาตกน้ำ อยู่ด้านหลังว่าที่การอำเภอรัตภูมิ มีหินโผล่ในคลองรัตภูมิที่ไหลผ่านหลังที่ว่าการอำเภอ จึงเรียกว่าเขาตกน้ำ เขารังเกียจ ต่อมาเปลี่ยนเป็น เขารักเกียรติ ตั้งอยู่บนตำบลเขารักเกียรติ มีพระพุทธรูปโบราณอยู่และได้รับการจดทะเบียนเป็นโบราณวัตถุด้วย ควนหัวแหวน มีลักษณะเป็นเนินเขา ปัจจุบันชาวบ้านขูดหน้าดินแล้วเอาไปขาย ควนรู มีลักษณะเป็นเนินดินเช่นกัน ควนเมินและควนสีหมาน ก็จะต่อเนื่องมาจากควนรูแต่ทั้งสองไม่ปรากฎในตำนาน ควนหินเหล็กไฟ มีป่าช้าโบราณอยู่ด้วย แต่ปัจจุบันกลายเป็นสวนยางพาราไปแล้ว จะเห็นได้ว่าควนทุกลูกมีความสำคัญต่อตำนานของรัตภูมิมาก ถ้าลูกใดลูกหนึ่งเกิดหายไป ลูกหลานชาวรัตภูมิคงเหลือแต่ตำนานให้ชื่นชมจริง ๆ
ส่วนในตำนานสายน้ำคู่ชีวิตเขาคูหา เมื่อมีเขาก็ต้องมีสายน้ำ ซึ่งสายน้ำที่ไหลผ่าน ใต้เขาคูหาน้อย คือคลองห้วยบอน ชาวบ้านเรียกว่าคลองตะเคียน คลองบ้วยบอน เป็นคลองสายน้ำธรรมชาติ ส่วนคลองส่งน้ำสายหลักของโครงการชลประทานชะมวง คือ คลองรัตภูมิหรือคลองภูมี
สำหรับคลองห้วยบอน หรือคลองตะเคียนที่ลอดใต้เขาคูหานั้น ปัจจุบันหลังจากมีการระเบิดหินเขาคูหานั้นทำให้มีก้อนหินหล่นทับมาปิดทางน้ำ ทำให้การไหลของน้ำไม่เหมือนเดิม โดยไหลไม่แรงและมีความขุ่น ก่อนที่จะมีการระเบิดหิน คนสามารถเดินลอดใต้เขาคูหาไปตามสายน้ำได้ ในอดีตคนใช้เดินไปหาปลา สายน้ำใต้เขาเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ปลาจะวางไข่ใต้เขา พอถึงฤดูน้ำหลากก็จะออกมาข้างนอก ชาวบ้านก็จะได้จับปลา เมื่อมีการระเบิดหินขึ้นแล้ว เราเองอาจไม่ทราบว่ามีผลกระทบต่อสายน้ำใต้เขากับปลาอย่างไรบ้าง เราอยากจะบอกว่าน่าจะมีผลแน่นอน เพราะแรงสั่นสะเทือนในการระเบิดนั่นเอง
รูปภาพล่าสุดของคลองรัตภูมิหรือคลองภูมี คลองส่งสายน้ำสายหลัก
ขอบคุณข้อมูล OK. nationtv.blog
ศาลาตาเล่อเท่อ ที่พึ่งของชาวบ้านเมื่อของสำคัญสูญหาย
27 เมษายน 2568 | 22จากอดีตบ้านทุ่งเหม็นขี้ สู่บ้านทุ่งขมิ้น(นาหม่อม)
27 เมษายน 2568 | 26บุกป่าหาน้ำตกลับ...น้ำตกโตนหน้าผี ณ เขาพระ อ.รัตภูมิ
27 เมษายน 2568 | 43ศาลเจ้าแม่กวนอิมสวนหมาก ศาลเจ้าแห่งแรกที่ริเริ่มทำโรงทานเจในสงขลา
20 เมษายน 2568 | 211พาชม...บ้านขุนตระการตะเครียะเขต บ้านเก่าโบราณนับร้อยปี "บ้าน 108 เสา"
30 มีนาคม 2568 | 803รู้หม้ายว่า? สงขลาเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด
30 มีนาคม 2568 | 603เปิดตำนานความเชื่อ พ่อปู่ภุชงค์-แม่ย่าทองคำ วัดโคกเปี้ยว สงขลา
30 มีนาคม 2568 | 459ศาลเจ้าพ่อทวดหมอน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ตำบลคูขุด อ.สทิงพระ
2 มีนาคม 2568 | 785