อัตลักษณ์ของผู้คนที่มีอยู่ในชุมชนมาอย่างช้านานเพิ่งจะถูกลบเลือนไปบ้างเมื่อไม่นานมานี้ ดั่งคำที่ว่า ทิ้งทำหม้อหรือตำบลสทิงหม้อเคยเป็นชุมชนโบราณในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีร่องรอยของความเป็นเมืองท่าอีกทัังยังมีแหล่งเครื้องปั้นดินเผาเครื่องใช้ในครัวเรือน โดยเฉพาะหม้อข้าวหม้อแกงดินเผา สวด และหวดนึ่งข้าวเหนียว ในปัจจุบันด้วยวิธีการที่ทันสมัยมากขึ้น ประกอบด้วยแหล่งวัตถุดิบดินเหนียวและฝีมือทางช่างที่ไม่ได้รับการถ่ายทอดต่อจากคนรุ่นหลัง
ในอดีตและปัจจุบันเราต้องบอกทุกท่านก่อนเคยว่ามีความแตกต่างกันมากในด้านปริมาณและคุณภาพ กล่าวคือเราจะเห็นได้ชัดว่าในช่วง 80 - 90 ปีที่ล่วงมาแล้วจะเห็นกาประกอบ 40 -50 ต่อครอบครัว แต่ในปัจจุบันเองมีเพียง 9 ครอบครัวเท่านั้นมรามีความรู้และความชำนาญรายได้ที่ส่งผลต่อการอดออมรวมถึงกระทบถึงความเจริญในปัจจุบันที่การเติบโตที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งคุณภาพจของเครื่องปั้นในเชิงศิลปะในอีดตก็สูงกว่าปัจจุบัน
ในด้านการประณีตชิ้นงานและเทคนิคในการปั้นเครื่องดินเผาวันนี้เราได้หยิบรายละเอียดมาบอกคุณผู้อ่านเพื่อที่คุณผู้อ่านจะได้จินตนาการตามได้ ในรูปแบบดั้งเดิม มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงน้อยมากการเตรียมดินหรือการนวดดินผสมดินก่อนนำมาปั้นรูป เราจะใช้แรงงานคนทั้งหมด อุปกรณ์เครื่องมือมีจอบ เสียม การผสมส่วนก็ใช้วิธีประมาณการหรือใช้สายตาคาดคะเนเอาเอง การปั้นรูปขึ้นรูปกระทำโดยใช้แป้นหมุนชนิดมือหมุนทั้งหมดไม่มีการขึ้นรูปโดยวิธีอื่น การตบแต่งรูปทรงและลวดลายหลังจากขึ้นรูปแล้วมีไม่มากนักมี การขัดผิว ทำก้น ตีลาย ขีดลาย และฉลุลาย การเผาใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงทั้งหมดและกำหนดอุณหภูมิใช้วิธีการสังเกตสีของเครื่องปั้นและสีของปล่องไฟ อาศัยประสบการณ์ความชำนาญของผู้เผาเป็นหลักจึงจะได้ผลดีในอดีตไม่มีร่องรอยการเผาเคลือบ แต่ในปัจจุบันเองมีการทดลองเผาบ้างแต่ไม่ได้ผลเพราะขาดประสบการณ์ทางเทคนิคและทุนดำเนินการเตาเผาด้านปริมาณในอดีตมีจำนวนมากกว่าปัจจุบัน ด้านขนาดมี 2 ขนาดคือ ขนาดกลางและขนาดเล็ก ด้านลักษณะหรือชนิดมี 2 ชนิด คือ เตากลมหรือเตายืนและเตากูบและเตานอนความสามารถในการใช้งานของเตาใช้สำหรับเผาดิบอย่างเดียว
แต่สิ่งที่บ้านเรามีไม่เหมือนคนอื่นนั่นคือเอกลักษณ์ของเครื่องปั้นดินเผาในสทิงหม้อ คือ เนื้อดินอันเป็นตัวของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจะมีสีและความละเอียดต่างจากเครื่องปั้นแหล่งสำคัญ คือ ปากเกร็ด นนทบุรีคือ มีเนื้อสีอ่อนกว่าและหยาบกว่าลักษณะรูปแบบที่เด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองมี 3 ชนิด คือ หม้อหุงต้ม หม้อสวดหรือสวดและเพล้ง สีผิวของผลิตภัณฑ์จะเป็นสีแดงเรื่อคล้ายสีหมากสุกเข้มกว่าสีของเครื่องปั้น ซึ่งผลิตจากซอยโรงอ่าง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี แต่อ่อนกว่าผลิตจากปากเกร็ด นนทบุรีทั้งลายที่เป็นของตนเอง และอันสุดท้ายนั่คือลวดลายรับเข้ามาดัดแปลงเลียนแบบลวดลายที่มั่นใจได้ว่าเป็นของตนเองได้แก่ ลายก้านมะพร้าว ลายดอกจิก ลายดอกพิกุล ลายคิ้วนาง และลายลูกคลื่น ลายที่รับเข้ามาและดัดแปลงเลียนแบบมีลายท่าแนะลายลูกแก้ว
ทั้งนี้สิ่งเหล่านี้ยังบ่งบอกถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมและตัวกระจายวัฒนธรรม เครื่องปั้นสทิงหม้อได้กระจายไปตามฝั่งทะเลด้านตะวันออก (อ่าวไทย) และฝั่งทะเลสาบสงขลาเกือบทั่วบริเวณภาคใต้ ส่วนฝั่งทะเลด้านตะวันตก (ทะเลอันดามัน) ไม่พบร่องรอยในอดีต และพบว่ามีร่องรอยวัฒนธรรมเครื่องปั้นในอดีตที่ยาวนาน ทั้งที่เป็นของสทิงหม้อเองและที่กระจายมาจากแหล่งอื่น เช่น สุโขทัย อยุธยา และเวียดนามจากร่องรอยของชิ้นส่วนและซากเตาเผาที่พบมีส่วนช่วยเสริมข้อสันนิษฐานเรื่องที่ตั้งของชุมชนโบราณชุมชนหนึ่งของภาคใต้ที่มีผู้ให้ความเห็นว่าน่าจะตั้งอยู่ที่ปากครองสทิงหม้อชาวบ้านสร้างวัฒนธรรมในรูปศิลปวัตถุขึ้นมา
แต่สิ่งที่เป็ประโยชน์ในการใช้สอยเครื่องปั้นเราจะอยากนำเสนอว่า เครื่องปั้นสทิงหม้อมีบทบาทกว้างขวางเกี่ยวกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันของคนใต้อย่างมากไม่ว่าจะเป็นการอุปโภคในครัวเรือน คือ การหุงต้ม ใช้ในการรักษาสุขภาพอนามัย คือ การต้มยาสมุนไพร และยังช่วยเสริมสร้างความสงบเยือกเย็นของจิตใจ คือ ใช้เป็นกระถางปลูกไม้ประดับ ซึ่งยังมีความสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ในการช่วยเสริมสร้างเอกลักษณ์ความเป็นภาคใต้ที่เป็นคุณสมบัติที่ดีให้แก่เยาวชนและคนรุ่นหลังของคนภาคใต้รวมไปถึงคนสนใจทั่วไปหรือจะใช้เป็นอุปกรณ์เครื่องมือในการเสริมสร้างนิสัยรักงานบ้านงานเรือนให้แก่เด็กครื่องปั้นประเภทของเด็กเล่นซึ่งเป็นเครื่องใช้ในครัว เช่น หม้อ กระทะ เตาหุงข้าว ต้มแกง กระปุกออมสินก็มีให้เลือกหลากหลาย
คุณผู้อ่าน ๆ หลายคน เมื่อสิ่งของเหล่านี้คงต้องนั่งย้อนไปเมื่อตัวเองวัยเด็ก ๆ ที่มีการเล่น หม้อข้าว หม้อแกง เตาหุงข้าว ต่างชนิดที่ทำมาจากการปั้นดินเผาทั้งนั้นเราในยุคนั้นคงจะรู้สึกอินกับสิ่งเหล่านี้มากกว่าหากเทียบกับในปัจจุบันเองแทบจะไม่มีคงเหลือให้เห็นสักเท่าไหร่ แต่เพียงแต่สทิงหม้อแห่งนี้ยังคงมีเอกลักษณ์ความงามให้ชื่นชนกันอย่างแน่นอนยังคงพิธิภัณฑ์ให้เราเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
ขอบคุณข้อมูล : Souvenir
ขอบคุณรูปภาพ : ป้าปลื้มใจ แห่งบ้านสทิงหม้อ
ศาลาตาเล่อเท่อ ที่พึ่งของชาวบ้านเมื่อของสำคัญสูญหาย
27 เมษายน 2568 | 60จากอดีตบ้านทุ่งเหม็นขี้ สู่บ้านทุ่งขมิ้น(นาหม่อม)
27 เมษายน 2568 | 69บุกป่าหาน้ำตกลับ...น้ำตกโตนหน้าผี ณ เขาพระ อ.รัตภูมิ
27 เมษายน 2568 | 132ศาลเจ้าแม่กวนอิมสวนหมาก ศาลเจ้าแห่งแรกที่ริเริ่มทำโรงทานเจในสงขลา
20 เมษายน 2568 | 215พาชม...บ้านขุนตระการตะเครียะเขต บ้านเก่าโบราณนับร้อยปี "บ้าน 108 เสา"
30 มีนาคม 2568 | 823รู้หม้ายว่า? สงขลาเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด
30 มีนาคม 2568 | 615เปิดตำนานความเชื่อ พ่อปู่ภุชงค์-แม่ย่าทองคำ วัดโคกเปี้ยว สงขลา
30 มีนาคม 2568 | 474ศาลเจ้าพ่อทวดหมอน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ตำบลคูขุด อ.สทิงพระ
2 มีนาคม 2568 | 795